ทอ.แจงเหตุจำเป็นต้องจัดซื้อ F-35 A เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรบ
"ทอ." เปิดเอกสารแจงเหตุจำเป็นต้องจัดซื้อ F-35 A ต้องได้งบฯ66 เพื่อยกระดับกองทัพอากาศ ปกป้องอธิปไตย รับมือภัยคุกคามต่างๆ
ทอ.แจงเหตุจำเป็นต้องจัดซื้อ F-35 A เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรบ ยกระดับกองทัพ
"ทอ." เปิดเอกสารแจงเหตุจำเป็นต้องจัดซื้อ F-35 A ต้องได้งบฯ66 เพื่อยกระดับกองทัพอากาศ ปกป้องอธิปไตย รับมือภัยคุกคามต่างๆ
พล.อ.ต.ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศ แจงถึงผลกระทบกรณีการเลื่อนโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน หลังจาก กมธ.แจงตัดงบประมาณจัดซื้อ “F-35 A” ว่า ในปัจจุบันกองทัพอากาศมีเครื่องบินขับไล่โจมตี จํานวน 5 ฝูงบิน ซึ่งกองทัพอากาศ ได้ดําเนินการปรับปรุง ขีดความสามารถของอากาศยานที่มีอยู่ เพื่อให้สามารถดํารงขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจเอาไว้ แต่ เนื่องจากข้อจํากัดด้านอายุของอากาศยานมีผลต่อขีดความสามารถของอากาศยานที่ลดลง ข้อจํากัดการส่งกําลัง และซ่อมบํารุงที่มีราคาสูงขึ้น รวมทั้งมีระยะเวลาในการจัดหาพัสดุอะไหล่ที่ยาวนาน ส่งผลให้กองทัพอากาศมีความ จําเป็นที่จะต้องทยอยปลดประจําการอากาศยานประเภทเครื่องบินขับไล่โจมตีจาก 5 ฝูงบิน จนเหลือ 2 ฝูงบิน ในปี พ.ศ.2575 โดยกองทัพอากาศได้วางแผนดําเนินการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตี จํานวน 1 ฝูงบิน เพื่อมาทดแทน 3 ฝูงบินที่ได้วางแผนทยอยปลดประจําการ เพื่อให้สามารถดํารงขีดความสามารถในการปฏิบัติการบินรบในอากาศ และการโจมตีทางอากาศต่อไปเป็นเวลาอย่างน้อยอีก 40 ปี
"สถานการณ์ปัจจุบันมีการขยายอิทธิพลจากชาติมหาอํานาจสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น รวมถึงปัญหาการเมือง และความมั่นคงภายในแต่ละประเทศ ทําให้หลายประเทศในภูมิภาคมีการสะสมกําลัง ทางทหาร โดยเฉพาะทางอากาศที่มีขีดความสามารถสูงในการปฏิบัติการทางทหาร อาทิ เมียนมา, มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง เช่น เครื่องบินแบบ Su-27 และ Su-30 ซึ่งอันดับของกําลังทางอากาศของไทยในปัจจุบับอยู่ในอันดับที่ 5 ในอาเซียน กองทัพอากาศจึงจําเป็นต้อง จัดเตรียมกําลังให้มีขีดความสามารถและศักย์กําลังรบทัดเทียมกับประเทศรอบบ้าน เพื่อเป็นการป้องปรามและ เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนสมรรถนะสูงยุคที่ 5 คือ เครื่องบิน F-35 ซึ่งราคาปัจจุบันลดลงต่ำกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2019" พล.อ.ต.ประภาส กล่าว
โดยสถานการณ์ปัจจุบันมีการขยายอิทธิพลจากชาติมหาอํานาจสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น รวมถึงปัญหาการเมือง และความมั่นคงภายในแต่ละประเทศ ทําให้หลายประเทศในภูมิภาคมีการสะสมกําลัง ทางทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกําลังทางอากาศที่มีขีดความสามารถสูงในการปฏิบัติการทางทหาร อาทิ เมียนมา, มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง (เช่น เครื่องบินแบบ Su-27 และ Su-30) ซึ่งอันดับของกําลังทางอากาศของไทยในปัจจุบับอยู่ในอันดับที่ 5 ในอาเซียน กองทัพอากาศ จึงจําเป็นต้อง จัดเตรียมกําลังให้มีขีดความสามารถและศักย์กําลังรบทัดเทียมกับประเทศรอบบ้าน เพื่อเป็นการป้องปรามและ เตรียมพร้อมรับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้น ในการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนสมรรถนะสูงยุคที่ 5 คือ เครื่องบิน F-35 ซึ่งราคาปัจจุบันลดลงต่ำกว่า 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2019
"หากได้รับการอนุมัติการขาย พร้อมทั้งทราบระยะเวลาการจัดหา รวมถึงราคายุทโธปกรณ์ กองทัพอากาศจะสามารถดําเนินการในเรื่อง Letter Of Offer And Acceptance (LOA) กับทางการสหรัฐฯ แล้วเสร็จใน มิถุนายน66 ซึ่งจะส่งผลให้กองทัพอากาศจะสามารถ ลงนามในหนังสือ LOA และสามารถผูกพันงบประมาณได้เรียบร้อยในเดือนสิงหาคม66 ทั้งนี้กองทัพอากาศต้องการทราบงบประมาณที่จะได้รับในโครงการดังกล่าวก่อนที่จะตกลงกับสหรัฐฯ เพื่อจะได้ทราบถึงจำนววนอากาศยาน และส่วนสนับสนุนอื่นๆ แต่หากกองทัพอากาศไม่ได้รับงบประมาณในปี 66 ไม่สามารถจัดทําหนังสือ LOA กับทางการสหรัฐฯ ได้" โฆษกกองทัพอากาศ กล่าว
โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวด้วยว่า กองทัพอากาศกําหนดความต้องการระยะ 10 ปี (พ.ศ.2563– 2573) ตามที่ระบุในสมุดปกขาว พ.ศ.๒๕๖๓ ปรับปรุงแผนการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทน โดยคณะกรรมการศึกษาและจัดทําความต้องการ เครื่องบินขับไล่โจมตีให้มีความเหมาะสมกับงบประมาณที่กองทัพอากาศได้รับ และคํานึงถึงขีดความสามารถ ในการปฏิบัติภารกิจให้ได้ในปี 75 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ระยะที่ 1 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (66 - 69) จํานวน 2 เครื่อง วงเงินงบประมาณ 7,382 ล้านบาท
- ระยะที่ 2 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (69- 71 ) จํานวน 4 เครื่อง วงเงินงบประมาณ14,628 ล้านบาทเศษ
- ระยะที่ 3 ผูกพันงบประมาณ 4 ปี (72- 75 ) จํานวน 6 เครื่อง วงเงินงบประมาณ21,924 ล้านบาทเศษ รวมเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น43,935 ล้านบาทเศษ