ไขข้อสงสัย "จุดสีน้ำตาลบนกระเทียม" คือราพิษ มีสารก่อมะเร็ง จริงหรือไม่
กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงแล้ว "จุดสีน้ำตาลบนกระเทียม" คือราพิษ มีสารก่อมะเร็ง จริงหรือไม่ พร้อมแนะวิธีเลือก เก็บรักษา และการเลือกรับประทานกระเทียม
ไขข้อสงสัย "จุดสีน้ำตาลบนกระเทียม" คือราพิษ มีสารก่อมะเร็ง จริงหรือไม่ หลังว่อนข่าวทั่วโซเชียล ล่าสุดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประเด็นเรื่อง หากพบรอยจุดสีน้ำตาลบนเนื้อกระเทียม แสดงว่าเป็นเชื้อราที่มีพิษ และเป็นสารก่อมะเร็ง ล่าสุดได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยชี้แจงว่า
จุดสีน้ำตาลบนเนื้อกระเทียมอาจเกิดจากรอยช้ำของกระเทียมส่งผลให้เชื้อราหลากหลายชนิดอาจปนเปื้อนหรือเข้าไปเจริญอยู่ในบริเวณรอยช้ำนั้นๆ โดยมักพบในกระเทียมที่มีการเก็บรักษาไม่เหมาะสมหรือเก็บไว้เป็นเวลานาน ตามที่มีข้อกังวลว่าเชื้อราที่อยู่บนกระเทียมอาจสร้างสารพิษหรือสารก่อมะเร็งนั้น จากการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย พบว่า เชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus เป็นเชื้อราที่สามารถสร้างสารอะฟลาทอกซินซึ่งจัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าพบสารอะฟลาทอกซินบริเวณรอยจุดสีน้ำตาลบนกระเทียม
-สาวสุดช้ำ ตร.จจราจร ตีสนิทหลอกคบยืมเงินสูญนับล้าน
-อุทาหรณ์ชั้นดี "วิศวกร" ก่อผนังสุดชุ่ย ถึงขั้นต้องทุบทิ้ง
-นักร้องเพื่อชีวิตดัง ถูกส่งตัว เข้า รพ.กะทันหัน อาการหนักต้องผ่าตัดด่วน
จึงแนะนำให้ควรเลือกซื้อกระเทียมที่สดใหม่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ไม่มีลักษณะของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อรา การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในที่แห้งไม่อับชื้นและไม่เก็บไว้นานเกินไป หากพบรอยจุดสีน้ำตาลบนกระเทียมควรทิ้งไปทั้งกลีบหรืออาจหั่นบริเวณนั้นทิ้งและควรรับประทานกระเทียมที่ปรุงสุกเพื่อลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆ