ข่าว

heading-ข่าว

เศร้า "กันยา" ลูกช้างป่าพลัดหลง กลับดาวช้าง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยแล้ว

06 พ.ย. 2567 | 11:22 น.
เศร้า "กันยา" ลูกช้างป่าพลัดหลง กลับดาวช้าง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยแล้ว

"พังกันยา" ลูกช้างป่าพลัดหลงจาก จ.บึงกาฬ ล้มแล้ว หลังป่วย EEHV ทีมสัตวแพทย์ รพ.ช้างลำปาง และควาญพี่เลี้ยงระดมกำลังรักษาอย่างเต็มที่ ไม่เจ็บ ไม่ป่วยแล้ว

  วันที่ 6 พ.ย. 2567  "กันยา" ลูกช้างป่าพลัดหลง กลับดาวช้าง จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC ได้โพสต์แจ้งข่าวเศร้า ลูกช้างป่าพลัดหลง "พังกันยา" ล้มแล้ว เมื่อเวลา 23.31 น. ของวันที่ 5 พ.ย. 2567 หลังเข้ารับการรักษาอาการป่วยด้วยไวรัส EEHV หรือ โรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง เมื่อวันที่ 4 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยทางเพจได้ระบุว่า

 

เศร้า \"กันยา\" ลูกช้างป่าพลัดหลง กลับดาวช้าง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยแล้ว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  "5 พฤศจิกายน 2567 - 23.31 น. ขอให้ได้ไปวิ่งเล่นอย่างมีความสุขบนดาวช้าง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยแล้วนะ เด็กหญิงกันยา"


โดย น้องกันยา ล้มลง เมื่อกลางดึกของคืนที่ผ่านมา หลังถูกส่งตัวไปรักษาอาการป่วย EEHV หรือ โรคเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้าง ซึ่งถือเป็นโรคไวรัสที่มีความอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตในกลุ่มช้างอายุน้อยหรือลูกช้าง ที่โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา

 

หลังเมื่อวานทางโรงพยาบาลแจ้งว่า "พังกันยา" มีอาการของโรคไวรัส EEHV ชัดขึ้น คือ หน้าบวมมากขึ้น และพบจุดเลือดออกที่ลิ้น มีอาการซึมลง กินได้น้อยลง ไม่มีไข้ อึเป็นเมือกค่อนข้างเหลวและมีกลิ่นเหม็น ฉี่ได้ 1 ครั้ง หลังจากที่ไม่พบฉี่เลยตั้งแต่มาแอดมิด ทางคุณหมอจึงพิจารณาให้เพิ่มการรักษาโดยใช้สเต็มเซลล์ โดยจะเป็นการรักษาทางเลือกเพิ่มเติมจากการรักษาหลัก ซึ่งสเต็มเซลล์ 100 ล้านยูนิต จะถูกส่งจากกรุงเทพฯ ไปลำปาง ช่วงกลางดึกที่ผานมา ซึ่งคุณหมอมีกำหนดจะเริ่มฉีดให้ "พังกันยา" ในวันนี้ (6 พ.ย.67) แต่ได้เกิดเรื่องเศร้า "พังกันยา" ล้มลงก่อนที่สเต็มเซลล์จะมาถึง

เศร้า \"กันยา\" ลูกช้างป่าพลัดหลง กลับดาวช้าง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยแล้ว

 ในขณะเดียวกัน เพจเฟซบุ๊ก ร่มแดนช้าง Tusker Shelter ระบุว่า "ทำเต็มที่ที่สุดแล้ว พร้อมขอบคุณสถาบันคชบาลแห่งชาติที่ให้การดูแลและให้คำแนะนำในการอนุบาลเลี้ยงดูช้างน้อยกันยา จนถึงวันที่ลูกช้างมีอาการป่วย ทางโรงพยาบาลช้างได้ให้การรักษาอย่างเต็มที่"

ด้าน กัญจนา ศิลปอาชา ซึ่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการรักษาด้วยสเต็มเซลล์ ได้โพสต์ข้อความว่า "น้องกันยาได้พักแล้วนะคะ น้องสู้ที่สุด ขอหนูสู่ภพที่สูงนะลูก" 

"ขอบคุณทุกคน ทุกฝ่าย ที่ช่วยดูแลเลี้ยงดูน้องกันยา ตั้งแต่วันแรกที่พบเจอน้อง จนถึงวันสุดท้ายของชีวิตน้อง ทุกคนทำดีที่สุดแล้ว เพราะน้องมีควาญอยู่ใกล้ชิด จึงสังเกตเห็นอาการโดยเร็ว และรีบบริหารจัดการช่วยเหลือน้อง แต่น้องมีต้นทุนมาน้อยกว่าคนอื่นเขาถึงจะช่วยกันเต็มที่อย่างไร น้องก็ไม่ไหวค่ะ ตลอดชีวิตน้องที่อยู่ที่ภัทรฟาร์ม ทุกคนก็เห็นแล้วว่าน้องมีครอบครัวที่อบอุ่น ทั้งครอบครัวมนุษย์และครอบครัวช้าง น้องได้ใช้ชีวิตที่มีความสุข เห็นคลิปที่น้องเอางวงกอดแขนพ่อขลุ่ย ในวันสุดท้าย มีการพยักหน้าที่บวม เหมือนน้องจะรู้ตัวว่า จะต้องไปแล้ว ด้วยพลังบวกของทุกคน และพฤติกรรมดีที่น้องทำมาตลอดแม้จะไม่รู้ตัว ส่งน้องสู่ภพภูมิที่งดงามแน่นอนค่ะ"


สำหรับ "น้องกันยา" ลูกช้างป่าพลัดหลงมาเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2567 และได้รับการช่วยเหลือจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ และถูกนำมาเลี้ยงกับช้างแม่รับ "พังโมลา"  ที่ Patara Elephant Farm อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ด้วยความน่ารัแสนรู้ของน้องกันยา ทำให้เป็นหนึ่งในซุปตาร์สัตว์ขวัญใจคนรักช้างทั่วโลก จนได้รับฉายาว่า “ลูกสาวแห่งชาติ”


สำหรับ โรคเฮอร์ปีส์ไวรัส (EEHV) ในช้าง เป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาเป็นการประคับประคองตามอาการ โดยเฉพาะช้างเล็ก 6 เชือกอายุ 2-3 ปี เพราะถือเป็นช่วงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมีความเสี่ยงสูงจะติดเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัส ซึ่งช้างที่ติดเชื้อจะมีอาการรุนแรงจากเชื้อที่ทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้ของเหลวออกนอกเส้นเลือด ระบบอวัยวะภายในเสียหาย และจะล้มอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน

  เศร้า \"กันยา\" ลูกช้างป่าพลัดหลง กลับดาวช้าง ไม่เจ็บ ไม่ป่วยแล้ว

ทำไม EEHV ถึงอันตรายต่อลูกช้าง?

  • ความรุนแรงของโรค โรคนี้มีอาการรุนแรงและพัฒนาเร็วมาก ภายใน 1-2 วัน ลูกช้างที่ติดเชื้ออาจเสียชีวิตได้
  • อัตราการเสียชีวิตสูง สถิติพบว่าลูกช้างที่ติดเชื้อ EEHV มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60-70%
  • ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค EEHV ที่มีประสิทธิภาพ
  • ยากต่อการรักษา การรักษาโรคนี้เป็นการรักษาตามอาการ เน้นการดูแลประคับประคอง และให้ยาต้านไวรัส

อาการของโรค EEHV

  • ซึมลง
  • ไม่อยากอาหาร
  • อุณหภูมิร่างกายสูง
  • มีเลือดออกตามไรฟัน เหงือก หรืออวัยวะภายใน
  • ท้องเสีย
  • ปัสสาวะสีเข้ม

กลุ่มเสี่ยง

  • ลูกช้างอายุต่ำกว่า 5 ปี ลูกช้างในช่วงอายุนี้มีระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง
  • ช้างที่อยู่ในสภาพเครียด เช่น ถูกขังหรือถูกแยกจากฝูง จะมีภูมิคุ้มกันต่ำลง และเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร