ประกันสังคม "เรียกเงินเยียวยาโควิดคืนจากผู้ประกันตน" ใครต้องคืนบ้าง!
ประกันสังคม เรียกเงินคืนจากผู้ประกันตน ใครบ้างต้องคืนเงินเยียวยาประกันสังคมโควิดที่ได้รับไป หลังประกันสังคม
เรียกได้ว่าเป็นเรื่องราวที่สร้างความวุ่นวายอย่างมาก สำหรับผู้ประกันตนปรกันสังคม กรณี "ประกันสังคมเรียกเงินคืนจากผู้ประกันตน" หลังจากที่ บรรดาผู้ประกันตน ได้รับหนังสือจากสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ ให้คืนเงินเยียวยาประกันสังคมโควิดที่ได้รับไป โดยเฉพาะโครงการเยียวยาบรรเทาความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (ผู้ประกันตนมาตรา 40) หลังได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทต่อคนในช่วงที่โควิด 19 แพร่ระบาดนั้น
โดยมีประชาชนหลายรายที่ได้รับจดหมายเรียกเงินคืนจากประกันสังคม เช่น ผู้ประกันตนรายหนึ่งชาวสมุทรปราการ ที่ถูกเรียกเงินคืน 6,639 บาท และมีเอกสารมาถึงตั้งแต่ 16 มิถุนายน 2566 โดยที่เอกสารระบุว่า
"ท่านได้รับเงินเกินสิทธิ/ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเป็น 6,639 บาท เนื่องจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างก่อนมีสิทธิ์หรือได้รับเงินค่าจ้างจากนายจ้าง จึงขอให้คืนเงินดังกล่าวให้กับสำนักงานประกันสังคมภายใน 30 วัน หรืออีกรายที่เป็นผู้ประกันตน ม.40 และภรรยา ที่ถูกเรียกเงินคืนคนละ 5,000 รวม 2 คนเป็น 10,000 บาท"
เกี่ยวกับเรื่องนี้มีรายการว่า นางนิยดา เสนีย์มโนมัย โฆษกสำนักงานประกันสังคม ชี้แจงว่า การพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาให้ผู้ประกันตนต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุมัติเงินจากรัฐบาล ในส่วนของการเยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 40 มีเงื่อนไขสำคัญที่จะต้องพิจารณา ได้แก่
- สถานะความเป็นผู้ประกันตนในช่วงที่มีการอนุมัติโครงการ
- พื้นที่ที่ประกอบอาชีพหรือพักอาศัยอยู่ในขณะนั้น ต้องอยู่ในพื้นที่สีแดงตามประกาศของรัฐ ซึ่งมีการทยอยประกาศเป็นระลอก รวมทั้งสิ้น 29 จังหวัด
- การจ่ายเงินสมทบต้องอยู่ในช่วงระยะเวลาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ
สำนักงานประกันสังคมได้เร่งดำเนินการจ่ายเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกันตน แต่เนื่องจากเงื่อนไขการได้รับสิทธิที่ซับซ้อนดังกล่าว ประกอบกับจำนวนผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เพิ่มขึ้นจากจำนวน 3.6 ล้านคน เป็น 9.6 ล้านคน และในช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัคร ม.40 รายใหม่รับสิทธิเยียวยาได้ จึงจำเป็นต้องใช้ระบบ IT ในการประมวลผลตรวจสอบสิทธิ์ เพื่อโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารให้ผู้ประกันตนได้อย่างรวดเร็วบรรเทาความเดือดร้อนได้ทันการณ์
แต่เนื่องจากงบประมาณที่ใช้ดำเนินการมาจากโครงการเงินกู้ของรัฐบาล ดังนั้นเมื่อเสร็จสิ้นโครงการเยียวยา จะต้องตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการสอบทานข้อมูลการดำเนินงานโดยละเอียด พบว่าเงื่อนไขการเกิดสิทธิที่ซับซ้อนทำให้มีการจ่ายเงินเกินสิทธิให้กับผู้ประกันตน จึงจำเป็นต้องแจ้งผู้ประกันตนให้ดำเนินการส่งคืนเงินดังกล่าว
สำหรับคนที่ต้องจ่ายเงินคืน ประกันสังคมคือ
- ผู้ประกันตนที่ได้รับเงินเกินสิทธิ์/ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงิน โดยที่ผู้ประกันตนจะได้รับจดหมายชี้แจงจากประกันสังคม
- ผู้ประกันตนที่ได้รับเงินเกินสิทธิ์/ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงิน โดยที่ผู้ประกันตนจะได้รับจดหมายชี้แจงจากประกันสังคม
วิธีชำระเงินคืน ประกันสังคม
- ชำระคืนเป็นเงินสดที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครในพื้นที่ จังหวัด หรือสาขาทั่วประเทศ
- ชำระธนาณัติ สั่งจ่ายสำนักงานประกันสังคมจังหวุดสมุทรปราการ สาขาบางพลี พร้อมส่งหนังสือฉบับนี้ไปตามที่อยู่ข้างต้น
- ชำระคืนโดยโอนเข้าเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารกรุงไทย สาขาติวานนท์ 3 เลขที่บัญชี 130-6-04092-2 ชื่อบัญชี "สปส. เยียวยา ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่" โดยให้ชำระตรงกับจำนวนเงินที่แจ้ง จากนั้นส่งสลิปและหนังสือนี้ผ่านทางไลน์ของส่วนงานสิทธิประโยชน์
หากไม่คืนเงิน จะเป็นอย่างไร เรื่องนี้ทางสำนักงานประกันสังคมจะหักเงินคืนจากประโยชน์ทดแทนในครั้งที่ท่านยื่นขอรับหรือครั้งต่อไป ตามที่ท่านได้ลงชื่อให้ความยินยอมในแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน การไม่คืนเงินจะมีความผิดและรับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา หากท่านไม่เห็นด้วย สามารถอุทธรณ์หนังสือจ่อคณะกรรมการอุทธรณ์ใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
ไม่มีเงินคืนเป็นก้อน จะทำอย่างไร ซึ่งกรณีนี้ หากผู้ประกันตนไม่สามารถส่งคืนเงินได้ในคราวเดียวสามารถดำเนินการขอผ่อนชำระเป็นรายงวดได้ โดยขอให้ติดต่อสำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่รับผิดชอบต่อไป