‘ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ’ จ่อเก็บค่าโดยสาร 3 ก.ค.นี้ 66
สิ้นสุดการรอคอย “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เตรียมให้บริการเชิงพาณิชย์ จัดเก็บค่าโดยสาร 15 – 45 บาท 3 ก.ค.66 นี้ พร้อมเปิดระบบจ่ายแบบ EMV ยกเว้นค่าแรกเข้าเชื่อมการเดินทางรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีลาดพร้าว
‘ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ’ จ่อเก็บค่าโดยสาร 3 ก.ค.นี้ 66
3 ก.ค.นี้ สิ้นสุดทางเลื่อน! “รถไฟฟ้าสายสีเหลือง” เตรียมให้บริการเชิงพาณิชย์ จัดเก็บค่าโดยสาร 15 – 45 บาท พร้อมเปิดระบบจ่ายแบบ EMV ยกเว้นค่าแรกเข้าเชื่อมการเดินทางรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีลาดพร้าว ขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อัพเดตความพร้อมให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง (รถไฟฟ้าสายสีเหลือง) หลังเปิดทดลองให้บริการบางช่วงเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา ล่าสุดในวันที่ 12 มิ.ย.
นี้เป็นต้นไป เตรียมขยายสถานีให้บริการเพิ่มเติมจากสถานีภาวนา ถึงสถานีสำโรง และยังขยายระยะเวลาให้บริการเป็นระหว่างเวลา 06.00 น. – 20.00 น. โดยประชาชนสามารถร่วมทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายนี้ได้ ดังนี้
- สถานีภาวนา - สถานีโชคชัย 4 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 55) และทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 58) - สถานีลาดพร้าว 71 เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา) ทางเข้า-ออก 3 (ซอยลาดพร้าว 84) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 80/3)
- สถานีลาดพร้าว 83 - สถานีมหาดไทย ที่ทางเข้า-ออก 2 (โรงพยาบาลลาดพร้าว) เปิดใช้เฉพาะบันได - สถานีลาดพร้าว 101 - สถานีบางกะปิ เปิดใช้เฉพาะทางเข้า-ออก 1 (ซอยลาดพร้าว 113) ทางเข้า-ออก 2 (ซอยลาดพร้าว 115) และทางเข้า-ออก 4 (ซอยลาดพร้าว 142) headtopics.com
ทั้งนี้ รูปแบบการชำระค่าโดยสารในเบื้องต้นนั้น หากเปรียบเทียบแล้วจะพบว่าการชำระค่าโดยสารด้วยบัตร EMV เป็นทางเลือกของประชาชนที่จะลดภาระค่าใช้จ่ายจากการจัดเก็บค่าแรกเข้า กรณีต้องเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าระหว่างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินในจำนวนประมาณ 15 บาท โดยหากประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายต่อเดือนราว 600 บาท คำนวณจากค่าแรกเข้าที่ถูกลดหย่อนจากการเดินทางวันทำงานไปกลับจำนวน 30 บาทต่อวัน
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีเหลืองยังคงให้บริการประชาชนโดยไม่เก็บค่าโดยสาร ซึ่งเบื้องต้นมีการประเมินว่าอาจจะมีการเริ่มจัดเก็บค่าโดยสารในวันที่ 3 ก.ค.นี้เป็นต้นไป เนื่องจากปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติอัตราค่าโดยสาร และออกประกาศกำหนดใช้