ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะ อยู่ตรงไหนในญี่ปุ่น หลังประกาศเตือนภัย

สถานการณ์ ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะ อยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และมีการจำกัดการเข้าถึงพื้นที่เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศเตือนถึงความเป็นไปได้ที่หินภูเขาไฟขนาดใหญ่จะถูกพ่นออกมาในรัศมี 4 กิโลเมตรจากปากปล่องภูเขาไฟ และเถ้าถ่านอาจฟุ้งกระจายในวงกว้างกว่านั้น สถานการณ์ ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะ อยู่ในภาวะที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และมีการจำกัดการเข้าถึงพื้นที่เพื่อความปลอดภัยของประชาชน
ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะ ตั้งอยู่ในภูมิภาคคิวชู ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น บริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดคาโงชิมะและจังหวัดมิยาซากิ และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภูเขาไฟคิริชิมะ
ที่ตั้ง:
- ภูเขาไฟชินโมเอดาเกะตั้งอยู่ในกลุ่มภูเขาไฟคิริชิมะ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะคิวชู ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น
- บริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดคาโงชิมะและจังหวัดมิยาซากิ
สถานการณ์ปัจจุบัน:
- ทางการญี่ปุ่นได้ยกระดับการเตือนภัยภูเขาไฟชินโมเอดาเกะเป็นระดับ 3 จาก 5 ระดับ เนื่องจากพบสัญญาณการปะทุที่รุนแรงขึ้น
- มีการสั่งห้ามประชาชนเข้าใกล้พื้นที่ภูเขาไฟ
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศเตือนถึงความเป็นไปได้ที่หินภูเขาไฟขนาดใหญ่จะถูกพ่นออกมาในรัศมี 4 กิโลเมตรจากปากปล่องภูเขาไฟ และเถ้าถ่านอาจฟุ้งกระจายในวงกว้างกว่านั้น
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (Japan Meteorological Agency) ประกาศยกระดับการเตือนภัยภูเขาไฟ ชินโมเอะดาเกะ (Mt. Shinmoedake) ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเทือกเขาคิริชิมะ (Kirishima mountain range) คร่อมจังหวัดมิยาซากิและคาโกชิมะ เป็นระดับ 3 พร้อมทั้งห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวหรือประชาชนเข้าใกล้บริเวณภูเขา
ก่อนหน้านี้ ระดับการเตือนภัยอยู่ที่ระดับ 2 ซึ่งจำกัดการเข้าพื้นที่เฉพาะบริเวณปากปล่องภูเขาไฟเท่านั้น โดยนี่ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2018 ที่มีการยกระดับเตือนภัยขึ้นเป็นระดับ 3
ทางการญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 4 กิโลเมตร จากปากปล่องภูเขาไฟ เพิ่มความระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีเศษหินขนาดใหญ่ที่ถูกพ่นออกมาจากภูเขาไฟ
ตามรายงานของสำนักงานอุตุนิยมวิทยา ภูเขาไฟชินโมเอะดาเกะ มีจำนวนแรงสั่นสะเทือนจากภูเขาไฟ (volcanic tremors) ที่เพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2024 โดยจุดศูนย์กลางของแรงสั่นอยู่ใต้ปากปล่องภูเขาไฟโดยตรง
ตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ปริมาณแรงสั่นได้กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง จนถึงเวลา 4.00 น. ของวันอาทิตย์ มีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นรวม 246 ครั้ง
นอกจากนี้ ยังมีการยืนยันพบ การเคลื่อนไหวของเปลือกโลก (crustal movements) ที่บ่งชี้ว่า รูปทรงของภูเขาเริ่มมีลักษณะบวมพองขึ้น ตั้งแต่เวลา 02:50 น. ของวันเดียวกัน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ
