ข่าว

heading-ข่าว

สายดิบกินแซ่บระวัง ไข้หูดับ 4 จังหวัดอีสาน ป่วยพุ่งเกือบ 2 ร้อย ดับแล้ว 22 ราย

15 ม.ค. 2568 | 16:53 น.
สายดิบกินแซ่บระวัง ไข้หูดับ 4 จังหวัดอีสาน ป่วยพุ่งเกือบ 2 ร้อย ดับแล้ว 22 ราย

สายดิบกินแซ่บระวัง ไข้หูดับ 4 จังหวัดอีสาน ป่วยพุ่งเกือบ 2 ร้อย ดับแล้ว 22 ราย เตือนไม่ทานหมูสุก ๆ ดิบ ๆ หมูป่วย หรือหมูตายจากโรค

การทานอาหารดิบโดยเฉพาะอาหารที่ทำจากหมูดิบ เช่น ลาบดิบ ก้อยหมู หรือเลือดหมูนั้นมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หูดับ ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ร้ายแรง เสี่ยงหูหนวกถาวร ถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเมื่อไม่นานมานี้ นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้หูดับ ใน 4 จังหวัดอีสานตอนล่าง ในเขตสุขภาพที่ 9 ว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึง 2 มกราคม 2568 เขตสุขภาพที่ 9 พบผู้ป่วย โรคไข้หูดับมากถึง 197 ราย และมีผู้เสียชีวิตถึง 22 ราย 

สายดิบกินแซ่บระวัง ไข้หูดับ 4 จังหวัดอีสาน ป่วยพุ่งเกือบ 2 ร้อย ดับแล้ว 22 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เมื่อแยกเป็นรายจังหวัด พบว่า ยอดผู้ป่วยโรคไข้หูดับมากที่สุดในพื้นที่อีสานตอนล่าง ช่วงปี 2567 มีดังนี้ 

  • จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วย 120 ราย เสียชีวิต 10 ราย 
  • จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 37 ราย เสียชีวิต 7 ราย
  • จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 24 ราย เสียชีวิต 3 ราย 
  • จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 16 ราย เสียชีวิต 2 ราย 

 

โดยกลุ่มอายุที่ป่วยสูงสุดคือ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 55-64 ปี และกลุ่มอายุ 45-54 ปี ตามลำดับ ซึ่งจากการประเมินความเสี่ยงอย่างรวดเร็วในเขตสุขภาพที่ 9 พบว่า ยอดผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคไข้หูดับในปี 2567 เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปี 2566 และมีความเสี่ยงอยู่ในระดับที่สูง ควรกิน “สุก ร้อน สะอาด” ไม่กินหมูดิบ ให้กินหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น และความเชื่อที่ว่า บีบมะนาว หรือดื่มสุรา ร่วมกับการกินหมูดิบ หรือหมูสุกๆ ดิบๆ จะทำให้หมูสุก ก็เป็นความเชื่อที่ผิด 

สายดิบกินแซ่บระวัง ไข้หูดับ 4 จังหวัดอีสาน ป่วยพุ่งเกือบ 2 ร้อย ดับแล้ว 22 ราย

ซึ่งข้อมูลรายงานจากโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาดปี 2561–2565 พบจังหวัดนครราชสีมา มีผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีก 3 จังหวัด คือ จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ และ จ.ชัยภูมิ ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต แต่เมื่อเข้าปี 2566 กลับพบว่า จำนวนผู้ป่วยสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง โดย 4 จังหวัดในเขตสุขภาพที่ 9 มีรายงานผู้เสียชีวิต 10 ราย ซึ่งเป็นจำนวนสูงที่สุดในรอบ 5 ปีย้อนหลัง  ในขณะที่ปี 2567 ที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยกลับเพิ่มสูงขึ้นกว่า ปี 2566 และผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ดังนั้น จะต้องเร่งดำเนินการจัดการความเสี่ยงอย่างเข้มข้นใน จ.นครราชสีมา และเฝ้าระวังการเกิดโรคไข้หูดับใน 3 จังหวัดที่เหลือ โดยจำเป็นต้องทำงานแบบบูรณาการกับหลายหน่วยงาน เข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาตามแนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” จึงจะสามารถยุติปัญหาได้อย่างแท้จริง 
 

โดยทางเพจ Anti-Fake News Center Thailand ได้ออกมาโพสต์เตือนว่า 

 ไข้หูดับ อันตรายจากการกินหมูดิบ
 
เตือนประชาชนที่กินเลี้ยงหรือทำอาหารกินเองในครอบครัว ขอให้หลีกเลี่ยงการกินหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เสี่ยงป่วยด้วยโรคไข้หูดับ และอาจทำให้หูหนวกถาวรหรือเสียชีวิตได้ สำหรับวิธีการป้องกัน คือ 
 
- ไม่ทานหมูสุก ๆ ดิบ ๆ หมูป่วย หรือหมูตายจากโรค
- ผู้ที่มีบาดแผลที่ต้องทำงานกับหมูโดยตรง ควรปิดแปลและสวมถุงมือ
- เลือกเนื้อหมูที่ได้มาตรฐาน ไม่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ และช้ำ
- ปรุงให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป นาน 10 นาที หรือจนกว่าเนื้อหมูไม่มีสีแดง

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ 5 วิธีป้องกันโรคไข้หูดับ

1.ไม่รับประทานเนื้อหมู รวมทั้งเครื่องในหมู ดิบ หรือปรุงสุกๆดิบๆ
2.เลือกบริโภคเนื้อหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน ไม่รับประทานหมูที่ป่วย หรือ หมูที่ตายจากโรค
3.ควรแยกภาชนะและอุปกรณ์สำหรับอาหารดิบและสุกออกจากกัน เช่น เขียง จาน ตะเกียบ ช้อน ส้อม เป็นต้น  รวมทั้งไม่ควรใช้เขียงที่หั่นเนื้อหมูดิบ ในการหั่นผักที่ใช้ทานสดๆ เนื่องจากอาจปนเปื้อนเชื้อดังกล่าว
4.ผู้ที่เลี้ยงหมู ผู้ที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ สัตวบาล สัตวแพทย์ ควรใส่เสื้อผ้าปกปิดมิดชิด ใส่รองเท้าและถุงมือทุกครั้งเมื่อเข้าไปทำงานที่สัมผัสกับหมูหรือเนื้อหมู หลีกเลี่ยงการจับหมูที่ตายด้วยมือเปล่า และล้างมือทุกครั้งหลังการสัมผัส หากมีบาดแผลต้องปิดแผลให้มิดชิด เพื่อป้องกันการสัมผัสโรคจากหมูที่ป่วย
5.ผู้ที่จำหน่าย ควรรับเนื้อหมูมาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน เก็บเนื้อหมูที่จะขายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10°C และทำความสะอาดแผงด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทุกวันหลังเลิกขาย

สายดิบกินแซ่บระวัง ไข้หูดับ 4 จังหวัดอีสาน ป่วยพุ่งเกือบ 2 ร้อย ดับแล้ว 22 ราย

หากประชาชนมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง เวียนศีรษะจนทรงตัวไม่ได้ อาเจียน คอแข็ง หูหนวก ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังรับประทานเนื้อหมู รวมทั้งเครื่องในหมู ดิบ หรือ ปรุงสุกๆดิบๆ หรือหลังสัมผัสหมูที่ป่วย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการรับประทานอาหาร หรือการสัมผัสให้แพทย์ทราบ เพื่อรับการตรวจรักษาที่ถูกต้อง และรวดเร็ว จะช่วยลดอัตราการสูญเสียการได้ยินถาวร และลดการเสียชีวิตได้


 
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่