หมอธีระ เตือน ภาวะ heat stroke อันตรายถึงโคม่า เผยสิ่งแรกที่ต้องทำหากมีอาการ
"หมอธีระ" ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยข้อมูลถึงอาการ heat stroke อันตรายถึงโคม่า
"หมอธีระ" ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความ ระบุว่า
Exertional heat illness (EHI) หรืออาการป่วยจากความร้อนและการออกกำลังนั้นมีหลายรูปแบบ
ตั้งแต่ตะคริวที่กล้ามเนื้อ (Muscle cramp) เป็นลม (Syncope)
รุนแรงสุดคือ Exertional heat stroke --> อุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส พร้อมอาการอื่น เช่น เหงื่อแตกมาก อาการขาดน้ำ บวกกับอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ปวดหัว สับสน ชัก ไม่ได้สติ/โคม่า
การวินิจฉัยได้เร็ว หรือนึกถึงภาวะ heat stroke นี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะหากเป็นจริง เรื่องแรกที่ต้องทำคือ การลดอุณหภูมิร่างกายให้ได้โดยเร็วที่สุด พาเข้าที่ร่ม ระบายอากาศดี ปลดพันธนาการเสื้อผ้าต่างๆ ให้หลวม เช็ดตัว รวมถึงวิธีทางการแพทย์ที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยลดอุณหภูมิ
ทั้งนี้ การทำกิจกรรมในภาวะที่ร้อนมากนั้น ปกติแล้วคนเราจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูง ที่เรียกว่า Thermotolerance หรือ Acclimatization อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ ดังนั้นการออกแบบกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิด EHI ต่างๆ จึงต้องวางแผนปรับตัวอย่างเหมาะสม รวมถึงผู้จัดกิจกรรมต้องมีความรู้ที่จะประเมินภาวะ EHI ต่างๆ และดูแลอย่างถูกต้องและทันท่วงที