"หาดใหญ่วิทยาลัย" 2 คว้าแชมป์ Green Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืน
หาดใหญ่วิทยาลัย 2 คว้าแชมป์Green Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืน ชวนโหวตกันต่อกับผลงานทีมที่ชื่นชอบ ชิงรางวัลPopular Vote By GULF
สิ้นสุดลงแล้วกับการแข่งขันGreen Mission by Chula x GULF ภารกิจรักษ์ยั่งยืนโครงการสุดสร้างสรรค์ที่ชวน นักเรียนทั่วประเทศมาปลุกปั้นไอเดียเพื่อสิ่งแวดล้อม ในโจทย์ "Beware Your Step ก้าวต่อไปไร้รอยเท้า" ที่จัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (GULF)จากผู้สมัครกว่า670ทีมทั่วประเทศ เลือกเฟ้นเหลือ 20 ทีมที่ได้เข้าค่ายและแข่งขัน Hackathon อย่างเข้มข้น ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ จังหวัดสระบุรี
ก่อนเหลือเพียง 8 ทีมสุดท้ายที่ได้นำเสนอรอบชิงชนะเลิศ และทีมที่คว้ารางวัลชนะเลิศไปครองคือ ทีมจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จ.สงขลารับโล่และทุนการศึกษา 40,000 บาทจากโครงการ อาหารกุ้งจากผำ โปรตีนสูง คาร์บอนต่ำส่งเสริมเกษตรชุมชนอย่างยั่งยืน
ตลอดระยะเวลาของโครงการ น้อง ๆ ได้เรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าอุทัยของกลุ่มบริษัทกัลฟ์ รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมพลังงาน การเข้าร่วมค่ายBootcamp ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ อัดแน่นไปด้วยความรู้เน้น ๆ จากผู้เชี่ยวชาญคณะวิศวฯ จุฬาฯและพี่ๆ ทีม ‘กัลฟ์อาสา’ที่ให้คำแนะนำและดูแลน้องๆ ตลอดงาน
เริ่มด้วยเวิร์คช็อป Brainstorm เรื่อง Carbon Footprint และ Climate Change เพื่อฝึกการทำสื่อการสอน กิจกรรมการฝึกทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Critical Thinking) ผ่านการโต้วาทีในหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กิจกรรมฐานการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งหมด 5 ฐาน รวมไปถึงกิจกรรม The Magic of Mindset ที่จะช่วยให้เกิดแนวทางวางแผนชีวิตและการเรียน น้อง ๆ ได้ฝึกฝนการทำงานเป็นทีม
รวมถึงการนำเสนอผลงานอย่างมืออาชีพและปิดที่การแข่งขันHackathonคิดนวัตกรรมเร่งด่วนสุดเข้มข้นในโจทย์ ‘Beware Your Step, Step to the Future การพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน และเป็นกลางทางคาร์บอน’ก่อนคณะกรรมการจะคัดเลือก 8 ทีมสุดท้าย เพื่อนำเสนอผลงานรอบชิงชนะเลิศ (Final Pitching)
โดยมีเกณฑ์การให้คะแนนคือความถูกต้องทางวิชาการ (25%) ความเป็นไปได้ต่อการประยุกต์ใช้ (30%) ความโดดเด่นของแนวทางการพัฒนา (30%) และความน่าสนใจของการนำเสนอ (15%)
สำหรับรางวัลชนะเลิศ คือโครงการอาหารกุ้งจากผำ คาร์บอนต่ำ จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จ.สงขลา ที่ต้องการผลักดันอุตสาหกรรมกุ้งสงขลาให้ก้าวสู่ความยั่งยืนด้วยการใช้ผำ พืชน้ำจืดที่มีโปรตีนสูงและช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตอาหารกุ้งแทนปลาป่น ส่วนทีมโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม คว้ารองชนะเลิศอันดับ 1 ด้วยโครงการ การทำนาเปียกสลับแห้ง ชุมชนบ้านท่ามะปรางค์ นครราชสีมา สอดคล้องกับแนวคิด Local Low Carbon การทำนาที่ลดการใช้น้ำ ลดการปล่อยก๊าซมีเทน และลดการใช้สารเคมี และรองชนะเลิศอันดับที่ 2 คือ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา กับโครงการเก้าเส้งโมเดล ที่มุ่งพัฒนาชุมชนเก้าเส้ง ชุมชนประมงและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน
นอกจาก 3 ทีมชนะเลิศแล้ว ยังมีอีก 5 ทีมที่น่าสนใจ ได้แก่ได้แก่ โรงเรียนคณะราษฏร์บำรุง จ.ยะลา กับโครงการ Yala Durian Peal Applicationพัฒนาแอปพลิเคชั่นแปรรูปเปลือกทุเรียน ช่วยลดขยะและสอนคนในชุมชน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.มุกดาหาร กับการให้ชุมชนทำโรงงานผลิตอาหารโคขุนโพนยางคำ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพฯ กับโครงการEnergy Manager Model เพื่อผลักดันให้โรงเรียนเป็นต้นแบบ Green School โรงเรียนเซนต์โยเซฟ บางนา จ.สมุทรปราการ กับโครงการลด Co2 และน้ำเสียจากการฟอกหนังสัตว์ จ.สมุทรปราการด้วยวิธีการฟอกหนังแบบ Co2-intensified tanning ไม่ใช้น้ำ ไม่เกิดน้ำเสีย ลดการปล่อย Co2 และ โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จ.สมุทรสงคราม กับผลิตภัณฑ์โคโคชาร์กากมะพร้าวแปรรูป ลดการสร้าง Co2 และได้ถ่านที่ดูดซับ Co2 นำวัสดุชีวมวลที่อยู่ในชุมชนมาสร้างเป็นนวัตกรรม ทุกโครงการแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ ศักยภาพและความใส่ใจสิ่งแวดล้อมของเด็กไทย
แม้กิจกรรมจะจบลง แต่ความสนุกยังไม่จบ GULF ชวนโหวตกันต่อให้กับทีมที่มีไอเดียคอนเทนต์สุดสร้างสรรค์ ผ่านการกดไลก์ แชร์ และคอมเมนต์โพสต์ในFacebook Page Gulf Spark เพื่อชิงรางวัล Popular Vote By GULFได้โดยทีมที่ชนะจะได้รับทุนการศึกษา10,000 บาท โหวตได้เลยที่โพสต์ใน Facebook Page Gulf Sparkเริ่มโหวตได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 8 พฤศจิกายน เวลา 16.00 น.
ติดตามภาพกิจกรรม และข้อมูลข่าวสารของ GULF ได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ
GULF Spark: https://www.facebook.com/GULFSPARK.TH/ และ ช่องทาง Tiktok: https://www.tiktok.com/@GULFspark
- ข้อมูลเพิ่มเติม: โครงการของทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ และรองชนะเลิศ 2 อันดับ
ทีมชนะเลิศ: โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 จ.สงขลา
โครงการ: อาหารกุ้งจากผำ คาร์บอนต่ำ
ผลักดันอุตสาหกรรมกุ้งสงขลาให้ก้าวสู่ความยั่งยืน ด้วยโครงการอาหารกุ้งจากผำ คาร์บอนต่ำ จากวิกฤตราคาตกต่ำของกุ้งสงขลาที่กินเวลายาวนานถึง 6 เดือน ทำให้เกษตรกรเดือดร้อน สาเหตุหลักมาจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะวัตถุดิบหลักอย่างปลาป่นที่มีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆทีมนักเรียนมองเห็นโอกาสในการใช้ "ผำ" ซึ่งเป็นพืชน้ำจืดที่มีโปรตีนสูงและช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
มาเป็นส่วนผสมหลักในการผลิตอาหารกุ้งแทนปลาป่น โดยโปรตีนทดแทนอย่างผำ ไฟเบอร์สูง โปรตีนสูง เป็นอาหารกุ้งขาวคาร์บอนต่ำ 1,000 บาท/กระสอบ นอกจากนี้ผำเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขยายพันธุ์เร็ว และช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้การผลิตกุ้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้ยังทำ Breakeven Analysis (การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน) ที่เป็นประโยชน์ต่อมุมนักลงทุนอีกด้วย
รองชนะเลิศอันดับ 1: โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม
โครงการ: การทำนาเปียกสลับแห้ง ชุมชนบ้านท่ามะปรางค์ นครราชสีมา
พัฒนาชุมชนบ้านท่ามะปรางค์ จังหวัดนครราชสีมา ให้มีความยั่งยืนยิ่งขึ้น ด้วยโครงการ "การทำนาเปียกสลับแห้ง" ที่สอดคล้องกับแนวคิด Local Low Carbonโดยชุมชนบ้านมีโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ต้องการปรับปรุงระบบการทำนาให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นอยู่แล้ว
จึงนำเสนอแนวคิดการทำนาเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นวิธีการทำนาที่ช่วยลดการใช้น้ำ ลดการปล่อยก๊าซมีเทน และลดการใช้สารเคมีลงอย่างมาก ทำให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับการทำนาแบบเดิม รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน นอกจากนี้ยังเสนอนำฟางข้าวที่เหลือจากการทำนาไปแปรรูปเป็นบรรจุภัณฑ์ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ชุมชนและส่งเสริมการท่องเที่ยว น้องๆ มองว่าการทำนาเปียกสลับแห้ง จะทำให้ชุมชนบ้านท่ามะปรางค์เป็นต้นแบบชุมชนเกษตรกรรมที่ยั่งยืน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
รองชนะเลิศอันดับที่2: โรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา
โครงการ: เก้าเส้งโมเดล
พัฒนาชุมชนเก้าเส้ง ซึ่งเป็นชุมชนประมงและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดสงขลา โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันชุมชนเก้าเส้งเผชิญกับปัญหาขยะมูลฝอย น้ำเสีย และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่เหมาะสม ทีมจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา จึงนำเสนอแนวคิด "เก้าเส้งโมเดล" ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร
โดยเน้นการนำทรัพยากรที่มีอยู่ภายในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นการจัดการขยะนำผักตบชวามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ผ้าทอ กำไลข้อมือ และจัดตั้งระบบการคัดแยกขยะมูลฝอย การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลด้วยผลิตอุปกรณ์ประมงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เอ็นเบ็ดตกปลา และอวนตกปลาที่ทำจากวัสดุธรรมชาติเปลี่ยนเรือประมงให้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ การปลูกดาวเรืองเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และสร้างรายได้เสริมให้กับชาวชุมชน และปรับปรุงการจัดวางตลาดเพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดเก้าเส้งโมเดล เป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนาชุมชนให้มีความยั่งยืน และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนอื่นๆ ได้
ภาพกิจกรรม
- กิจกรรมศึกษาดูงานที่โรงไฟฟ้าอุทัย ของกลุ่มบริษัทกัลฟ์
ฐานกิจกรรม Virtual Cycling โดยกลุ่มบริษัทกัลฟ์
ตัวแทนพนักงานกัลฟ์ให้ความรู้น้องๆ เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate change) ก๊าซเรือนกระจก และการเปลี่ยนผ่านพลังงาน
บรรยากาศBootcamp และการแข่งขัน Hackathon
ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
บรรยากาศรอบ Final Pitching