ทำความเข้าใจ การเปิดตลาดเสรีไฟฟ้าในไทย ช่วยลดค่าไฟได้จริงหรือ
กระแสการเปิดตลาดเสรีไฟฟ้าในไทย เป็นสิ่งที่พูดกันมาอย่างยาวนาน ว่าจะทำให้เกิดการแข่งขันและช่วยให้ค่าไฟฟ้าลดลง ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนแก่ประชาชน และอาจเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนมากกว่าเดิม
จากข้อมูลที่ว่า การปรับเปลี่ยน โครงสร้างกิจการไฟฟ้า ไปเป็นแบบแข่งขันเสรี โดยผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถซื้อขายไฟฟ้าโดยตรงได้ จะทำให้ความเสี่ยง และภาระค่าไฟฟ้าของประชาชนลดลงนั้น เป็นความเข้าใจผิด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? เพราะในทางปฏิบัติแล้ว การซื้อขายไฟฟ้าในตลาดเสรี ไม่ได้เป็นการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโดยตรง ระหว่างผู้ผลิตกับผู้ใช้ไฟฟ้า
แต่เป็นการซื้อขายผ่านตลาดกลางไฟฟ้าที่เรียกว่า Power Pool Market ซึ่งการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อรองรับการซื้อขาย และอนุญาตให้เอกชนสามารถลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้อย่างเสรี
รวมทั้งต้องมีการพัฒนาด้าน องค์ความรู้ บุคลากร รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอ สำหรับบริหารจัดการปริมาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์การผลิต และพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่มีความผันผวนตลอดเวลาและจะยิ่งมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างกิจการไฟฟ้าจึงต้องมีการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและรอบคอบ
แต่เป็นการซื้อขายผ่านตลาดกลางไฟฟ้าที่เรียกว่า Power Pool Market ซึ่งการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย เพื่อรองรับการซื้อขาย และอนุญาตให้เอกชนสามารถลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าได้อย่างเสรี
รวมทั้งต้องมีการพัฒนาด้าน องค์ความรู้ บุคลากร รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบไฟฟ้าให้มีความยืดหยุ่นเพียงพอ สำหรับบริหารจัดการปริมาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์การผลิต และพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าที่มีความผันผวนตลอดเวลาและจะยิ่งมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น การปรับเปลี่ยนโครงสร้างกิจการไฟฟ้าจึงต้องมีการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและรอบคอบ
เปิดข้อดี-ข้อเสีย การเปิดตลาดเสรีซื้อขายไฟฟ้า
สำหรับข้อดีของตลาดเสรี จะเกิดขึ้นเมื่อปริมาณ กำลังผลิตไฟฟ้าในตลาด มีมากกว่าความต้องการใช้ไฟฟ้า (Over Supply) ซึ่งมีโอกาสทำให้ค่าไฟถูกลงได้ ในทางกลับกัน หากปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอ จะทำให้ค่าไฟมีความผันผวนสูง หรือ เข้าขั้นรุนแรง
ดังนั้น อัตราค่าไฟฟ้าในตลาดเสรีไฟฟ้า มักจะผันผวนอย่างมาก ซึ่งระบบเศรษฐกิจของไทย ในปัจจุบันยังไม่แข็งแรงพอ ที่จะรับมือกับความเสี่ยงนี้ จึงยังจำเป็น ต้องใช้โครงสร้างกิจการไฟฟ้ารูปแบบ Enhanced Single Buyer (ESB) ที่รัฐเป็นผู้รับซื้อไฟฟ้า จากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ทำให้รัฐมีอำนาจในการบริหารจัดการและควบคุมสั่งการได้อย่างเด็ดขาด 100% เพื่อให้เกิดเสถียรภาพด้านราคา
ซึ่งที่ผ่านมาในช่วงสถานการณ์ โควิด-19 ที่ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำลงทั่วโลก ขณะที่วิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้ต้นทุนพลังงานของโลกพุ่งสูงขึ้น โดยเมื่อเปรียบเทียบอัตราค่าไฟฟ้าที่ขายให้ประชาชนแล้ว จะเห็นว่าประเทศไทย มีอัตราค่าไฟฟ้าต่ำ ซึ่งจะเห็นว่าอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศไทยเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 เท่าในขณะที่ต่างประเทศได้มีการขึ้นค่าไฟฟ้าไปแล้วกว่า 2 - 3 เท่า
อีกทั้งหากลองเปรียบเทียบราคาไฟฟ้าของไทยในช่วงวิกฤตพลังงานกับประเทศที่เปิดตลาดเสรีไฟฟ้า จะพบว่า ประเทศที่เปิดตลาดเสรีไฟฟ้า มีความผัวผวนของค่าไฟสูง และ ทำให้อัตราค่าไฟแพงขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ อาทิ อิตาลี ซึ่งพบว่าอัตราค่าไฟเพิ่มขึ้นถึง 188% รองลงมาคือ สวีเดน ค่าไฟเพิ่มขึ้น 157% ,สเปน เพิ่มขึ้น 87% และ เนเธอร์แลนด์ เพิ่มขึ้น 75% ขณะที่ไทยเพิ่มขึ้น 19% เท่านั้น
อย่างไรก็ดี หากรัฐมีนโยบายกำหนดราคาค่าไฟฟ้า ที่ไม่สะท้อนกับต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด จะทำให้รัฐต้องแบกรับภาระเกินควร ขณะเดียวกันผู้ใช้ไฟฟ้าก็จะเคยชินกับการใช้พลังงานราคาถูก และ ไม่มีความตระหนักถึงความสำคัญ ของการใช้พลังงานอย่างประหยัด ส่งผลให้รัฐขาดดุล ทางการคลังและเกิดผลเสียต่อประเทศในระยะยาวได้
สถิติเผยไทยไฟดับน้อยสุด เป็นอันดับต้นๆ ของอาเซียน
จากการสำรวจคุณภาพไฟฟ้าของประเทศในอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน มาเลเซีย เมียนมา กัมพูชา สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ของ UNESCAP (UN’s Economic and Social Commission for Asia and the Pacific) พบว่า ค่าดัชนีชี้จำนวนไฟฟ้าดับของประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น (จากน้อยไปมาก) ไทยอยู่ที่ อันดับ 5 รองจาก สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และมาเลเซีย ขณะที่ดัชนีชี้ระยะเวลาไฟฟ้าดับ ไทยเป็นอันดับ 2 รองจาก สิงคโปร์เท่านั้น
แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของกำลังผลิตสำรอง ที่จะต้องสัมพันธ์ กับสัดส่วนแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า และ สะท้อนถึงการวางแผนด้านพลังงาน ให้เกิดเสถียรภาพสูงสุดของไทย เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต