ข่าว

heading-ข่าว

ชาวเน็ตผวา "สาวถามนี่งูอะไร" ผู้รู้มาตอบ จับแบบนี้ระวังถึงตุย

21 เม.ย. 2568 | 14:14 น.
ชาวเน็ตผวา "สาวถามนี่งูอะไร" ผู้รู้มาตอบ จับแบบนี้ระวังถึงตุย

เสียววาบทั้งโซเชียล! หญิงสาวจับงูด้วยมือเปล่าห่อถุงพลาสติก ก่อนถามชิล ๆ ในกลุ่มว่า "งูอะไรคะ?" งานนี้คนรู้แห่เตือนเสียงหลง

เล่นเอาช็อกกันทั้งกลุ่ม! สาวรายหนึ่งจับงูด้วยมือเปล่าถาม "งูอะไร?" สุดท้ายมีคนรู้รีบเข้ามาเตือน พิษแรงถึงชีวิต แนะอย่าประมาท ให้หาภาชนะครอบแล้วเรียกกู้ภัยจะปลอดภัยกว่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เรียกได้ว่าทำเอาชาวเน็ตเสียวสันหลังกันไปตาม ๆ กัน กับโพสต์ของสาวรายหนึ่ง ที่เธอโพสต์ภาพงูตัวหนึ่ง ที่เธอใช้ถุงพลาสติกห่อมือ และ จับมันแบบตรง ๆ โดยเธอได้โพสต์ถามในกลุ่ม นี่ตัวอะไร ระบุว่า 

งูอะไรคะ จะเลื้อยเข้าบ้าน

 

ชาวเน็ตผวา สาวถามนี่งูอะไร ผู้รู้มาตอบ จับแบบนี้ระวังถึงตุย

งานนี้บอกเลยว่าเธอโชคดีมาก ที่ไม่โดนมันฉกเข้า เพราะผู้รู้เข้ามาตอบชัด ๆ ระบุ 

งูเห่าไทย

(Naja kaouthia)

-มีพิษไว้ใช้ล่าอาหารและป้องกันตัว

นั่นใช้มือจับหรอครับ?

เจองูให้หาภาชนะปากเรียบเสมอมาครอบไว้ครับ ให้อะไรหนักๆมาทับ แล้วเรียกกู้ภัยครับ

โดยอีกหลายคน ยังเข้ามาย้ำและ เตือนเธอ เช่น 

  • เห่าไทย พิษถึงตายนะครับ ถุงเเค่นั้นกัดทะลุได้เลย อย่าจับงูเเบบนี้อีกนะครับ ถึงตายนะครับ
  • จับไม่เป็น ไม่รู้ อย่าจับ ใช้ไม้เขี่ย พอ ถุงพาสติก ถุงมือยาง รอดมาได้ก็บุญมาก

ชาวเน็ตผวา สาวถามนี่งูอะไร ผู้รู้มาตอบ จับแบบนี้ระวังถึงตุย

งูเห่าไทย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Naja kaouthia) เป็นงูพิษชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทย และเป็นงูที่มีพิษรุนแรงระดับต้น ๆ ของประเทศ โดยพิษของงูเห่าไทยจัดอยู่ในกลุ่ม พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxic venom) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:

ลักษณะของพิษงูเห่าไทย

พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxins)

  • ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางและปลายประสาท
  • ยับยั้งการส่งสัญญาณระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
  • ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพาต หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลว

พิษต่อเนื้อเยื่อ (บางกรณี - Cytotoxins)

  • อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณแผลถูกทำลาย
  • เกิดการบวม แดง มีตุ่มพอง และเนื้อตายได้ในกรณีที่งูกัดแบบปล่อยพิษในปริมาณมาก

ผลข้างเคียงและอาการหลังถูกกัด

  • ปวด บวมแดงที่แผล
  • อ่อนแรงตามกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น หนังตาตก กลืนลำบาก
  • หากพิษลามถึงกล้ามเนื้อหายใจ จะทำให้หายใจเองไม่ได้ อาจเสียชีวิตใน 6–24 ชั่วโมง
  • ในบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก

การรักษา

  • การรักษาหลักคือ การให้เซรั่มต้านพิษงูเห่า (Antivenin) โดยเร็วที่สุด
  • การดูแลทางเดินหายใจ เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจในรายที่หายใจลำบาก
  • หลีกเลี่ยงการใช้วิธีพื้นบ้านหรือดูดพิษด้วยปาก เพราะเสี่ยงติดเชื้อและไม่ได้ผล

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ กรมการขนส่งทางบก ระเบียบใหม่ ชำระภาษีรถยนต์

ราชกิจจาฯ ประกาศ กรมการขนส่งทางบก ระเบียบใหม่ ชำระภาษีรถยนต์

เผยภาพหลุด เจ้าอาวาสวัดดัง แฉสาเหตุยอมไม่กลับวัด 4 เดือน

เผยภาพหลุด เจ้าอาวาสวัดดัง แฉสาเหตุยอมไม่กลับวัด 4 เดือน

พยากรณ์อากาศวันนี้ 11 ก.ค. 2568 ฝนตกหนักหลายจังหวัด เสี่ยงน้ำท่วม

พยากรณ์อากาศวันนี้ 11 ก.ค. 2568 ฝนตกหนักหลายจังหวัด เสี่ยงน้ำท่วม

เตือนภัย! พบ "Blue Dragon" ทากทะเลพิษร้าย ที่หาดกะรน จ.ภูเก็ต

เตือนภัย! พบ "Blue Dragon" ทากทะเลพิษร้าย ที่หาดกะรน จ.ภูเก็ต

ดาราดังหายตัวไม่มีใครรู้ เจออีกทีกลายเป็นศพในสภาพสุดสะเทือนใจ

ดาราดังหายตัวไม่มีใครรู้ เจออีกทีกลายเป็นศพในสภาพสุดสะเทือนใจ