เปิดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่งปี 2568 ยังไงก็ไปรอด
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดโผ 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง และธุรกิจดาวร่วง ปี 2568 เช็กลิสต์กันว่า กิจการไหนรอด - ใครต้องลุ้น
จากสภาพเศรษกิฐตอนนี้ดูเหมือนว่าการลงทุนทำธุรกิจต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้านั้นมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในแต่ละปีจึงได้เห็นเทรนด์ธุรกิจน่าสนใจเกิดขึ้นมาใหม่มากมาย ในขณะที่ธุรกิจดั้งเดิมบางประเภทกลับต้องปิดตัวลงไปตามวัฏจักร
ขณะที่ธุรกิจในปี 2568 จะเป็นยังไงนั้น ล่าสุด ทางศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลจัดอันดับ 10 ธุรกิจดาวรุ่ง และ 10 อันดับธุรกิจดาวร่วงประจำปี 2568 ซึ่งเราสามารถนำไปใช้วางแผนในการเลือกทำธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตต่อได้ในอนาคต
10 อับดับธุรกิจดาวรุ่ง มีแววปัง หาเงินเข้าไม่หยุด
- อันดับ 1
- ธุรกิจการแพทย์และความงาม เป็นผลมาจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อีกทั้งได้รับอานิสงส์จากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพของไทย
- ธุรกิจ Cloud Service โดยในอนาคตจะมีการใช้เทคโนโลยี AI และ IoT (Internet of Things) มากขึ้น
- ธุรกิจบริการ Cyber Security เนื่องจากเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การโจรกรรมข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- อันดับ 2
- ธุรกิจ Social Media และ Online Entertainment ซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว
- ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์, ธุรกิจ YouTube, การรีวิวสินค้า และ Influencer เนื่องจากคนใช้สื่อดิจิทัลกันมากขึ้น
- อันดับ 3
- ธุรกิจ E-commerce (ธุรกิจที่ทำการซื้อ-ขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์)
- ธุรกิจ Soft Power ไทย โดยเฉพาะซีรีส์ ภาพยนตร์ ที่ภาครัฐกำลังผลักดันให้เกิดกระแสความนิยมของวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ
- ธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์ เป็นสื่อที่มีต้นทุนการผลิตต่ำ แต่สามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง
- อันดับ 4
- งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจ Event จากแคมเปญ "Amazing Thailand Grand Tourism Year 2025" ของภาครัฐที่ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว
- ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากการจัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ
- อันดับ 5
- ธุรกิจความเชื่อ (สายมู หมอดู ฮวงจุ้ย) เป็นที่พึ่งทางใจ ตามมาด้วยวิวัฒนาการใหม่ ๆ ของบริการ เช่น วอลเปเปอร์มือถือรูปสิ่งศักดิ์สิทธิ์, เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของวัตถุมงคล เป็นต้น
- ธุรกิจเงินด่วน โรงรับจำนำ เป็นผลจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น
- ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต จากการเข้าสู่สังคมผู้อายุ
- อันดับ 6
- ธุรกิจการให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม เช่น แม่บ้านรายวัน การซ่อมแซมอุปกรณ์ เป็นต้น ตอบโจทย์คนในสังคมที่มีความเร่งรีบ ต้องการประหยัดเวลา
- ธุรกิจผับ บาร์ คาราโอเกะ เป็นผลมาจากได้รับการผ่อนปรนกฎระเบียบจากภาครัฐ
- อันดับ 7
- คลินิกกายภาพ เติบโตขึ้นจากปัญหาออฟฟิศซินโดรมของคนวัยทำงาน
- ธุรกิจให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้า (ธุรกิจ EV Charging Station) และติดตั้งระบบ เนื่องจากคนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น เพื่อประหยัดพลังงาน
- ธุรกิจรถยนต์ EV ค่ายรถ EV ต่างแข่งขันด้านราคา ทำให้รถมีราคาถูกลง
- ธุรกิจสัตว์เลี้ยง ขายอาหาร อุปกรณ์และแฟชั่น และดูแลสัตว์ เกิดขึ้นจากเทรนด์การเลี้ยงสัตว์เป็นสมาชิกในครอบครัว (Pet Humanization) ขยายตัวสูงขึ้น
- อันดับ 8
- ธุรกิจด้านการเงินธนาคาร Fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี จากการใช้จ่ายผ่านการทำธุรกรรมออนไลน์
- ธุรกิจตู้หยอดเหรียญเครื่องดื่ม อาหาร และธุรกิจเครื่องสะดวกซัก เป็นระบบที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนได้ สามารถเปิดบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ซึ่งภาครัฐเดินหน้ากระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
- อันดับ 9
- ธุรกิจโทรคมนาคมสื่อสาร เช่น ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือสัญญาณสื่อสารต่าง ๆ เติบโตขึ้นตามความต้องการการใช้งานของคนไทย
- ธุรกิจโลจิสติกส์ (Delivery) และคลังสินค้า จากพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ รวมถึงการสั่งอาหาร, รับ-ส่งเอกสารที่มีความต้องการใช้บริการเพิ่มขึ้น
- ทนายความและตรวจสอบบัญชี โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจระหว่างประเทศ การลงทุน และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งการให้คำปรึกษากฎหมายต่าง ๆ
- ธุรกิจ Street Food และตลาดนัดกลางคืน ได้รับปัจจัยหนุนจากกระแส Soft Power ในด้านอาหาร อีกทั้งการมีรีวิวจาก Influencer ทำให้คนออกไปท่องเที่ยวตาม
- อันดับ 10
- ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (ที่ไม่มีแอลกอฮอล์) มาตามเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มใหม่ ๆ เช่น Plant based, เครื่องดื่ม Functional Drink รวมถึงการออกไปรับประทานอาหารตามรีวิว
- ธุรกิจพลังงานทดแทน เช่น โซลาร์เซลล์ เพื่อทดแทนพลังงานทั้งก๊าซและน้ำมันที่ราคาค่อนข้างผันผวน
- โรงพยาบาล คลินิกเกี่ยวกับสัตว์ เป็นผลมาจากคนโสดและผู้สูงอายุเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น จึงมีความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
ส่วน 10 อันดับธุรกิจดาวร่วง มีดังนี้
- อันดับ 1
- ธุรกิจจำหน่ายและให้เช่า CD และ VDO
- อันดับ 2
- ธุรกิจสิ่งพิมพ์ที่ไม่มีแพลตฟอร์มออนไลน์
- อันดับ 3
- ธุรกิจผลิต-จำหน่ายที่เก็บข้อมูล เช่น Thumb Drive
- อันดับ 4
- บริการส่งหนังสือพิมพ์
- อันดับ 5
- ธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- อันดับ 6
- ธุรกิจถ่ายเอกสาร
- อันดับ 7
- ธุรกิจผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบดั้งเดิมที่ไม่มีการดีไซน์ใหม่
- อันดับ 8
- ธุรกิจรถยนต์มือสอง
- อันดับ 9
- ธุรกิจร้านขายเครื่องเล่นเกม
- อันดับ 10
- ธุรกิจผลิตกระดาษ
- ธุรกิจร้านโชห่วย
อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2567 จะพบว่ามีธุรกิจดาวรุ่งในปี 2567 ที่ไม่ติด 10 อันดับแรกของปี 2568 อยู่หลายประเภท ได้แก่ ธุรกิจ E-Sports เกม, ธุรกิจตลาดเพื่อการท่องเที่ยว, ธุรกิจยานยนต์ และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม ในปี 2568 ยังมีธุรกิจใหม่ๆ ติดอันดับเข้ามาแทน เช่น ธุรกิจการให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม , ธุรกิจให้บริการสถานีชาร์จรถไฟฟ้า , คลินิกกายภาพ , โรงพยาบาล คลินิกรักษาสัตว์ เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง คาดว่าเพื่อตอบโต้กับไลฟ์สไตล์ของผู้คน
ข้อมูลจาก ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย