สังคม

heading-สังคม

ไอแบบไหน เสี่ยงป่วยเป็น"โควิด" ไอมีเสมหะ ไอเสียงก้อง ไอแห้ง

30 มิ.ย. 2565 | 15:21 น.
ไอแบบไหน เสี่ยงป่วยเป็น"โควิด"  ไอมีเสมหะ ไอเสียงก้อง ไอแห้ง

วันนี้เราจะมาลองสังเกตอาการตัวเองว่า ในขณะที่เกิดอาการไอ คุณไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ หรือไอมีเสมหะ แล้วยังมีอาการไอเสียงก้องอีก อาการไอแต่ละแบบ มาจากระบบทางเดินหายใจ แต่ป่วยเป็นโรคที่แตกต่างกัน

แพทย์หญิงพวงรัตน์ ตั้งธิติกุล แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคระบบหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลนวเวช อธิบายถึงลักษณะของการไอเอาไว้อย่างละเอียด และครบถ้วน สำหรับการนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการไอจนผิดปกติจะได้เข้าสู่กระบวนการรักษาอย่างทันท่วงที

ไอแบบไหน เสี่ยงป่วยเป็น"โควิด"  ไอมีเสมหะ ไอเสียงก้อง ไอแห้ง

ลักษณะของเสียงไอ จำแนกตามรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้ เช่น

- ไอมีเสมหะ พบในภาวะติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคปอดอุดกลั้นเรื้อรัง อันเป็นผลจากการที่ร่างกายมีการขับสารเมือก หรือสารคัดหลั่งออกมาในระบบหายใจ จนทำให้เกิดอาการไอร่วมกับมีเสมหะ

- ไอแห้ง เกิดจากการระคายคอ หรือระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จนกระตุ้นให้เกิดการไอ โดยไม่มีเสมหะปน สาเหตุที่พบได้ เช่น ภาวะกรดไหลย้อน โรคหลอดลมอักเสบ ยาลดความดันโลหิตกลุ่มของ ACEi Inhibitor และเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนไข้ COVID-19

- ไอเสียงก้อง พบในเด็ก เกิดจากการบวมของระบบทางเดินหายใจส่วนบนบริเวณกล่องเสียง และหลอดลม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า ‘ครูป’ (Croup) คนไข้อาจมีอาการหายใจลำบาก เสียงแห้ง หายใจมีเสียง มีไข้ ร่วมกับอาการไอเสียงก้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาการไอที่พบเวลากลางคืน 

เป็นผลจากการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจที่ถูกกระตุ้นในช่วงกลางคืน อาจสัมพันธ์กับท่าทาง เช่น เสมหะไหลลงคอขณะนอน ที่พบได้ในโรคไซนัสอักเสบ โรคภูมิแพ้ อีกทั้งอากาศที่เย็น หรือมีสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไรฝุ่น ที่เป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดการหดตัวของหลอดลม ส่งผลให้มีการไอมากขึ้น โดยเฉพาะคนไข้โรคหืด

โดยระยะเวลาของอาการไอ

1. ไอเฉียบพลัน คือ อาการไอที่น้อยกว่า 3 สัปดาห์

2. ไอกึ่งเฉียบพลัน คือ อาการไอตั้งแต่ 3 – 8 สัปดาห์

3. ไอเรื้อรัง คือ อาการไอต่อเนื่องที่มากกว่า 8 สัปดาห์ขึ้นไป

ไอแบบไหน เสี่ยงป่วยเป็น"โควิด"  ไอมีเสมหะ ไอเสียงก้อง ไอแห้ง
 

อาการไอที่ควรไปพบแพทย์

แนะนำให้มาพบแพทย์ กรณีที่อาการไอเป็นลักษณะไอเรื้อรัง หรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วม เช่น ไอเสมหะปนเลือด เสียงแหบ มีไข้ น้ำหนักลด หอบเหนื่อย ปอดอักเสบติดเชื้อบ่อย ๆ กลืนเจ็บ กลืนลำบาก สำลัก ทั้งนี้ เพื่อการตรวจวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสม

 

ไอแบบไหน เสี่ยงป่วยเป็น"โควิด"  ไอมีเสมหะ ไอเสียงก้อง ไอแห้ง

แนวทางการรับรักษา

เนื่องจากอาการไอเกิดได้หลายสาเหตุ ดังนั้น การรักษาจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยถึงสาเหตุของอาการไอ และให้การรักษาตามสาเหตุนั้น ๆ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเอง ก็เป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาการไอได้มาก โดยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการไอ

ยกตัวอย่างเช่น สารก่อการระคายเคือง ฝุ่น สารเคมี ควันบุหรี่ หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมโดยตรง

เนื่องจากอากาศเย็นจะกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัว ควรทำให้ร่างกายอบอุ่น ควรพักผ่อนให้เพียงพอ 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่