ผุดไอเดียใหม่ "กำจัดปลาหมอคางดำ" แถมรายได้น่าจะดี

10 กรกฎาคม 2567

 "อ.เจษฎ์" รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ผุดไอเดีย อีกหนึ่งทางเลือกทางเลือกใหม่ "กำจัดปลาหมอคางดำ" แถมรายได้น่าจะดี

จากกรณี "ปลาหมอคางดำเอเลี่ยนสปีชีส์ ระบาดหนักส่งผลต่อระบบนิเวศทางน้ำ ทำให้หลายพื้นที่ผุดไอเดีย "กำจัดปลาหมอคางดำ" ขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด "อ.เจษฎ์" รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant เผยไอเดียใหม่ อีกหนึ่งทางเลือกใหม่กำจัดปลาเอเลี่ยน
 โดยระบุว่า 

 

 

พอเห็นข่าวการรณรงค์ "จับปลาหมอคางดำ" ก็นึกถึงปีก่อน ที่มีคนนำเอามาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ "น้ำปลา" ... ถ้าทำกันเยอะๆ น่าจะกำจัดปลาหมอคางดำไปได้เยอะเลยนะครับ รายได้น่าจะดีด้วย

ผุดไอเดียใหม่ กำจัดปลาหมอคางดำ แถมรายได้น่าจะดี

แต่เสียดายว่า ผู้พัฒนาเค้าไม่ได้ทำขายเยอะๆ เพราะต้องไปขอ อ.ย. ถ่าจะขยายการผลิตให้เป็นเรื่องเป็นราว แต่ก็พร้อมจะให้สูตรนะครับ

-------------------

(ข่าว) “น้ำปลาจากปลาหมอคางดำ” ทางเลือกใหม่กำจัดปลาเอเลี่ยน

‘จิตรกร บัวดี’ เกษตรกรชาวเพชรบุรี ก็ได้ไอเดียในการนำปลาหมอคางดำที่มีอยู่มากในพื้นที่แถบนั้น มาแปรรูปเป็น น้ำปลาจากปลาหมอคางดำ และเร่ขายอยู่บริเวณชุมชน แถมยังช่วยลดจำนวนของปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ชนิดนี้ลงอีกด้วย

ผุดไอเดียใหม่ กำจัดปลาหมอคางดำ แถมรายได้น่าจะดี

จิตรกร กล่าวว่า จุดเริ่มต้นในการน้ำปลาหมอคางดำมาทำเป็นน้ำปลา มีที่มาจากพ่อและแม่ ในอดีต พ่อและแม่ได้ทำน้ำปลาเพื่อรับประทานกันเองภายในครัวเรือนอยู่แล้ว

และเนื่องจากการผลิตน้ำปลาในสมัยก่อนเป็นระบบเปิด ทำให้ในขั้นตอนการผลิต จึงมีความยุ่งยากอยู่พอสมควรเช่น เรื่องกลิ่น หรือมีแมลงจำนวนมากที่มาบินว่อนอยู่แถวบริเวณที่ผลิตน้ำปลา เขาจึงยังไม่ได้สนใจที่จะผลิตน้ำปลาใช้เอง

แต่ด้วยจำนวนของปลาหมอคางดำ ที่สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว การเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ๆ ก็พลอยล้มเหลว อีกทั้งยังส่งผลกระทบในการประกอบอาชีพอีกด้วย จึงทำให้จิตรกรหันหน้าเข้าหาปลาหมอคางดำ ที่พบได้ทั่วไปในจังหวัดเพชรบุรี แล้วนำมาแปรรูปเป็นน้ำปลา

  ผุดไอเดียใหม่ \"กำจัดปลาหมอคางดำ\" แถมรายได้น่าจะดี

จิตรกร กล่าวว่า ในช่วงแรก ๆ ทำกินเองก่อนภายในครอบครัว จากนั้นก็ลองไปให้บ้านใกล้เรือนเคียงชิม ให้ญาติ ๆ ชิม และระหว่างนั้นก็คอยปรับสูตรไปเรื่อย ๆ ด้วยการหาสมดุลระหว่างด้วยการปรับปริมาณเกลือและปริมาณเนื้อปลา จนกว่าจะได้รสชาติที่ถูกใจ

แม้ปลาหมอคางดำจะมีภาพจำที่ไม่ดีนัก แต่หลังจากที่จิตรกร ได้นำปลาหมอคางดำไปผ่านกระบวนการต่าง ๆ และเข้ารับการตรวจสอบแล้ว จนกระทั่งกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์

ผลตอบรับที่ได้ ถือว่าเกินความคาดหมาย มีคนมาติดต่อขอซื้อไปลองชิม และรสชาติก็ไม่ได้แตกต่างจากน้ำปลาที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด ถึงกระนั้น ปลาชนิดนี้ ซึ่งเป็น ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ ก็ยังคงถูกมองในเชิงลบอยู่ ทำให้ยังไม่มีการบริโภคในวงกว้างเท่าไร

จิตรกร กล่าวว่า วิธีลดจำนวนของปลาหมอคางดำวิธีแรกก็คือ นำไปทำเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงปลากะพง เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปูทะเล หรือวิธีที่สองคือนำไปแปรรูปเป็นอาหารที่เรารู้จักเป็นอย่างดีก็คือ ปลาเค็ม หรือน้ำปลา

แต่ปัญหาก็คือ ยังไม่มีการขวนขวายที่มากพอ ที่จะไปล่าปลาหมอคางดำ เพื่อจะกำจัดก็ดี หรือเพื่อนำไปต่อยอดเป็นสิ่งอื่นก็ดี สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อชาวบ้านพบปลาชนิดนี้ในพื้นที่บ่อของตัวเอง ก็ปล่อยมันไปแพร่พันธุ์ไปตามธรรมชาติ ผลที่ตามมาทำให้ ระบบนิเวศบริเวณนั้นถูกปลาหมอคางดำทำลายไปหมด

ผุดไอเดียใหม่ \"กำจัดปลาหมอคางดำ\" แถมรายได้น่าจะดี

ปัจจุบันคุณ จิตรกร บัวดี ยังไม่ได้ตั้งใจที่ขยาย น้ำปลาจากปลาหมอคางดำ ให้เป็นอุตสาหกรรมมากขนาดนั้น เขาตั้งใจจะให้เป็นธุรกิจขนาดเล็ก และดำเนินธุรกิจนี้แบบค่อยเป็นค่อยไป

หากคนในท้องถิ่นสนใจจะผลิตน้ำปลาจากปลาหมอคางดำ เขาก็ยินดีให้ข้อมูล เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับชุมชนจากปลาหมอคางดำ หรือ ปลาเอเลี่ยนสปีชีส์ ที่ไม่เพียงกัดกร่อนระบบนิเวศ แต่ยังกัดกร่อนถึงสภาพทางเศรษฐกิจของคนในพื้นที่อีกด้วย

 
ขอบคุณ เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant