สังคม

heading-สังคม

"หมอธีระวัฒน์" เผยข้อมูล คนที่ชอบกินไข่มาก ๆ ต้องอ่าน เสี่ยงเส้นเลือดตีบ

26 ต.ค. 2566 | 18:29 น.
"หมอธีระวัฒน์" เผยข้อมูล คนที่ชอบกินไข่มาก ๆ ต้องอ่าน เสี่ยงเส้นเลือดตีบ

ใครที่ชอบกินไข่มาก ๆ ต้องอ่าน ล่าสุด "หมอธีระวัฒน์" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เผยข้อมูลกินไข่เยอะ มีผลสัมพันธ์กับเส้นเลือดตีบ

วันที่ 26 ต.ค 66 จากรณีที่ทางด้าน น.พ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ออกมาเผข้อมูล สำหรับคนที่ชอบกินไข่มาก ๆ มีผลสัมพันธ์กับเส้นเลือดตีบ โดยระบุว่า 

 

\"หมอธีระวัฒน์\" เผยข้อมูล คนที่ชอบกินไข่มาก ๆ ต้องอ่าน เสี่ยงเส้นเลือดตีบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไข่แดงและเนื้อแดงจะเอายังไงแน่…..กินแต่น้อยหรือกินไม่อั้น

ไข่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ มีทั้งโปรตีน วิตามิน เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโตและถือเป็นอาหารประจำชาติ ปัญหาโลกแตกที่ถกเถียงกันมาเนิ่นนาน คือ เรื่องไข่แดง จะเกิดโรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบหรือไม่ ถ้ากินมาก การศึกษาในวารสารของสมาคมแพทย์สหรัฐ ปี 1999 ติดตามผู้ชายจำนวน 37,851 ราย (อายุ 40-75 ปี) และผู้หญิง 80,082 ราย (34-59ปี) ไปเป็นเวลา 8-14 ปี

\"หมอธีระวัฒน์\" เผยข้อมูล คนที่ชอบกินไข่มาก ๆ ต้องอ่าน เสี่ยงเส้นเลือดตีบ

โดยแรกเริ่มไม่มีใครมีโรคประจำตัวทางหัวใจ เบาหวาน ไขมันสูงหรือมะเร็ง พบว่ามีผู้ชาย 1,124 และผู้หญิง 1,502 ราย เจ็บป่วยล้มตายด้วยโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ แต่ไม่มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับปริมาณไข่แดงที่บริโภค ยกเว้นแต่ในผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้นคนปกติที่ไม่มีโรคประจำก็สามารถกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง และเป็นที่มาของปิระมิดอาหารที่ไม่เคร่งครัดมากในเรื่องของการกินไข่ในคนปกติ

จนกระทั่งหลังๆมีบทความข้อเขียนต่างๆจากนักวิชาการบ้าง หมอ สมาคมโภชนาการสหรัฐในปี 2015 สนับสนุนให้กินไข่ได้วันละ 3-4 ฟอง โดยอ้างว่าในไข่แดงมีไขมันเสียไม่มาก และมีชนิดที่บำรุงเส้นเลือด และไม่มีโทษ แต่จะสนับสนุนอย่างไรต้องเข้าใจว่า ระดับไขมันคอเรสเตอรอลในเลือดไม่ได้ตรงไปตรงมาตามปริมาณไข่แดงที่กิน บางคนกินเยอะ ไขมันยังเฉยๆ แต่คนที่กินวันละ 2-3 ฟองต่อวัน ไขมันกระฉูด และกลับเป็นปกติเมื่อลดไข่

แต่ที่สำคัญมากกว่านั้น คือการที่ไข่แดงทำให้เส้นเลือดตีบโดยไม่ได้ผ่านกลไกของระดับไขมัน กล่าวคือไขมันไม่สูงก็ตายได้

การศึกษาที่น่าจะเป็นข้อควรระวังของคนวัยกลางคน ตั้งแต่ 45 เป็นต้นไป ที่แม้ไม่มีโรคประจำตัว ว่าการกินไข่แดง มีผลสัมพันธ์กับเส้นเลือดตีบ อยู่ในวารสารเส้นเลือดตีบ (Atherosclerosis 2012) จากศูนย์โรคเส้นเลือดสมอง Robarts Research Institute และ ศูนย์โภชนาการของแคนาดาโดยการวัดปริมาณ ตะกรันที่เกาะที่เส้นเลือดที่คอ

ซึ่งตามปกติคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปก็เริ่มจะมีเส้นเลือดตีบตามวัย แต่สำหรับคนที่บริโภคไข่เป็นประจำจะเร่งให้ตะกรันเกาะทำให้เส้นเลือดตีบ ในอัตราที่รวดเร็วเลวร้ายเทียบเป็นประมาณ 70% ของที่เกิดจากการสูบบุหรี่ โดยเห็นได้ชัดเจนถ้ากินไข่ตั้งแต่ 3 ฟองต่อสัปดาห์ขึ้นไป และในคนที่เป็นเบาหวานการบริโภคไข่วันละฟอง จะเพิ่มอัตราการเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบขึ้น 2-5 เท่า

ผลการศึกษาอีกประการที่น่าตกใจคือ ภาวะตะกรันหรือเส้นเลือดตีบจากการกินไข่ไม่มีความสัมพันธ์ชัดเจนกับระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ความดัน การสูบบุหรี่ อ้วนหรือไม่อ้วน

กลไกในการอธิบายเส้นเลือดตีบตันของไข่แดง จะเหมือนกับเนื้อแดง สเต็ก เนื้อบด เบอร์เกอร์ทั้งๆที่ ปริมาณไขมัน โคเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวในเนื้อก็ไม่ได้สูงมากนัก โดยเกิดจากเลซิติน (lecithin หรือ phosphatidylcholine) ในไข่แดง และแอล-คาร์นิทีน (L-carnitine) ในเนื้อ รายงานในวารสารเนเจอร์ (Nature Medicine 2013) พบว่า การกินเนื้อ แอล-คาร์นิทีนจะถูกเปลี่ยนโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ให้กลายเป็น trimethylamine-N-oxide (TMAO) โดยที่ TMAO จะเป็นตัวเร่งให้เกิดเส้นเลือดตัน ทั้งนี้ไม่เพียงแต่คาร์นิทีน อย่างเดียว การกินโคลีน (choline) และ เลซิตินมากไปจากไข่แดงหรืออาหารเสริมก็จะถูกย่อยให้เกิด trimethylamine (TMA) และในที่สุดก็จะกลายเป็น TMAO ตามมา (วารสาร Nature 2011) ชึ่งได้รับการพิสูจน์ล่าสุด ในวารสารนิวอิงแลนด์ 2013 ว่าสัมพันธ์กับเส้นเลือดตันในหัวใจเช่นกัน

ความเห็นในเว็บของข่าว BBC (2013) ไม่สนับสนุนการใช้อาหารเสริมที่มี แอล-คาร์นิที เลซิติน โคลีน และ betaine แต่ทั้งนี้ดังหลักฐานข้างต้นอาจยกเว้นคนที่เป็นมังสวิรัติที่ไม่มีจุลินทรีย์เลวที่จะเปลี่ยนให้เป็นสารพิษ

แอล-คาร์นิทีน เป็นสารประกอบแอมโมเนียม (quaternary ammonium) ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์ของกรดอะมิโนไลซีน (lysine) และเมไธโอนีน (methionine)

แอล-คาร์นิทีน มีบทบาทในการเคลื่อนกรดไขมัน จากการย่อยสลายไขมันภายในเซลล์เข้าสู่ตัวไมโทคอนเดรียเพื่อสร้างเป็นพลังงาน ในส่วนของการใช้ แอล-คาร์นิทีนเพื่อลดน้ำหนักยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจน แอล-คาร์นิทีน มีมากในเนื้อวัว (95 มก./100 กรัม) เนื้อบด (94 มก./100 กรัม) เนื้อหมู (27.7 มก./100 กรัม) เบคอน (23.3 มก./100 กรัม) ในขณะที่ปลา ไก่ ไอศกรีม และนมจะมีปริมาณต่ำกว่ามาก (3-5 มก./100 กรัม) พืช ผัก ไข่ ผลไม้ น้ำส้ม จะมีขนาดต่ำกว่า 0.2 มก./100 กรัม

ในการบริโภคอาหารประจำวันจะได้ แอล-คาร์นิทีน ในขนาด 20-200 มก.

แต่ในคนที่กินมังสวิรัติจะเหลือเพียง 1 มก./วัน นอกจากที่คนชอบกินผักจะได้ แอล-คาร์นิทีนน้อยกว่าแล้ว ยังพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของคนชอบกินผักจะเป็นชนิดที่ไม่เปลี่ยนแอล-คาร์นิทีนเป็นสารพิษ TMAO จากการตรวจผู้ป่วย 2595 คนที่ได้รับการประเมินสภาพทางหัวใจ พบว่าคนที่มีระดับแอล-คาร์นิทีน

ร่วมกับ TMAO สูงจะมีความเสี่ยงสูงของการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตัน อัมพฤกษ์ และเสียชีวิต เช่นเดียวกับผู้ป่วย 4007 คนจากการศึกษาในเรื่องของเลซิตินก็ได้ผลว่ามีเส้นเลือดตีบตันสูงเช่นกัน และยืนยันจากการทดลองในหนูโดยให้แอล-คาร์นิทีนไปนานๆจะ เกิดเส้นเลือดตีบมากขึ้น ทั้งนี้อธิบายจากการที่จุลินทรีย์ในลำไส้เปลี่ยนแอล-คาร์นิทีน รวมทั้งเลซิติน เกิด TMA และ TMAO

เพราะฉะนั้นการกินอาหารครบหมู่คละกันไปโดยเน้นผัก ผลไม้กากไย โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มไข่แดง เนื้อแดง หรืออาหารเสริมน่าจะเป็นบทสรุปที่ลงตัวที่สุด

ขอบคุณธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ข่าวเด่น

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง