"ทนายเกิดผล" เปิดความรู้ด้านกฎหมายชัด ๆ พกปืนอย่างไรไม่ถูกจับ
ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ให้ความรู้ด้านกฎหมาย ระบุถึงผู้ที่ชอบพกปืน โดยตั้งหัวข้อว่า พกปืนอย่างไรไม่ถูกจับ
"ทนายเกิดผล" ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ทนายเกิดผล แก้วเกิด โดยระบุว่า
พกปืนอย่างไรไม่ถูกจับ
ฎีกาพาอาวุธปืนไปในเมืองฯ
เกี่ยวกับเรื่องการพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ มีปัญหาวินิจฉัยเสมอมาว่า พฤติการณ์ขนาดไหนที่เรียกว่า พาอาวุธปืน ไป
ถ้าแยกชิ้นส่วน แยกแม็ก แยกลูก เก็บใส่กล่องใส่กุญแจ ไม่พร้อมใช้งาน แบบนี้ ถือว่า ผิดกฎหมาย ตาม พรบ. อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ หรือไม่ ?
เดิม มีคำพิพากษาศาลฎีกา วินิจฉัยใน ปี 2540 ว่า ทนายความท่านหนึ่งย้ายบ้าน ระหว่างเดินทาง มีอาวุธติดมาด้วย แต่ทนายท่านนั้น เอาอาวุธปืนใส่ไว้ในกล่อง_ล็อคกุญแจ_วางไว้เบาะหลัง ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า การจะหยิบฉวยอาวุธปืนมาใช้ทันทีทันใดนั้นย่อมเป็นได้ยาก จึงถือว่า จำเลยไม่ได้ทำผิดกฎหมาย
- คำพิพากษาฎีกาที่ 3945/2540
เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจค้นและพบอาวุธปืนพร้อมกระสุนปืนของกลางในกระเป๋าเอกสารซึ่งปิดอยู่และวางอยู่ที่เบาะหลังรถยนต์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ขับเมื่อปรากฏว่ากระเป๋าเอกสารที่อาวุธปืนของกลางบรรจุอยู่ภายในนั้นโดยสภาพ มีกุญแจล็อกถึง_2 ด้าน ทั้งวางอยู่ที่เบาะด้านหลัง การจะหยิบฉวยอาวุธปืนมาใช้ทันทีทันใดนั้นย่อมเป็นได้ยาก ทั้งจำเลยมีเจตนาเพียงขนย้ายสิ่งของ จึงมิอาจถือได้ว่าเป็นการพาติดตัว
- 10 ปีต่อมา ในปี 2550 ศาลฎีกาได้วินิจฉัยและวางหลักใหม่ว่า
การมีปืนติดตัวม จะพร้อมใช้หรือไม่พร้อมใช้ กฎหมายก็ถือว่าเป็นความผิดทั้งหมด #เพราะไม่มีบทบัญญัติยกเว้นไว้ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๙๔๒/๒๕๕๐
พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทวิ วรรคหนึ่ง และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ มิได้กำหนดองค์ประกอบในการกระทำความผิดว่าอาวุธปืนหรืออาวุธที่พาไปต้องเป็นอาวุธที่สามารถใช้ได้ทันที ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมีกระสุนปืนอยู่ในรังเพลิงหรือไหม่ก็ตาม ก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืน ฯ มาตรา ๘ ทวิ และ ป.อ. มาตรา ๓๗๑ แล้ว
ฎีกาก็ยังกลับไปกลับมาอยู่
และ ต่อมา ปี 57 ก็มีฎีกาใหม่ว่า
การมีอาวุธปืนติดไปในรถในลักษณะที่ไม่พร้อมใช้งานไม่ผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง
- คือคดีตามคำพิพากษาที่ 2456/2557 วินิจฉัยว่า
จำเลยมีอาวุธปืนซุกซ่อนไว้ในรถ_ยากแก่การนำมาใช้ ไม่เป็นความผิดฐารพาอาวุธปืนไปในเมือง ฯ
ซึ่งคดีนี้ จำเลยรับสารภาพตามฟ้องด้วยนะครับ แต่ศาลฎีกามองว่า เป็นข้อกฎหมายสำคัญ แม้จำเลยจะรับสารภาพ แต่การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด ก็พิพากษายกฟ้อง เช่นเดิม