เปิดภารกิจส่งตัวหนูน้อย 14 วัน ป่วยระยะวิกฤต จากขอนแก่นถึงมือหมอที่กทม.
เปิดภารกิจช่วยเหลือหนูน้อยวัย 14 วัน ป่วยระยะวิกฤต จากขอนแก่น จนถึงจุดหมายสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
วันที่ 6 พ.ย.2567 เวลา 04.00 น. เปิดภารกิจส่งตัวทารก 14 วัน ป่วยระยะวิกฤต โดยประมาณ โรงพยาบาลขอนแก่น ได้นําส่งผู้ป่วยเพื่อท่าการรักษาต่อ ณ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรุงเทพฯ ผู้ป่วยคือทารกแรกเกิดระยะวิกฤตอายุ 14 วัน นําหนัก 3,300 กรัม ใส่ท่อช่วยหายใจ
ซึ่งมีภาวะหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจสลับขั้วร่วมกับมีภาวะทางเดินหายใจตีบแคบ ทําให้ผู้ป่วยมีอาการเขียวฉับพลันเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลขอนแก่นเลยได้รีบดำเนินการ นำตัวส่งโรงพยาบาล และใช้ถนนเส้นทางกลางเมืองขอนแก่น-ถนนมิตรภาพนครราชสีมา-ถนนพหลโยธิน-สระบุรี-อําเภอวังน้อยพระนครศรีอยุธยา-ขึ้นทางด่วน-ด่านบางปะอิน-ทางพิเศษ-อุดรรัถยา-ทางพิเศษศรีรัช-ด่านประชาชื่น-ลงด่วนพหลโยธิน2-อนุสาวรีย์ชัยฯ- ที่หมายสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี"
และส่งตัวทารกอายุ 14 วันผู้ป่วยระยะวิกฤต ถึงจุดหมายสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเป็นที่เรียบร้อย เมื่อเวลา ประมาณ 09.00น.
คุณนายพ่อชาญยุทธ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ต้อง ขอบคุณ เจ้าหน้าที่ทางหลวง ที่อำนวยความสะดวกตลอดทุกเส้นทาง และเจ้าหน้าที่พยาบาลของโรง พยาบาลขอนแก่นจนถึงโรงพยาบาลเด็กด้วยนะครับ คือน้อง มีหลอดเลือด หัวใจสลับขั้วบวกกับทางเดินหายใจตีบ
"ตอนนี้มาถึงมือคุณหมอแล้วก็รู้สึกโล่งใจครับแต่ก็ยังเป็นห่วงวันนี้ผมมาคนเดียวครับมากับลูก ยังไงแล้วต้องกราบขอบพระคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านด้วยนะครับที่ช่วยเหลือผมนำลูกผมมาส่งถึงที่หมายอย่างปลอดภัย"
รู้จักภาวะหลอดเลือด หัวใจสลับขั้วบวกกับทางเดินหายใจตีบ ซึ่งสองระบบ เป็นระบบสำคัญของร่างกาย
หลอดเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the great arteries - TGA) เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดของหัวใจที่หลอดเลือดแดงใหญ่ (aorta) ซึ่งปกติจะนำเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงร่างกาย กลับเชื่อมต่อกับห้องหัวใจขวา และหลอดเลือดปอด (pulmonary artery) ซึ่งปกติจะนำเลือดไปปอด กลับเชื่อมต่อกับห้องหัวใจซ้าย ทำให้เลือดแดงและเลือดดำไม่ผสมกัน และร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ
ทางเดินหายใจตีบ เป็นภาวะที่หลอดลมหรือท่อลมในปอดตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนของอากาศเข้าออกปอดลดลง ส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ