กฎหมายบังคับรัดเข็มขัดนิรภัย นั่งเบาะหลังต้องรัดทุกคน เริ่ม 5 ก.ย. นี้
"รัดเข็มขัดนิรภัย" นั่งเบาะหลังต้องรัดทุกคน เริ่มพรุ่งนี้ 5 ก.ย. นี้ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 รวมไปถึง สำหรับเด็กเล็ก ผู้ปกครองจะต้องให้นั่งคาร์ซีทตลอดระยะเวลาที่นั่งโดยสาร
"รัดเข็มขัดนิรภัย" นั่งเบาะหลังต้องรัดทุกคน เริ่มพรุ่งนี้ 5 ก.ย. นี้ พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 มีผลบังคับใช้ รถยนต์ส่วนบุคคล ทุกที่นั่งต้องคาดเข็มขัดนิรภัย แล้วล่าสุด เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พ.ร.บ. จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีใจความสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดความปลอดภัยสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ที่ผู้ปกครองจะต้องจัดให้มีที่นั่งนิรภัย (คาร์ซีท) ตลอดระยะเวลาที่นั่งโดยสาร เพื่อป้องกันอันตรายจากกรณีประสบอุบัติเหตุ โดยมีใจความสำคัญตามมาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับรถยนต์ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
1. ผู้ขับขี่ ต้องรัดร่างกายด้วย "รัดเข็มขัดนิรภัย" ไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะขับรถยนต์
2. คนโดยสาร
- คนโดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น ต้องรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งตลอดเวลาในขณะโดยสารรถยนต์
- คนโดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องจัดให้นั่งในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กเพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
- คนโดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่ง หรือมีวิธีการป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะนั่งแถวตอนใด
โดยผู้ที่นั่งเบาะหลังต้อง "รัดเข็มขัดนิรภัย" คือ มาตรา 123 ภายใต้บังคับมาตรา 123/1 ในขณะขับ รถยนต์ ผู้ที่อยู่ในรถยนต์ทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารที่นั่งแถวตอนหน้าและที่นั่งแถวตอนอื่น จะต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่โดยสารรถยนต์ เว้นแต่มีเหตุผลด้านสุขภาพอันไม่สามารถรัดร่างกายด้วย เข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งได้ หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท
ข้อยกเว้น สำหรับรถที่ไม่มีเข็มขัดนิรภัย ไม่ถือว่ามีความผิด
- รถยนต์เก่าที่จดทะเบียนก่อนวันที่ 1 มกราคม 2531
- รถกระบะที่มีการจดทะเบียนก่อนปี 2537
- รถสามล้อ รถบดถนน รถแทรกเตอร์ รถใช้งานเกษตรกรรม และรถยนต์อื่นที่ไม่ได้ติดตั้งเข็มขัดนิรภัย
นั่งแค็บกระบะ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ไม่ผิดกฎหมาย
สำหรับรถกระบะ รถกึ่งกระบะ กำหนดให้รัดเข็มขัดนิรภัยเฉพาะแถวหน้า ในส่วนของแค็บ หรือนั่งท้ายกระบะ ไม่ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย แต่ต้องนั่งไม่เกินจำนวนที่กำหนด ในลักษณะที่ปลอดภัย และขับขี่ด้วยความเร็วตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนด (ส่วนประกาศกำหนด อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน 4 ธันวาคม 2565)
ที่มา: เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา