วิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพ ที่ทายาทจะได้รับเพิ่ม หากผู้ประกันตนเสียชีวิต
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดวิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพ ที่ทายาทจะได้รับเพิ่ม หากผู้ประกันตนเสียชีวิต
สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เพิ่มสิทธิประโยชน์ "บำนาญชราภาพ" เพื่อเป็นหลักประกัน และเป็นการช่วยเหลือทายาทของผู้ประกันตนในการดำรงชีวิตภายหลังจากที่ผู้ประกันตน ถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน
เงื่อนไขการรับสิทธิ
- ต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตน ทั้งมาตรา 33 และมาตรา 39
- ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ไม่ว่าระยะเวลา 180 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม
ทายาทผู้ประกันตนประกันสังคม สามารถรับเงินได้ 3 กรณี
กรณีที่ 1
กรณีรับเงินบำนาญชราภาพ ต่อมาเสียชีวิตภายใน 60 เดือน (นับจากเดือนที่รับบำนาญ)
วิธีการคำนวณบํานาญชราภาพประกันสังคม
ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต x จำนวนเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
ตัวอย่าง : กรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบำนาญชราภาพเดือนละ 5,250 บาท และได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว 20 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย เมื่อกฎกระทรวงนี้ประกาศใช้ ทายาทจะได้รับเงินบำนาญชราภาพที่เหลืออีก 40 เดือน (5,250 X 40 = 210,000 ) เป็นต้น
กรณีที่ 2
กรณีผู้ประกันตนกลับไปเป็นผู้ประกันตน และต่อมาเสียชีวิต (ได้รับเงินบำนาญไม่เกิน 60 เดือน)
วิธีการคำนวณบํานาญชราภาพประกันสังคม
ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ = จำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับก่อนกลับไปเป็นผู้ประกันตน x จำนวนเดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
กรณีที่ 3 แบ่งเป็น 2 กรณี
1.กรณีรับเงินชราภาพก่อนบังคับใช้กฎกระทรวง แต่ยังไม่ครบ 60 เดือน
วิธีการคำนวณบํานาญชราภาพประกันสังคม
ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ = เดือนที่เหลือจนครบ 60 เดือน
2.กรณีรับเงินชราภาพมาแล้วเหลือน้อยกว่า 10 เดือน
วิธีการคำนวณบํานาญชราภาพประกันสังคม
ทายาทได้รับเงินบำเหน็จ = เงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิต x 10 เท่า
อย่างไรก็ตาม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง