เงินชดเชย อ่านให้ชัด เกณฑ์จ่ายหาก ถูกเลิกจ้าง
หากได้ “เงินชดเชย” เป็นเงินก้อน จากการ “ถูกเลิกจ้าง” ลูกจ้างควรทราบถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชย ที่แตกต่างกันทั้งเรื่องอายุงาน ถูกเลิกจ้าง ถูกไล่ออก จนถึงเกษียณอายุ หรือแม้กระทั่งลาออกเอง ต่างก็มีเงื่อนไขการจ่ายเงินไม่เหมือนกัน
เงินชดเชย ถูกเลิกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ นายจ้าง จ่ายค่าชดเชย แก่ลูกจ้าง ซึ่ง เลิกจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายให้ลูกจ้างออกจากงาน นายจ้างเลิกกิจการ หรือลูกจ้างต้องออกจากงานเพราะสัญญาจ้างสิ้นสุดลงโดยให้
จ่ายค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้าง ดังนี้
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
เงินชดเชย ถูกเลิกจ้าง หลักเกณฑ์การเสียภาษีเงินชดเชย
จากที่กล่าวไปแล้วว่า เงินชดเชยที่ได้รับจากการเลิกจ้างถือเป็นเงินได้ตามกฎหมาย ดังนั้น ผู้ที่ได้รับเงินชดเชยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วย โดยเงินค่าชดเชยที่ไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าหากเงินชดเชยที่ได้รับมากกว่า 300,000 บาท ส่วนที่เกินจะต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินชดเชย ถูกเลิกจ้าง อื่นๆ ต้องเสียภาษีด้วยหรือไม่
นอกจากเงินชดเชยจากการเลิกจ้างที่ได้รับแล้ว หากได้รับเงินชดเชยในส่วนอื่นๆ ด้วย เช่น เงินชดเชยวันหยุดพักร้อนประจำปีที่ไม่ได้ใช้ เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้เป็นพิเศษ นายจ้างจะต้องทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีให้กรมสรรพากร
ดังนั้น ผู้ถูกเลิกจ้างต้องนำเงินค่าชดเชยในส่วนนี้มาคำนวณรวมภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีด้วย ส่วนเงินชดเชยว่างงานจากประกันสังคมจะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย จึงไม่ต้องนำไปรวมคำนวณรวมกับภาษีเงินได้ประจำปี