ฮีโร่4ขา "กองกำกับการสุนัขตำรวจ" จัดพิธีการติดยศ-รางวัลสุนัขดีเด่น
กองกำกับการสุนัขตำรวจ จัดงานพิธีทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กก.สุนัขตำรวจ บก.สปพ. ครบ69ปี พร้อมพิธีการให้ยศหรือรางวัลสุนัขตำรวจ
วันที่ 3 มีนาคม 2566 ที่กองกำกับการสุนัขตำรวจ ได้มีการจัดงานพิธีทำบุญเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา กก.สุนัขตำรวจ บก.สปพ. ครบรอบ 69 ปี และพิธีการให้ยศหรือรางวัลสุนัขตำรวจ
โดยประธานในพิธี พล.ต.ต.ภานพ วรธนัชชากุล ผบก.สปพ. ได้กล่าวสัมภาษณ์กับสื่อมวลชน สำหรับงานในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศที่มอบยศให้แก่สุนัขตำรวจ โดยสุนัขตำรวจของเรานั้น มีสุนัขตำรวจทั้งหมด ๘๒ ตัว
จำนวนสุนัข แยกตามสายพันธ์
๑. ลาบราดอร์ รีทรีพเวอร์ ๓๗ ตัว
๒. เยอรมันเชพเพอร์ด ๒๗ ตัว
๓. เบลเยี่ยม มาลีนอยส์ ๑๐ ตัว
๔. แมกย่า วิชสลา ๘ ตัว
จำนวนสุนัข แยกตามประเภทการใช้งาน
๑. ตรวจค้นหาวัตถุระเบิด ๓๘ ตัว
๒. ตรวจค้นหายาเสพติด ๒๐ ตัว
ต. สะกดรอย/ติดตามคนร้าย ๑๓ ตัว
๔. สาธิต ๕ ตัว
๕. กู้ภัย ๔ ตัว
๖. พิสูจน์กลิ่นของกลาง ๒ ตัว
โดย หลักเกณฑ์การให้ยศ หรือรางวัลสุนัขตำรวจ
สุนัขที่นำมาใช้งานจะมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ ๘ ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาอันสั้น ดังนั้นเมื่อได้รับการบรรจุขึ้นทะเบียนเป็นสุนัขตำรวจแล้ว จะได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์การให้ยศหรือรางวัลและ
การเลื่อนยศสุนัขตำรวจโดยคณะกรรมการดังนี้
๑. สุนัขตำรวจ เมื่อผ่านการฝึกตามหลักสูตร การฝึกสุนัขตำรวจ ที่ตันสังกัดของสุนัขตำรวจนั้นเมื่อได้รับการบรรจุขึ้นทะเบียนเป็นสุนัขตำรวจแล้ว ให้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า ๖ เดือน เมื่อผ่านการ ตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกรรมการ ให้ใด้รับยศในระดับ ๑ เรียกว่า "สุนัขตำรวจตรี"
๒.สุนัขตำรวจตรี เมื่ออยู่ปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า ๓ ปี และผ่านการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกรรมการ ให้ได้รับยศในระดับ ๒ เรียกว่า "สุนัขตำรวจโท"
๓. สุนัขตำรวจโท เมื่ออยู่ปฏิบัติหน้าที่ไม่น้อยกว่า ๓ ปี และผ่านการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกรรมการ ให้ได้รับยศสูงขึ้นในระดับ ๓ เรียกว่า " สุนัขตำรวจเอก"
และเมื่ออยู่ปฏิบัติหน้าที่ครบ ๒ ปี ให้คณะกรรมการทำการตรวจสอบแล้วรายงานขอปลอดประจำการ
คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บังคับการเป็นประธาน ผู้กำกับการเป็นกรรมการ สารวัตรแผนก ต้นสังกัดที่สุนัขตำรวจประจำการอยู่ขณะนั้นเป็นกรรมการ และผู้มีความรู้ด้านการฝึกสุนัขที่ได้รับหมอบหมายเป็นกรรมการ
โดย พล.ต.ต.ภานพ ยังกล่าวถึงความสำคัญของสุนัขตำรวจ ซึ่งได้ยกตัวอย่างกรณีของ สุนัขชื่อเอ็กซ์ (งานสายตรวจ ประเภทสะกดรอยติดตามคนร้าย)
เอ็กซ์ เป็นสุนัขพันธุ์เยอรมันเซฟเฟิร์ด เพศ ผู้ สีดำเหลือง อายุประมาณ ๖ ปี น้ำหนัก ๓๓ ภิโลกรัม (ในขณะนั้น) สุขภาพแข็งแรง นิสัยสุภาพ เรียบร้อย ขึ้นประจำการเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓ เอ็กซ์ ได้ผ่านการฝึกเชื่อฟังคำสั่ง ดมกลิ่นสะกดรอย ฝึกให้ต่อสู้ ช่วยเหลือการจับกุม ก็สามารถทำได้เป็นอย่างดี
เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๗ ส.ต.ท.ศักดา มาลา และสุนัขชื่อ เอ็กซ์ ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ราชการปราบปรามขบวนการโจรก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน ๔ จังหวัดภาคใต้
วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๑๗ ได้ออกปฏิบัติหน้าที่ลาดตะเวนร่วมกับ เจ้าหน้าที่ กก.ภ.ยะลา พบที่พักแรมของ ขวบวนการโจรก่อการร้าย ที่ถูกรื้อถอนไปใหม่ ๆ จึงให้ เอ็กซ์ ดมกลิ่นจากเสื้อผ้าของคนร้ายที่ทิ้งไว้แล้วเดินลาดตระเวนเข้าไปในป่าสวนยางเชิงเขา บ้านใบ้ หมู่ ๖ ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา ประมาณ ๑ กิโลเมตร
เอ็กซ์ ก็หยุดเดินเงยหน้าขึ้นมีลักษณะอาการ หู หาง ตั้ง ปากหุบ ส.ต.ท.ศักดาฯ รู้ว่าห้องมีคนร้ายอยู่ใกล้บริเวณนั้น จึงบอกให้เจ้าหน้าที่ทราบ และหลบเข้าที่กำบัง
พร้อมกันนั้นก็มีเสียงปืนดังขึ้น เอ็กซ์ และเจ้าหน้าที่ไปคนละทิศ คนละทาง และได้ปะทะยิงต่อสู้กับ ขวบวนการโจรก่อการร้าย ประมาณ ๕ นาที ผลปรากฏว่าเอ็กซ์ ตายทันทีในที่เกิดเหตุ ส่วนขวบวนการโจรก่อการร้ายหลบหนีไปได้ จึงได้นำซากของ เอ็กซ์ ไปฝังไว้ที่หน้า กองร้อย กก.ภ.ยะลา
ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น หากไม่ได้รับการบอกเหตุจาก เอ็กซ์ส.ต.ท.ศักดาฯ และเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติหน้าที่อาจหลบเข้าที่กำบังไม่ทัน และถูกยิงเสียชีวิตกันหมดทั้งชุดก็เป็นได้
กองกำกับการสุนัขตำรวจ จึงได้สร้างรูปปั้นไว้หน้าที่ทำการเพื่อเป็น การยกย่องในวีรกรรมของสุนัขตำรวจ " เอ็กซ์ " นอกจากนี้ พล.ต.ต.ภานพ ยังกล่าวทิ้งท้าย ถึงประชาชนคนไหนที่สนใจอยากให้เราสอนทักษะเบื้องต้น เพื่อที่สุนัขจะได้มีความคุ้นเคย และเจ้าของจะได้นำไปต่อยอดในการใช้งาน