วิธีสังเกตอาการ ฝีดาษลิง มีอาการอย่างไร
ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร มีวิธีสังเกตอาการฝีดาษลิงอย่างไรบ้าง ฝีดาษลิงอาการเริ่มต้นเป็นยังไง และมีวิธีป้องกันฝีดาษลิงอย่างไรให้ได้ผลมากที่สุด
ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะในทวีปแอฟริกา โดยเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่เชื้อไปยังสัตว์อื่นๆ ได้ และสามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่คนได้อีกเช่นกัน
โรคฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจาก ไวรัส Othopoxvirus ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับไวรัสโรคไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยพบเชื้อในสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระรอก กระแต เป็นหลัก โดยค้นพบโรคนี้ครั้งแรกในลิง ซึ่งไปรับเชื้อมาโดยบังเอิญ จึงเป็นที่มาของชื่อโรค “ฝีดาษลิง”
ซึ่งการรายงานที่พบ “โรคฝีดาษลิง” หรือ โรคฝีดาษวานร ครั้งแรกเกิดจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่า ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร นั่นเองค่ะ ซึ่งหมายความว่าลิงไม่ใช่แหล่งกำเนิดของโรคนี้อย่างที่เข้าใจกัน การระบาดที่พบในขณะนี้ เกิดขึ้นในประเทศทวีปอเมริกาเหนือยุโรปเป็นส่วนใหญ่
ฝีดาษลิงมีอาการอย่างไร
1. อาการของโรคจะแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อแล้วประมาณ 7 - 14 วัน
2. มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
3. มีต่ำน้ำเหลืองโต
4. หลังจากมีไข้ไปประมาณ 1-3 วัน จะแสดงอาการมี ตุ่มใส คล้ายผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งตุ่มเหล่านี้จะอักเสบและแห้งหายไปเองใน 2-4 สัปดาห์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- มีตุ่มนูนแดงคล้ายผื่น
- มีตุ่มใส รู้สึกคัน และแสบร้อน
- มีตุ่มหนอง เมื่ออาการรุนแรงขึ้น ตุ่มหนองเหล่านี้จะแตกและแห้งไปเอง
5. อาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย
6. คนที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัว อาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดอาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้
ฝีดาษลิงติดต่อทางไหน
- ฝีดาษลิงติดต่อจากสัตว์สู่คน
ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร สามารถติดจากสัตว์สู่คนได้ ติอต่อจากสัตว์ฟันแทะ หรือ การสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง ตุ่มหนองของสัตว์ การถูกสัตว์กัดหรือข่วน หรือ การรับประทานอาหารเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อและปรุงไม่สุก
- ฝีดาษลิงติดต่อจากคนสู่คน
ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร สามารถติดจากคนสู่คนได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง สารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ หรือ วัตถุที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส แต่โรคฝีดาษลิง หรือ โรคฝีดาษวานร สามารถเฝ้าระวังได้ เพราะผู้ป่วยติดเชื้อจะมีตุ่มขึ้นตามร่างกายเป็นรอยโรคที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุด
วิธีป้องกันฝีดาษลิง
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า
2. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดโรค
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่มีผื่น ตุ่มใส และตุ่มหนองที่ผิวหนัง
4. การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
5. ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่นเพื่อสุขอนามัยที่ดี
6. ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ใช้สบู่ทำความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ
7. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
8. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการ คัดกรองโรค
9. หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์
ข้อมูล : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข