ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

"โครงการผันน้ำยวม" โอกาสการทำเกษตรในหน้าแล้งที่เพิ่มกว่า 1.61 ล้านไร่

03 มี.ค. 2566 | 18:12 น.
"โครงการผันน้ำยวม" โอกาสการทำเกษตรในหน้าแล้งที่เพิ่มกว่า 1.61 ล้านไร่

โครงการผันน้ำยวม โอกาสการทำเกษตรในหน้าแล้งที่เพิ่มกว่า 1.61 ล้านไร่ หลังมีปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพลจากโครงการผันน้ำยวมที่เพิ่มขึ้น 1,795.25 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี


   ปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพลจาก"โครงการผันน้ำยวม"ที่เพิ่มขึ้น 1,795.25 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งได้กว่า 1,610,026 ไร่ ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ 4,599 ล้านบาทต่อปี
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ของประเทศไทย มีปริมาณการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้นทุกปีตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปัญหาการขาดแคลนน้ำจึงมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น ทำให้ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (พ.ศ. 2558 - 2569) ได้มีการเสนอมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหา ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาโครงการใหม่ การปรับปรุงโครงการเดิม การปรับปรุงแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นต้น

 


โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล หรือโครงการผันน้ำยวม เป็นอีกทางออกหนึ่งในการแก้ไขปัญหานี้ ด้วยแนวคิดในการผันน้ำจากลำน้ำยวมผ่านอุโมงค์ส่งน้ำเพื่อมาเติมให้กับอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยจะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้ถึงปีละ 1,795 ล้านลูกบาศก์เมตร เพราะจากการสำรวจแม่น้ำยวมซึ่งเป็นแม่น้ำในลุ่มน้ำสาละวินที่มีปริมาณน้ำท่า ซึ่งเกิดจากลำน้ำสาขาที่อยู่ในเขตประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 8,937 ล้านลูกบาศก์เมตร และปริมาณน้ำส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 74 เป็นปริมาณน้ำในฤดูฝนที่ไหลลงแม่น้ำเมยแล้วไหลออกสู่แม่น้ำสาละวินที่ประเทศเมียนมา ก่อนลงสู่ทะเลอันดามันโดยที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เท่าที่ควร

\"โครงการผันน้ำยวม\" โอกาสการทำเกษตรในหน้าแล้งที่เพิ่มกว่า 1.61 ล้านไร่

นายศรชัย สิบหย่อม อายุ 68 ปี ประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำ และตัวแทนเกษตรกรอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ได้กล่าวถึงข้อดีของโครงการนี้ว่า การเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลจะช่วยให้เขื่อนสามารถปล่อยน้ำให้เกษตรกรใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งได้มากขึ้น เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรหลายรายต้องสูญเสียรายได้จากพืชผลทางการเกษตรที่เสียหายเมื่อน้ำจากชลประทานขาดช่วง ถ้าโครงการนี้แล้วเสร็จน่าจะช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณน้ำที่เพียงพอกับการทำการเกษตรในแต่ละปี

 

“หลายปีที่ผ่านมาเกิดภัยแล้งทำให้เกษตรกรจำนวนมากต้องขาดทุน เพราะได้ลงมือหว่านไปแล้วแต่ฝนขาดช่วง ทำให้ไม่มีน้ำ เลยต้องกู้หนี้ยืมเงินเพื่อมาลงทุนเพาะปลูกกันใหม่ ถ้ามีน้ำใช้เพียงพอจะช่วยให้พวกเราไม่ต้องคอยกังวลเรื่องนี้”

\"โครงการผันน้ำยวม\" โอกาสการทำเกษตรในหน้าแล้งที่เพิ่มกว่า 1.61 ล้านไร่

ทางด้านนายประทวน สระทองเพชร อายุ 63 ปี เกษตรกรตำบลหนองโสน จังหวัดพิจิตร เสริมว่า เกษตรกรในพื้นที่นี้มีน้ำจากชลประทานเป็นปัจจัยหลักในการทำการเกษตรกรรม ถ้ามีน้ำเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก เกษตรกรก็มีรายได้จากการขายพืชผลทางการเกษตร เลยอยากฝากภาครัฐให้ความช่วยเหลือในเรื่องนี้ด้วย

โดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ได้มีการคำนวณว่าถ้าโครงการผันน้ำยวมแล้วเสร็จ ในแต่ละปีจะมีปริมาณน้ำต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสำหรับนำไปใช้เป็นน้ำเพื่อการเกษตรจำนวน 1,495 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เป็นปริมาณน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคจำนวน 300 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แล้วสามารถนำไปใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 417 ล้านหน่วยต่อปี

รวมแล้วมูลค่าทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจากโครงการนี้ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมว่ามีถึง 10,036 ล้านบาทต่อปี จากผลประโยชน์ด้านการเกษตร 4,599 ล้านบาทต่อปี หรือคาดว่าจะทำให้เกษตรกรในพื้นที่โครงการมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น 155,444 บาทต่อครัวเรือน รวมถึงผลประโยชน์ด้านน้ำอุปโภคบริโภค 4,290 ล้านบาทต่อปี และผลประโยชน์ด้านไฟฟ้า 1,147 ล้านบาทต่อปี


#น้ำยวม #โครงการผันน้ำยวม #เขื่อนภูมิพล

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี"  สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

นางเอกดัง "เบลล่า ราณี" สุดเศร้า สูญเสียคุณยายอันเป็นที่รัก

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

"เบิร์ด เทคนิค" สูญเสียครั้งใหญ่ สุดเศร้าโลกนี้ช่างใจร้ายกับผม

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

ข่าวดี รัฐบาลขยายเวลา "คุณสู้ เราช่วย" ถึงสิ้นเดือนนี้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

โดนแล้ว "พีช สมิทธิพัฒน์" สารภาพ 3 ข้อหา เผยค่าปรับที่ต้องชดใช้

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่

รวบ 2 จิ๊กโก๋ รัวปืนกลางงานวัด บาดเจ็บ 3 ราย พบมีคดีติดตัวทั้งคู่