ประสบความสำเร็จ สภาอุตฯ ร่วมคณะเอกชนไทย ยกทัพลงทุนในซาอุดิอาระเบีย

15 มิถุนายน 2566

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะเอกชนไทย ยกทัพลงทุนในซาอุดีอาระเบีย เพื่อขับเคลื่อนการค้าและการลงทุน

   สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้าร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยคณะภาครัฐและภาคเอกชน ระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2566 เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคี และส่งเสริมการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ในการเร่งผลักดันการค้า การลงทุน
 

ประสบความสำเร็จ สภาอุตฯ ร่วมคณะเอกชนไทย ยกทัพลงทุนในซาอุดิอาระเบีย


ปัจจุบัน ซาอุดีอาระเบียต้องการดึงนักลงทุนจากทั่วโลกและนักลงทุนจากไทยไปร่วมโครงการ Saudi Vision 2030 โดยตั้งเป้าหมายจะนำพาซาอุดีอาระเบียไปสู่อนาคตใหม่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมกับนโยบายในการสร้างเมืองใหม่ที่มีชื่อว่า “นีอุม” NEOM (Saudi Arabia Smart City) อีกทั้งซาอุฯ ยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพหลายด้านทั้งการเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำของกลุ่มคาบสมุทรอ่าวอาหรับ (GCC) ขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทย มีประชากร 35 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 50 ล้านคนในปี 2030 (พ.ศ. 2573) และยังสามารถเชื่อมโยงตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

 

ประสบความสำเร็จ สภาอุตฯ ร่วมคณะเอกชนไทย ยกทัพลงทุนในซาอุดิอาระเบีย

นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วยนายนาวา จันทนสุรคน กรรมบริหาร ส.อ.ท. ร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย ในฐานะผู้แทนภาคอุตสาหกรรมไทยที่เข้าร่วมเดินทางกับคณะ โดยในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการผลักดันการค้า การลงทุนร่วมกันระหว่างประเทศไทยและซาอุดีอาระเบีย พร้อมขยายความร่วมมือและการลงทุนในด้านต่างๆ อาทิ

• อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

• อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง

• อุตสาหกรรมปุ๋ยและเคมีภัณฑ์

• โครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้นในกลุ่มประเทศอาหรับ

 

ประสบความสำเร็จ สภาอุตฯ ร่วมคณะเอกชนไทย ยกทัพลงทุนในซาอุดิอาระเบีย
นอกจากนี้ ทางคณะฯ ยังได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมศูนย์วิทยากรและเทคโนโลยีของซาอุดีอาระเบีย (King Abdulaziz City for Science and Technology : KACST) ซึ่งมีการแสดงนวัตกรรมของสินค้าอุตสาหกรรม เช่น Carbon Fiber อุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรม Semi – Conductor ในอนาคต เป็นต้น โดยฝ่ายซาอุฯ มีความยินดีที่จะให้ใช้ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการของซาอุฯ หากสตาร์ทอัพ (Startup) ทั้งสองประเทศตกลงที่จะร่วมกันเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน และหากผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่ายเกิดการร่วมทุนกันต่อเนื่อง หน่วยงานดังกล่าวพร้อมให้การสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture capital) ให้อีกด้วย