ดูตัวอย่างบัตรดี - บัตรเสีย ตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง ส.ส. 14 พ.ค. 2566
อย่าพลาด! ดูตัวอย่างบัตรดี - บัตรเสีย พร้อมตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง ส.ส. 14 พ.ค. 2566 ลงคะแนนที่ไหน คลิกเดียวรู้เลย
ดูตัวอย่างบัตรดี - บัตรเสีย ตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง ส.ส. 14 พ.ค. 2566 : คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะเปิดให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สามารถตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง สถานที่ลงคะแนนตรวจสอบรายละเอียดผ่านระบบออนไลน์ได้ 2 ช่องทาง คือ เว็บไซต์กรมการปกครอง และแอปฯ Smart Vote ซึ่งคุณจะทราบทันทีว่าคุณต้องไปเลือกตั้งที่ไหน
วิธีตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง 2566
- ตรวจสอบหน่วยเลือกตั้ง 2566 ผ่านเว็บไซต์กรมการปกครอง คลิกที่นี่
- กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เสร็จแล้วกดปุ่มตรวจสอบ
ระบบจะแจ้งข้อมูลวันที่เลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่ลงคะแนนเลือกตั้ง และลำดับที่บัญชีรายชื่อ ให้ทราบ ตามภาพด้านล่าง ซึ่งคุณจะทราบทันทีว่าเลือกตั้งที่ไหน
ตรวจสอบหน่วยเลือกตั้งผ่าน แอปฯ Smart Vote
ดาวน์โหลดแอปฯ Smart Vote Android IOS
เปิดแอป Smart Vote
กดเลือกไปที่เลือกตั้ง ส.ส.
กดเลือก ตรวจสอบสิทธิ/แจ้งเหตุ และลงทะเบียนเลือกตั้ง
กดตรวจสอบรายละเอียดสิทธิเลือกตั้ง
กดยืนยัน
กรอกหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก แล้วกดตรวจสอบแล้วระบบจะแจ้งรายละเอียดผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ทราบ ทั้ง เขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง สถานที่เลือกตั้ง และลำดับที่บัญชีรายชื่อ
สำหรับคนที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สามารถไปใช้สิทธิกันในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยเริ่มใช้สิทธิ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น.
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง 2566
คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- มีสัญชาติไทย หรือ หากเคยแปลงสัญชาติ
- ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- อายุไม่ตํ่ากว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
- มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง
- ต้องคุมขังโดยหมายของศาล หรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
- หลักฐานที่ใช้แสดงตนในการเลือกตั้ง
บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
บัตรหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้โดยมีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนเช่น บัตรประจำตัวเจ้า หน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ พาสปอร์ต
บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์จาก แอปพลิเคชัน D.DOPA หรือ ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์จากแอปพลิเคชัน DLT QR LICENCE สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงตนได้
บัตรเลือกตั้ง
บัตรเลือกตั้งมี 2 แบบคือ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง(สีม่วง) และ บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ(สีเขียว)
5 ขั้นตอนในการลงคะแนนเลือกตั้ง
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบรายชื่อ
ตรวจสอบรายชื่อและลําดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือตรวจสอบข้อมูลการใช้สิทธิทางแอปฯ Smart Vote
ขั้นตอนที่ 2 ยื่นหลักฐานแสดงตน
ยื่นบัตรประชาชนหรือหลักฐานแสดงตน ให้กรรมการประจําที่เลือกตั้งกลางเพื่อตรวจสอบข้อมูลและยืนยันตัวตน พร้อมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ขั้นตอนที่ 3 รับบัตรเลือกตั้ง
รับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่บัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและบัตรเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้ว หัวแม่มือขวา บนต้นขั้ว บัตรเลือกตั้งทั้ง 2 ประเภท โดยกรรมการประจําที่เลือกตั้งลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
ขั้นตอนที่ 4 ทําเครื่องหมายกากบาท
เข้าคูหาลงคะแนน ทําเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทําเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง แต่ละประเภท โดยสามารถเลือกผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ได้เพียงบัตรละหมายเลขเดียว หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใดหรือบัญชีรายชื่อ ของพรรคการเมืองใดเลย ให้ทําเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ประสงค์เลือกผู้สมัครผู้ใดหรือ ไม่เลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด
ขั้นตอนที่ 5 หย่อนบัตรด้วยตนเอง
เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภท ให้เรียบร้อย และหย่อนบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทให้ถูกต้องด้วยตนเอง
ตัวอย่างบัตรดี-บัตรเสีย