ข่าว

heading-ข่าว

"ประกันสังคม" VS "สิทธิบัตรทอง" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

28 ก.พ. 2568 | 18:05 น.
"ประกันสังคม" VS "สิทธิบัตรทอง" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

สำนักงานประกันสังคม ออกมาให้ข้อมูล เปรียบเทียบ ประกันสังคม VS สิทธิบัตรทอง เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ในที่นี้มีคำตอบ

ประกันสังคม VS สิทธิบัตรทอง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ?

1. การเข้ารับบริการ


•    ประกันสังคม ผู้ใช้สิทธิต้องเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลคู่สัญญาที่เลือกไว้ จำนวน 272 แห่ง และคู่สัญญาอีก 2,347 แห่ง และสามารถเปลี่ยนโรงพยาบาลได้ปีละ 1 ครั้ง


(กรณีมีความจำเป็น สามารถเปลี่ยนระหว่างปีได้ เช่นกรณีเปลี่ยนที่อยู่ หรือที่ทำงาน)
•    บัตรทอง สามารถเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาลในระบบบัตรทองได้ทุกแห่ง แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขปฐมภูมิ เช่น ต้องเริ่มต้นที่สถานพยาบาลใกล้บ้านก่อน
 
2. การส่งต่อผู้ป่วย


•    ประกันสังคม ทั้งระบบประกันสังคมโรงพยาบาลสามารถส่งต่อผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า
•    บัตรทอง สามารถใช้ใบส่งตัวเพื่อรับการรักษาในโรงพยาบาลที่สูงขึ้นตามระบบที่กำหนด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

\"ประกันสังคม\" VS \"สิทธิบัตรทอง\" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

3. การรับยาที่ร้านยาใกล้บ้าน
•    ประกันสังคมสามารถรับยาที่คลินิกเครือข่าย 2,000 กว่าแห่งและใช้สิทธิพื้นฐาน ผู้ประกันตนสามารถรับยาได้ที่ร้านขายยาใกล้บ้านได้
•    บัตรทอง สามารถรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านได้
 
4. ทันตกรรม
•    ประกันสังคม สามารถใช้สิทธิในการถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูนได้ แต่มีวงเงินจำกัดที่ 900 บาทต่อปี (เอกชน 5,335 แห่ง รัฐ 10,654 แห่ง  และมีบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่  25 แห่ง
•    บัตรทอง ครอบคลุมบริการพื้นฐานเช่นเดียวกับประกันสังคม แต่ไม่มีการกำหนดวงเงินสูงสุด  ปีละ 3 ครั้ง
 
5. การคลอดบุตร
•    ประกันสังคม มีวงเงินช่วยเหลือค่าคลอดบุตร 15,000 บาทต่อครั้ง กำลังจะปรับเพิ่มเป็น 20,000 บาทต่อครั้งและสามารถเบิกเงินสงเคราะห์บุตรเพื่อการหยุดงานได้
•    บัตรทอง ไม่จำกัดค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
 

6. การรักษามะเร็ง
•    ประกันสังคม สามารถรักษามะเร็งที่รพ.ประกันสังคมซึ่งเป็นรพ.ขนาดใหญ่ระดับ 100 เตียงขึ้นไปและรพ.ระดับสูงได้แก่ รพ.ที่เป็นโรงเรียนแพทย์ อีกทั้งเพิ่มแนวทาง SSO cancer care สามารถรักษาในรพ.ที่มีศักยภาพสูงด้านมะเร็ง ได้


•    บัตรทอง ใช้แนวทาง “Cancer Anywhere” ซึ่งหมายความว่าผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษามะเร็งได้ทุกที่ที่มีระบบบัตรทองรองรับ รวมถึงโรงเรียนแพทย์ 

\"ประกันสังคม\" VS \"สิทธิบัตรทอง\" เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
 
7. การดูแลระยะสุดท้าย
•    ประกันสังคม ให้บริการในโรงพยาบาลคู่สัญญา เครือข่าย พร้อมส่งต่อในรพ. ที่มีศักยภาพสูงกว่า ดูแลครบวงจร


•    บัตรทอง สามารถรับบริการดูแลแบบประคับประคองในหน่วยบริการปฐมภูมิ-สหวิชาชีพในชุมชน


•    การเลือกใช้สิทธิระหว่าง ประกันสังคม และ บัตรทอง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล หากเป็นพนักงานบริษัทที่มีประกันสังคม อาจต้องใช้สิทธิในโรงพยาบาลที่เลือกไว้เท่านั้น ขณะที่ บัตรทองมีความยืดหยุ่นมากกว่า ในแง่ของการเข้ารับบริการ โดยการคลอดบุตรที่ไม่จำกัดค่าใช้จ่าย(ประกันสังคมไม่จำกัดค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็ง)

ส่วนค่ารักษาเกี่ยวกับฟัน


 
รักษารากฟัน
•    บัตรทอง : รักษารากฟันแท้ ใส่รากฟันเทียม ไม่เสียค่าใช้จ่าย  
•    ประกันสังคม : ไม่รวมอยู่ในสิทธิ ดังนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง 
 
ศัลยศาสตร์ช่องปาก

•    บัตรทอง : รักษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  
•    ประกันสังคม : โรคหรืออุบัติเหตุทางช่องปาก เข้ารักษาที่รพ.ตามสิทธิได้ ไม่เสียค่าใช่จ่าย
 
ตรวจฟัน
•    บัตรทอง : ตรวจวินิจฉัยโรค เอกซเรย์ฟัน รวมถึงการให้ยาก่อนและหลังการรักษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
•    ประกันสังคม : รวมอยู่ในค่ารักษา 900 บาท ทั้งนี้ การตรวจสุขภาพช่องปากขัดและทำความสะอาดฟัน เป็นสิทธิพื้นฐานที่คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับยังหน่วยบริการที่สปสช.กำหนด
 
เคลือบฟลูออไรด์


•    บัตรทอง : รักษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ประกันสังคม :  การเคลือบฟลูออไรด์เป็นสิทธิพื้นฐานที่คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับยังหน่วยบริการที่สปสช.กำหนด


 
ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด
•    บัตรทอง : รักษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  
•    ประกันสังคม : รักษาได้ในวงเงินไม่เกิน 900 บาท/ปี หากมีส่วนเกินจะต้องจ่ายเอง 
 


รักษาโรคเหงือก ปริทันต์
•    บัตรทอง : รักษาได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  
•    ประกันสังคม : ไม่รวมอยู่ในสิทธิ ดังนั้นต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง
 
การใส่ฟันเทียม ฟันปลอม


•    บัตรทอง : ใส่ฟันเทียมฐานอะคริลิกได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ประกันสังคม : ไม่กำหนดชนิดวัสดุฟันปลอม
•    ใส่ฟันเทียมฐานอะคริลิกชนิดถอดได้บางส่วน จำนวน 1-5 ซี่ เบิกได้ไม่เกิน 1,300 บาท
•    ใส่ฟันเทียมฐานอะคริลิกชนิดถอดได้บางส่วน จำนวนมากกว่า 5 ซี่ เบิกได้ไม่เกิน 1,500 บาท
•    ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
•    ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
 
 
นอกจากนี้ผู้ประกันตนจะต้องสำรองจ่ายค่าใส่ฟันปลอมไปก่อน จากนั้นค่อยนำเอกสารและใบเสร็จรับเงินไปติดต่อเบิกได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ข้อมูลล่าสุด 27 ก.พ. 68 หากมีการอัปเดตเพิ่มเติมจะรีบแจ้งให้ทราบ

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร