แอม ไซยาไนด์ เคยเข้ารับการรักษาจิตเวช เมื่อ 5 ปีก่อน แต่ขาดการรักษาต่อเนื่อง

27 เมษายน 2566

"แอม ไซยาไนด์" เคยเข้ารับการรักษา "จิตเวช" เมื่อ 5 ปีก่อน แต่ขาดการรักษาต่อเนื่อง ทำเอาชาวเน็ตเดือด เคสแบบนี้ถึงอ้างว่าป่วยจิตเวชก็ไม่ควรให้ลดโทษนะคะ เพราะมีการฆ่าโดยเจตนาและมีการไตร่ตรองและเตรียมการไว้ก่อนแล้ว ที่สำคัญไม่ใช่แค่ศพเดียวค่ะ เอาอะไรมาป่วย

คืบหน้าคดี แอม ไซยาไนด์ หรือ นางสรารัตน์ รังสิวุฒาพรณ์ ภรรยาของนายตำรวจจังหวัดราชบุรี ผู้ต้องหาก่อเหตุวางยาผู้เสียหายหลายรายเพื่อหวังชิงทรัพย์  ล่าสุด"บิ๊กโจ๊ก"พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง.ผบตร.  เผย เหยื่อ น.ส.แอม เสียชีวิตด้วยไซยาไนด์ทั้งหมด  ล่าสุดมี 13 ศพแล้ว และพบผู้รอดชีวิต 1 ราย สอบสวนพบข้อมูลสำคัญ "แอม" มีพี่สาวเป็นเภสัชกร

แอม ไซยาไนด์ เคยเข้ารับการรักษาจิตเวช เมื่อ 5 ปีก่อน

ซึ่ง พล.ต.อ. สุรเชษฐ์  กล่าวถึงความคืบหน้าในภาพรวมการสืบสวนสอบสวนทุกกรณี  ว่า  ผู้ที่ถูกวางยาแต่รอดชีวิต ได้เดินทางเข้ามาให้ข้อมูลกับคณะทำงานแล้ว 1ราย จากการสอบสวน ได้รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมว่า เหยื่อรายนี้ เพิ่งหายป่วยจากโควิด ก่อนที่นางสาวแอมจะเอายามาให้กิน โดยอ้างว่า ที่บ้านทำสมุนไพรและพี่สาวเป็นเภสัชกร เปิดร้านขายยา นางสาวแอมจึงนำยาที่เป็นแคปซูลให้กิน 1 เม็ด ซึ่งอ้างย้ำว่า เป็นยาสมุนไพรรักษาอาการโควิด
 

แอม ไซยาไนด์ เคยเข้ารับการรักษาจิตเวช เมื่อ 5 ปีก่อน

จากการสอบประวัติเบื้องต้นนางสาวแอม มีพี่สาวอยู่ในอำเภอโพธิ์ธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งขณะนี้ ได้สั่งการให้ชุดสืบสวนภูธรจังหวัดราชบุรี เข้าค้นและหาหลักฐาน ว่าพี่สาวจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อเหตุครั้งนี้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนการเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมาย ที่เป็นบ้านพักของนางสาวแอม ที่จังหวัดนครปฐม อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลว่าเจอหลักฐานอะไรบ้าง

แอม ไซยาไนด์ เคยเข้ารับการรักษาจิตเวช เมื่อ 5 ปีก่อน

โดยล่าสุดทางเพจ สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้ออกมาเผยความคืบหน้าของคดีนี้ว่า ‘แอม’ เคยเข้ารับการรักษา ‘จิตเวช’ เมื่อ 5 ปีก่อน แต่ขาดการรักษาต่อเนื่อง มีรายงานว่า จากการตรวจสอบประวัติ พบว่า ‘นางแอม’ เคยเข้ารับการรักษาโรคทางจิตเวช ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเมื่อ 5 ปีก่อน 
 

แอม ไซยาไนด์ เคยเข้ารับการรักษาจิตเวช เมื่อ 5 ปีก่อน

แต่ขาดการรักษาอย่างต่อเนื่อง วันนี้โรงพยาบาลราชทัณฑ์จะส่งจิตแพทย์มาตรวจดูอาการว่าป่วยอยู่ในขั้นไหน เพื่อทำการรักษาต่อไป อย่างไรก็ตาม ทัณฑสถานหญิงกลางมีการดูแลผู้ต้องขังที่ป่วยเป็นจิตเวชอยู่แล้ว ในกรณีนี้ก็จะส่งจิตแพทย์เข้ามาพูดคุยให้บ่อยครั้งในช่วงแรกก่อน

ขอบคุณที่มา สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว