"ชายติดฝีดาษลิง" เผยอาการคิดว่าไม่เป็นไร สุดท้ายอาการเข้าขั้นรุนแรง
ชายติดฝีดาษลิง เผยอาการป่วย มีตุ่มเเผลบนใบหน้า หลังติดเชื้อมาเเล้ว 2 สัปดาห์ คิดว่าอาการไม่มาก สุดท้ายอาการเข้าขั้นโหดไม่ธรรมดา
เเม้ว่าโรคฝีดาษลิงอัตราการเสียชีวิตจะไม่สูง ณ เวลานี้ ทั้งโลกมีผู้เสียชีวิต 5 คน จากจำนวนผู้ติดเชื้อฝีดาษลิง ราว 16,000 คน ในกว่า 75 ประเทศทั่วโลก เเต่ก็ยังคงต้องเฝ้าระวัง เเละเตรียมรับมือ โดยฉพาะในส่วนของประเทศไทย ที่เพิ่งพบผู้ป่วยฝีดาษลิงรายเเรกในประเทศ เป็นชาวไนจีเรีย เผยเคสผู้ป่วยชายติดฝีดาษลิงชาวสหรัฐอเมริกา ที่ได้ออกมาเผยแพร่รูปอาการป่วยฝีดาษลิงของตัวเองในทวิตเตอร์ เผยถึงตุ่มเเผลที่เกิดขึ้นบนใบหน้า หลังจากติดเชื้อฝีดาษลิงมาเเล้ว 2สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยรายนี้ คิดว่าติดฝีดาษลิงคงมีอาการอะไรไม่มาก สุดท้ายอาการเข้าขั้นโหดไม่ธรรมดา เข้าขั้นรุนแรง
โดยทาง ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผอ.กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภพสัตว์การจัดการ ไบโอเทค อัพล่าสุดฝีดาษลิง โดย ได้โพสต์เผยว่า ผู้ป่วยฝีดาษลิงท่านหนึ่งในสหรัฐอเมริกา โพสต์รูปอาการป่วยของตัวเองในทวิตเตอร์ ระบุว่า ตุ่มแผลที่ขึ้นบนใบหน้านี้คือลักษณะของแผลที่ติดเชื้อมา 2 อาทิตย์แล้ว เค้าระบุว่าตอนแรกคิดว่าติดฝีดาษลิงคงมีอาการอะไรไม่มาก แต่พอติดแล้วอาการเข้าขั้นโหดไม่ธรรมดา (brutal)
เค้าเชื่อว่าการที่เค้าติดไวรัสฝีดาษลิงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลงไปด้วย เพราะขณะที่กักตัวอยู่เค้ามีอาการคออักเสบจากเชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส (Strep throat) ทั้งๆที่เค้าไม่เคยมีอาการแบบนี้มาก่อนเลย
- แพทย์แถลง ชายวัย 40 ปี ต้องสงสัยฝีดาษลิง ผลตรวจเบื้องต้นรู้แล้วป่วยโรคอะไร
- อัปเดตล่าสุด เผยผลตรวจ กลุ่มเสี่ยงฝีดาษลิงในไทย 19 ราย
- อ.เจษฎา เผยอาการของโรคฝีดาษลิง มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไร
ที่น่าสนใจคือ จู่ๆที่ร่างกายส่วนอื่น เช่น ที่หน้าขา ก็มีตุ่มใสขึ้นมาอีก ทั้งๆที่ตุ่มที่ใบหน้าขึ้นมา 2 อาทิตย์และน่าจะหยุดได้แล้ว แต่ ตุ่มที่ขึ้นใหม่ไม่น่าจะใหญ่เท่าตอนแรกๆที่ขึ้นที่หน้า เพราะแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาน่าจะช่วยลดปริมาณไวรัส และ กระบวนการการอักเสบลงได้... ภาษาที่ใช้บรรยายเห็นภาพชัดว่าความเจ็บปวดมีอยู่ในระดับสูงมากจนน้ำตาเล็ด (The pain I've been experiencing keeps my eyes full of tears) เป็นประสบการณ์ที่ไม่ควรเจอะเจอในชีวิตครับ
ทั้งนี้เกี่ยวกับฝีดาษลิงหรือฝีดาษวานร ทาง องค์การอนามัยโลก WHO ได้ประกาศให้ฝีดาษลิงเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่น่าเป็นกังวลระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นระดับการเตือนภัยขั้นสูงสุดที่องค์การอนามัยโลกจะออกประกาศได้ หลังยอดผู้ติดฝีดาษลิงทั่วโลกเพิ่มขึ้นรวดเร็ว โดยมีรายงานผู้ป่วยฝีดาษลิงหรือป่วยฝีดาษวานรในกว่า75 ประเทศทั่วโลก แล้วกว่า 16,000 คน ส่วนผู้เสียชีวิตมีทั้งสิ้น 5 ราย
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ล่าสุด ยังคงให้ฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวังเนื่องจากยังไม่เข้าข่ายนิยามโรคติดต่ออันตรายที่ต้องมีอาการที่รุนแรง หรือมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก
ที่สำคัญ ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ยังเปิดเผยข้อมูลอีกว่า โรคฝีดาษลิง สามารถเกิดการติดเชื้อได้หลายช่องทาง ไม่ได้แพร่ผ่านทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดกัน หลักๆคือ
1. การสัมผัสโดยตรงกับตุ่มแผล หรือ สารคัดหลั่งที่มีไวรัสอยู่
2. การรับเชื้อจากละอองฝอย จากการคุยกันกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย หรือ จากกิจกรรมที่อยู่ใกล้ชิดกันมากๆ เช่น การกอดกัน จูบกัน หรือ ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
3. ผ่านการสัมผัสสิ่งของ หรือ วัตถุ ที่มีการเจือปนของไวรัสที่ผู้ป่วยไปสัมผัสมา เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า หรือ โทรศัพท์มือถือ
4. รับเชื้อผ่านจากแม่สู่ลูกในครรภ์ผ่านทางรก
5. รับจากสัตว์ที่ติดเชื้อ
ความเสี่ยงจากการติดเชื้อเกิดขึ้นมากกว่ากิจกรรมทางเพศตามที่หลายคนอาจเข้าใจผิดกันไปนะครับ
ขอบคุณ .Anan Jongkaewwattana
ขอบคุณข้อมูลจาก Tnews