ไขข้อข้องใจ หลังแผ่นดินไหว "ตึกร้าว" อาจปลอดภัยกว่า "ตึกไม่ร้าว"
ไขข้อสงสัย! ทำไมแผ่นดินไหวทำให้อาคารใหม่ร้าว แต่ตึกเก่ากลับไม่มีรอยร้าว? นี่คือเหตุผลที่อาจทำให้คุณคิดใหม่เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาคาร!
เรื่องจริงที่หลายคนไม่รู้! อาคารที่ร้าวหลังแผ่นดินไหวอาจปลอดภัยกว่าที่ไม่ร้าว นี่คือมาตรฐานการออกแบบที่ช่วยชีวิตคน!
ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก Curiosity Channel คนช่างสงสัย ได้ออกมาโพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า
ไขข้อข้องใจ หลังแผ่นดินไหว ตึกร้าว อาจปลอดภัยกว่า ตึกไม่ร้าว
เห็นหลายคนโพสว่า เมื่อเจอแผ่นดินไหว ทำไมตึกเก่าๆ ไม่ร้าวเลย แต่ตึกใหม่ๆ กลับร้าว ตึกใหม่ๆ ไม่แข็งแรงหรือเปล่า
ไม่ใช่ครับ
มาตรฐานการออกแบบอาคารรับแผ่นดินไหวใหม่ๆ ตั้งแต่ช่วง 2550 เป็นต้นมา ได้กำหนดให้วิศวกรต้องออกแบบตึกให้มีความ "เหนียว" ในการรับแผ่นดินไหว
ก่อนจะไปพูดถึงความเหนียว เรามาพูดสิ่งที่ตรงข้ามกันก่อน ซึ่งก็คือ "ความแข็ง"
สิ่งที่แข็ง มันจะตามมาด้วยความเปราะเสมอ หรือก็คือ ถ้ามันพัง มันจะพังอย่างฉับพลัน ไม่มีการเตือนใดๆ เหมือนกับเราพยามหักดินสอ ดินสอมันหักทันที ไม่มีการร้าวก่อน หรือที่วิดวะเรียกว่า "วิบัติแบบทันที" ซึ่งมันจะอันตรายมาก ไม่มีการเตือนก่อนใดๆ จากตึกดีๆ นิ่งๆอยู่ ถ้ามันรับแรงไม่ไหว มันจะพังอย่างฉับพลัน ซึ่งทำให้ผู้อยู่อาศัย "หนีไม่ทัน"
แต่อาคารที่เหนียว ตามมาตรฐานการออกแบบสมัยใหม่ ถ้าเจอแรงแผ่นดินไหว มันจะโยกง่ายกว่า แอ่นตัวง่ายกว่า แต่จะยังไม่พังหักพับลงมา เหมือนเราจะพยายามบิดไม้บรรทัดพลาสติก ซึ่งนั่นทำให้เกิดรอยร้าวตามจุดต่างๆ ของอาคาร โดยเฉพาะผนัง ซึ่งรอยร้าวนี่แหละ คือสัญญาณเตือนให้ผู้อาศัยรับหลบหนีออกจากอาคาร นั่นเองครับ
และการมีรอยร้าว ไม่ได้ทำให้ตึกอ่อนแอกว่าการไม่มีรอยร้าวนะครับ จริงๆแล้ว มันอาจแข็งแรงกว่าด้วยซ้ำ เพราะมันโยกไปโยกมาได้ มันจะสลายแรงแผ่นดินไหวให้กลายเป็นแรงในการโยกแทน ในขณะที่อาคารแบบแข็งเกร็ง จะสะสมแรงแผ่นดินไหวให้กลายเป็น Stress ในองค์อาคาร ถ้าสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนทนไม่ไหว มันจะพังอย่างฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน (นึกภาพต้นมะพร้าวเอนตามลม มันจะไม่หัก แต่ถ้ามันฝืนยืนแข็งทื่อ มันจะหักง่ายกว่าครับ)
ดังนั้น การมีรอยร้าวหลังเกิดแผ่นดินไหวนั้น "ดีแล้ว" ถูกแล้ว ตรงตามมาตรฐานการออกแบบอาคารรับแผ่นดินไหวครับ
ถ้าไม่มีรอยร้าวเลยสิ น่าคิด โดยเฉพาะตึกเก่าๆ ที่สร้างมานานแล้ว ส่วนใหญ่จะออกแบบให้เป็นแบบ "แข็งเกร็ง" ครับ
ทำไมแอดมินรู้เรื่องนี้? คือผมสามัญวิศวกรโยธา จบโทด้านอาคารรับแผ่นดินไหว แบบสายตรงเป๊ะกับเรื่องนี้เลยน่ะนะ
ปล. แต่ร้าว ไม่ได้แปลว่าไม่เสียหาย กลับเข้าไปนอนได้นะ ร้าว คือแปลว่า "เสียหาย" แต่ไม่พังพับลงมา เป้าหมายในการทำให้ตึกร้าว คือ เตือนให้ผู้ใช้หนีเป็นเรื่องสำคัญ เอาชีวิตคนมาก่อน ไม่ใช่แปลว่า ร้าว=ตึกปลอดภัยกลับเข้าไปอาศัยได้ ยังไงก็ต้องให้วิศวกรมาประเมินความเสียหายและซ่อมแซมอยู่ดี
ไขข้อข้องใจ หลังแผ่นดินไหว ตึกร้าว อาจปลอดภัยกว่า ตึกไม่ร้าว