"โอไมครอน" BA.4 และ BA.5 เข้าไทยแล้ว อาการรุนแรงขึ้นคล้ายสายพันธุ์เดลตา
"โอไมครอน" BA.4 และ BA.5 เข้าไทยแล้ว น่าห่วงอาการรุนแรงคล้ายสายพันธุ์เดลตา เผย หน้ากากอนามัยยังเป็นสิ่งจำเป็นมาก
โอไมครอน BA.4 และ BA.5 เข้าไทยแล้ว อาการรุนแรงรุนแรงคล้ายสายพันธุ์เดลตา วันที่ 24 มิ.ย. 2565 มีรายงานว่า ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เตือนระวัง โควิด-19 โอไมครอนสายพันธุ์ใหม่ BA.4 และ BA.5 เข้าไทยแล้ว น่าห่วงเนื่องจากเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่คล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา ย้ำ หน้ากากอนามัยยังเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความเผยว่า ไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 กับ BA.5 แล้ว 49 คน คาดว่าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทย ส่วนในยุโรปบางประเทศ มีผู้ป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลมากขึ้น
ความน่ากังวล คือ โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนาม ทำให้จับกับเซลล์ปอดของมนุษย์ได้ดีขึ้น เหมือนกับสายพันธุ์เดลตาที่ระบาด และมีอาการติดเชื้อรุนแรงก่อนหน้านี้ ซึ่งโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นตัวเชื่อมให้ผนังของหลายๆ เซลล์ หลอมรวมเป็นเซลล์เดียว ดึงดูดให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเข้ามาทำลาย จนเกิดการอักเสบของปอด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้ชัดว่า โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 กับ BA.5 จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น หรือลดน้อยลง แต่ก็ขอเตือนให้ประชาชนป้องกันตัวเองอย่างเหมาะสม หากอยู่ในที่แออัด ที่ชุมชน ให้สวมหน้ากากอนามัย รวมถึงการฉีดวัคซีนให้ครบโดส และฉีดกระตุ้นด้วย เพื่อลดความรุนแรงของโรค
-ด่วน ราชกิจจาฯ "ประกาศให้สวมหน้ากากอนามัยตามความสมัครใจ" มีผลทันที
-สาวฝันสลาย คบแฟนมา 8 ปี กำลังจะแต่งงาน เพิ่งรู้ความจริง สุดเจ็บปวด
-เงินช่วยค่าทำศพผู้สูงอายุ ไม่ได้ทุกคน เช็ครายละเอียดใครเข้าเงื่อนไข
โดยเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (24 มิ.ย.) ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมว่า โปรตุเกสกำลังเผชิญกับระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ระลอกใหม่ โดยจำนวนผู้ติดเชื้อต่อล้านคนมีค่าเฉลี่ย 7 วันอยู่ที่ 2,043 ราย ในวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราผู้ป่วยรายใหม่สูงเป็นอันดับสองของโลก แม้ว่าจะลดลงบ้างจากระดับสูงสุดเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ 2,878 โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ 178 คนในวันที่ 20 มิถุนายน 2565
ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1 ที่ตรวจพบในประเทศไทย ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม และได้อัปโหลดข้อมูลรหัสพันธุกรรมขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ปัจจุบัน (23/6/2565) มีจำนวน 32, 49, 25 ตามลำดับ
การนำเสนอข้อมูลเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์บ่อยครั้งผ่านสื่อ ทำให้ "ประชาชนตื่นตกใจ" และอาจจะ "ไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ"ของประเทศโดยรวม หรือไม่ว่า การนำเสนอข้อมูลเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลายพันธุ์แก่ประชาชน ถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเชิงรุกหรือการใช้ “ซอฟท์ พาวเวอร์ (soft power)” ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในการนำเสนอข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าสนใจ เช่น การอ้างอิงข้อมูลจากฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” แทนการบังคับ (mandate) เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดูแล ป้องกัน และรักษาโรคโควิด 2019 (The Role of Genomic Health Literacy in COVID-19 Management)
และถือเป็นหนึ่งในหน้าที่สำคัญของศูนย์จีโนมฯ ในการนำเสนอ “ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ปราศจากการชี้นำ” สู่ประชาชนคนไทยโดยตรงให้ได้รับรู้เพื่อเท่าทันโรค เปลี่ยนจากความตระหนกมาเป็นความตระหนัก “ประชาชนจะมีข้อมูลมากพอเพียงที่จะสามารถตัดสินใจดูแลและรักษาตนเอง"
หลายคนกล่าวว่า "หนึ่งชีวิตของเขาขอมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ" การ์ดของคนส่วนใหญ่จะถูกยกสูงด้วยความสมัครใจ เมื่อการ์ดถูกยกสูงย่อมเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมติดตามมา