กรมทางหลวง ชี้แจง กรณีเส้นซิกแซกก่อนถึงทางม้าลาย เพื่อยกระดับความปลอดภัย
กรมทางหลวง ชี้แจง กรณีเส้นซิกแซกก่อนถึงทางม้าลาย โดยได้อ้างอิงจากกรณีการสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ ขณะเดินข้ามถนนใน กทม. ซึ่งทำให้หน่อยงานทุกหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหาทางป้องกัน
กรมทางหลวง ชี้แจง เหตุต้องตีเส้นถนนซิกแซก เพื่อยกระดับความปลอดภัยคนข้ามถนน
กรมทางหลวง ชี้แจง กรณีเส้นซิกแซกก่อนถึงทางม้าลาย ที่เพิ่งมีการเปิดภาพและเปิดใช้งานใน จ.ศรีสะเกษ จนมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์จากคนในพื้นที่และ โซเชียล โดยหวังว่าจะช่วยเพิ่มปลอดภัยของคนข้ามถนน ปรับใช้ตามหลักสากล เตือนให้ผู้ขับขี่ชะลอความเร็วก่อนถึงทางข้ามถนน เพิ่มไฟส่องสว่างพิเศษบริเวณทางม้าลาย
กรมทางหลวง ชี้แจง กรณีเส้นซิกแซกก่อนถึงทางม้าลาย โดยได้อ้างอิงจากกรณีการสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ ขณะเดินข้ามถนนใน กทม. ซึ่งทำให้หน่อยงานทุกหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันหาทางป้องกัน ซึ่งสาเหตุหลักของกรณีนี้ คือ “ความเร็วของรถ ที่เข้าสู่ทางคนเดินข้าม” และ "การรับรู้ของผู้ขับขี่ล่วงหน้า ว่าจะมีทางข้ามถนน"
กรมทางหลวง ได้นำแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่ใช้กันในสากล มาทดลองใช้กับทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร ได้แก่
เส้นซิกแซก (Zigzag line) ที่เป็นข่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนผู้ขับขี่ล่วงหน้าด้วยสีตีเส้นบนผิวทาง ให้ “ตระหนัก” และ “ลดความเร็ว” ลงก่อนถึงทางคนเดินข้าม ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้กันในสากล เช่น กลุ่มประเทศในยุโรป สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เป็นต้น
เกาะยืนพักระหว่างการเดินข้าม (Refuge Island) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่เดินช้าไม่จำเป็นต้องเดินข้ามถนนในครั้งเดียว
ชุดป้ายทางข้าม ชนิดสีเหลืองเขียวฟลูออเรสเซนต์ ที่เพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินข้าม ซึ่งใช้กันแพร่หลายในต่างประเทศ
ไฟฟ้าส่องสว่าง ที่ส่องไปที่พื้นทางคนเดินข้าม
เพื่อให้ผู้ขับขี่รับรู้ถึงการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมสู่ช่วงเขตชุมชน โดยได้ทำเป็นโครงการนำร่อง เป็นที่แรกในทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 2127 ตอน ศิวาลัย - สำโรงเกียรติ บริเวณชุมชน บ.หลักหินใหม่ อ.ขุนหาญ ที่จังหวัดศรีสะเกษ และทำการเก็บข้อมูลการใช้งาน Before & After Study วิเคราะห์ และประเมินผลในทุกมิติ เพื่อพัฒนา แนวทางการปรับปรุงทางกายภาพ และด้านอื่น ๆ ให้เกิดความปลอดภัยกับประชาชนสูงสุด
ที่มา:กรมทางหลวง