ข่าว

heading-ข่าว

เจ้าสัวธนินท์ หนุน ท่องเที่ยว-เกษตร-พลังงานสะอาด ดันไทยสู่อนาคตที่มั่นคง

04 ก.พ. 2568 | 17:18 น.
เจ้าสัวธนินท์ หนุน ท่องเที่ยว-เกษตร-พลังงานสะอาด ดันไทยสู่อนาคตที่มั่นคง

"ธนินท์ เจียรวนนท์" ประธานอาวุโสเครือซีพี หนุน 3 ฉากทัศน์การท่องเที่ยว–การเกษตร-พลังงานสะอาดดันไทยสู่อนาคตที่มั่นคง

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเติบโตไร้ขีดจำกัด "Future Thailand: Next Growth" ในงานChula Thailand Presidents Summit 2025 ถือเป็นคร้้งแรกของการรวมตัวสุดยอดผู้นำระดับประเทศมาแชร์มุมมองเพื่ออนาคตประเทศไทย

เจ้าสัวธนินท์ หนุน ท่องเที่ยว-เกษตร-พลังงานสะอาด ดันไทยสู่อนาคตที่มั่นคง

โดยมี นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมศาสตราจารย์(พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ พร้อมทั้งผู้บริหารจากภาครัฐ และภาคธุรกิจชั้นนำอาทิ ศ.ดร.พรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการ ก.ล.ต.  นายสารัชถ์ รัตนาวดี CEO กัลฟ์และประธานบริหาร AIS  รวมไปถึงคณาจารย์ศิษย์เก่าและนิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมฟังวิสัยทัศน์กันอย่างคับคั่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เจ้าสัวธนินท์ หนุน ท่องเที่ยว-เกษตร-พลังงานสะอาด ดันไทยสู่อนาคตที่มั่นคง

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาฯ ได้เสนอวิสัยทัศน์  "Future Thailand: The Comprehensive View" โดยระบุว่า การกำหนดทิศทางอนาตของประเทศไทยต้องมองใน 10 เรื่องสำคัญคือ

1.ประเทศไทยควรจะต้องวางจุดยืนทางการเมืองของภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ให้สมดุลโดยเฉพาะในยุคทรัมป์ 2.0 การกำหนดจุดยืนอนาคตของไทยในปีนี้จึงยิ่งสำคัญและต้องผนึกกำลังสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนและควรจะต้องตั้ง "ผู้แทนพิเศษ" ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางจากหลายส่วนทั้งภาครัฐภาคเอกชนไปเจรจาต่อรองกับผู้นำประเทศเพื่อเปิดประตูให้กับไทยในการขยายโอกาสเพราะในตอนนี้การเจรจาเป็นการต่อรองแบบข้ามภาครวมไปถึงการจับมือกับอาเซียนเพื่อหนุนการลงทุนการค้าและต้องมองมิติความมั่นคงร่วมด้วย

เจ้าสัวธนินท์ หนุน ท่องเที่ยว-เกษตร-พลังงานสะอาด ดันไทยสู่อนาคตที่มั่นคง

2. การเตรียมความพร้อมในการรับการปั่นป่วนของเทคโนโลยีAI การเปลี่ยนแปลงของประชากรการเกิดโรคระบาดใหม่และปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

3.การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นการสร้างการเติบโตทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยมองว่า "การปรับตัว" รับมือกับโลกที่เปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด


ประเด็นที่ 4. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นจุดแข็งของไทยซึ่งทางจุฬาฯสามารถที่จะจับมือกับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนประเด็นดังกล่าว

เจ้าสัวธนินท์ หนุน ท่องเที่ยว-เกษตร-พลังงานสะอาด ดันไทยสู่อนาคตที่มั่นคง

5.ความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ

 

6.ความมั่นคงทางด้านพลังงาน

 

7. ปฏิรูปการศึกษาคงไม่พอแต่ต้องยกเครื่องทางการศึกษาบัณฑิตต้องคิดเชิงวิเคราะห์ได้สถาบันการศึกษาต้องสร้างคนให้มีประสบการณ์

 

8.ยกเลิกกฎหมายที่ล้าสมัย

 

9. ต้องปฏิรูประบบราชการเพื่อตอบสนองกับความปั่นป่วนของโลก

 

10.ไทยต้องออกจากกับกัดรายได้ปานกลางด้วยนวัตกรรมผ่านความรู้และการสร้างR&D โดยรัฐต้องจัดสรรงบประมาณส่งเสริม

 

นายกสภาฯกล่าวสรุปปิดท้ายว่า  "อนาคตของประเทศต้องเป็นอนาคตที่ไทยมีความพร้อมดั่งที่ท่านประธานอาวุโสธนินท์เจียรวนนท์ได้เคยกล่าวไว้ว่า'ยุคนี้เป็นยุคปลาเร็วกินปลาช้า' สิ่งสำคัญเพื่อนำพาประเทศให้ก้าวสู่อนาคตอย่างเข้มแข็งคือผู้นำทั้งภาครัฐและภาคเอกชนภาคการศึกษาและภาคประชาสังคมจะต้องรวมพลังเป็นหนึ่งเพื่อประเทศไทย"  

 

ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเสนอหัวข้อ "Future Thailand: Future Education" โดยมองว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยของจุฬาฯไม่เพียงแต่ให้การศึกษาแต่คือ "การสร้างคน" ต้องสร้างมนุษย์พันธุ์ใหม่ให้ดีกว่าเดิมคือต้องเป็นคนพันธุ์ใหม่ ที่มีอนาคตรอบด้านการจัดงานครั้งนี้ จึงเป็นการผนึกกำลังกันของทั้งภาครัฐภาคเอกชนและภาคการศึกษาที่จะปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้ไม่เหมือนเดิม

 

ผ่านรูปแบบการศึกษาที่จะต้องสร้างความเข้าใจบทบาทของมหาวิทยาลัยเปลี่ยนไปไม่ใช่การให้ปริญญาเท่านั้นแต่ต้องสร้างคนให้เกิดการคิดวิเคราะห์เป็นมีทักษะแห่งอนาคตที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งนี้บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงไม่เพียงแค่ให้ความรู้แต่ต้องทำให้ประเทศดีขึ้นด้วย ด้วยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศผ่านการปรับหลักสูตร ให้รองรับคนทุกวัยมีการบูรณาการศึกษาความรู้ จะต้องตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลก ต้องปรับบทบาทของผู้เรียนเป็น "Global Citizen & Global Leader" ซึ่งจะทำให้สร้างการเข้มแข็งบนเวทีโลกได้อย่างยั่งยืน

เจ้าสัวธนินท์ หนุน ท่องเที่ยว-เกษตร-พลังงานสะอาด ดันไทยสู่อนาคตที่มั่นคง

ด้าน นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ เสนอวิสัยทัศน์ในหัวข้อ ""Future Thailand: Next Growth" โดยยืนยันว่าประเทศไทยเศรษฐกิจมีอนาคตที่แจ่มใสแม้ว่าเราจะอยู่ในโลกที่ปั่นป่วนแต่เชื่อมั่นว่า "ในทุกวิกฤตมีโอกาส" โดยเฉพาะการผลักดันการท่องเที่ยวเป็นเรื่องที่จะนำเงินเข้าประเทศได้เร็วที่สุด สิ่งที่ฝากรัฐบาลคือต้องมีงบประมาณที่มาสนับสนุน และมีเป้าหมายให้ชัด ขณะเดียวกันมองว่าโลกปั่นป่วนทั้งด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และการเข้าสู่ยุคเอไอธุรกิจด้านพลังงานสะอาด และพลังงานนิวเคลียร์ จึงเป็นสิ่งสำคัญประเทศไทยยังขาดไฟฟ้าที่สะอาด และราคาถูกจึงควรต้องผลักดันเรื่องนี้ด้วย

 

ประธานอาวุโส มองว่าประเทศไทยยังได้เปรียบเรื่องของ "การเกษตร"  ควรมีงบประมาณมาจัดสรรที่ดินสร้างถนนเข้าไร่นาพร้อมเน้นย้ำว่าจะต้อง "สร้างระบบชลประทาน" มีการจัดการเรื่องน้ำที่เป็นระบบและทั่วถึงซึ่งจะทำให้รับมือกับภาวะน้ำท่วม และแล้งให้ดีขึ้นพร้อมทั้งจะทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น 3 เท่า ดังนั้นเมืองไทยยังเต็มไปด้วยโอกาสทางด้านการเกษตร

 

ซึ่งควรต้องสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเช่นร่วมมือนักวิชาการจากจุฬาฯทำการศึกษาและวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี เช่นโดรนหุ่นยนต์เอไอเพราะการเกษตรจะดีได้ ต้องมีเทคโนโลยีไฮเทคที่สนับสนุนด้วย ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่จะต้องผลักดันเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเกษตร เพราะ "สินค้าเกษตรคือน้ำมันบนดิน" เป็นทรัพย์สมบัติที่ล้ำค่าของประเทศไทย หากทำได้จะยิ่งสร้างโอกาสด้านการเกษตร ไปถึงธุรกิจอาหารและธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่ง

 

นายธนินท์ เน้นย้ำว่าสิ่งสำคัญที่จะผลักดันอนาคตของประเทศไทยให้เติบโตคือ "การสร้างคน" เป็นเรื่องใหญ่พร้อมมองว่า "การศึกษาไม่ใช่ปริญญาแต่คือปัญญา" สถาบันการศึกษาจึงต้องพัฒนาคนให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ยกกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เป็นสถาบันการศึกษาอันดับต้นของประเทศ ในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน

 

อย่างไรก็ตามเมืองไทยยังผลิตคนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน จึงมองว่าควรมีการดึงคนเก่งจากทั่วโลกมาลงทุนและทำงานที่ไทยประมาณ 5 ล้านคน มาช่วยประเทศไทยสร้างธุรกิจใหม่ๆ และทำให้คนไทยเก่งไปด้วย ซึ่งจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ โดยภาครัฐควรมีนโยบายและกฎหมายที่เอื้อต่อการดึงคนเก่งเข้ามาลงทุนและทำงานที่ไทย เพราะเราสร้างคนไม่ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องเรียนรู้จากคนเก่งทั่วโลก และจะทำให้เกิดการจ้างงานในประเทศมากขึ้น ฉะนั้นประเทศไทยต้องเปิดกว้าง และมีนโยบายที่เอื้อหนุนในเรื่องดังกล่าว

 

"การทำธุรกิจให้อยู่รอดได้ ต้องคิดถึงประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนต้องทำให้ลูกค้ามีรายได้มีกำลังซื้อ ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักธุรกิจ ในการสนับสนุนแต่ต้องมีพื้นฐานความรู้จากสถาบันการศึกษาในการสร้างคน และรัฐบาลมีหน้าออกกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาและสร้างอาชีพ"

นายธนินท์ กล่าวพร้อมระบุว่า การทำธุรกิจของเครือซีพีผู้บริหารและพนักงานทุกคนจึงยึดหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะไปลงทุนที่ประเทศใดประเทศและประชาชนต้องได้ประโยชน์สูงสุด และสุดท้ายถึงจะเป็นประโยชน์ขององค์กร

 

ทั้งนี้ นายธนินท์ ย้ำปิดท้ายอีกว่า "ประชาชนจะร่ำรวยประเทศจะพัฒนาจำเป็นต้องพึ่งพามหาวิทยาลัย โดยภาคธุรกิจเป็นผู้ส่งเสริม ภาครัฐบาลปรับกฎหมายให้เอื้อให้กับการพัฒนาประชาชน ก็จะอยู่ดีกินดี ประเทศชาติก็จะมั่นคง" 
 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร