เปิดความหมาย "กฎหมายสงคราม" กฎเหล็กเพื่อคุ้มครองมนุษยชาติ

กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (IHL) คือกฎเกณฑ์จำกัดผลกระทบจากความขัดแย้งทางอาวุธ ปกป้องพลเรือน และกำหนดข้อห้ามการใช้อาวุธอันตราย ที่ทั่วโลกต้องปฏิบัติตาม
กฎหมายสงคราม หรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการในระดับสากลว่า กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law: IHL) เป็นชุดกฎหมายสำคัญที่ใช้ควบคุมการปฏิบัติในช่วงที่เกิดความขัดแย้งทางอาวุธ เพื่อจำกัดผลกระทบของสงครามและปกป้องผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ เช่น พลเรือน ผู้บาดเจ็บ และเชลยศึก ถือเป็นกฎหมายสากลที่ทั่วโลกให้การยอมรับ
สำหรับผู้ที่สงสัยว่า กฎหมายสงครามคืออะไร และมีบทบาทอย่างไรบ้างในยามที่เกิดสงคราม โตสรวบรวมข้อมูลมาให้ ดังนี้
องค์ประกอบสำคัญของกฎหมายสงคราม
กฎหมายสงคราม ประกอบด้วยกฎหลักจาก 2 สายสำคัญในประวัติศาสตร์ ได้แก่
- กฎหมายกรุงเฮก (Hague Law) : วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติระหว่างคู่สงคราม การจำกัดวิธีการและอาวุธที่ใช้ในการสู้รบ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายเกินความจำเป็น
- กฎหมายเจนีวา (Geneva Law) : ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการสู้รบ โดยเฉพาะผู้บาดเจ็บ เชลยศึก และพลเรือน
หลัก ๆ จะอิงตาม อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Conventions) ปี 1949 ซึ่งแบ่งเป็น 4 ฉบับหลัก ได้แก่
- ฉบับที่ 1: คุ้มครองทหารบาดเจ็บในสนามรบ
- ฉบับที่ 2: คุ้มครองผู้บาดเจ็บจากสงครามทางทะเล
- ฉบับที่ 3: วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก
- ฉบับที่ 4: คุ้มครองพลเรือนในพื้นที่ความขัดแย้ง
หลักการสำคัญของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ
กฎหมายสงครามยังวาง หลักการกฎหมายสงคราม เพื่อควบคุมการใช้กำลังและจำกัดผลกระทบต่อผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น
- หลักการแบ่งแยกพลเรือนกับพลรบ (Principle of Distinction)
- หลักความได้สัดส่วน (Proportionality)
- หลักการเตือนภัยก่อนโจมตี (Precautions)
- หลักความจำเป็นทางทหาร (Military Necessity)
- หลักมนุษยธรรม (Humanity)
ทั้งหมดนี้เพื่อรักษาชีวิตและศักดิ์ศรีของมนุษย์ในช่วงที่เกิดสงคราม
ข้อห้ามสำคัญภายใต้กฎหมายสงคราม
นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามสำคัญที่ระบุไว้ชัดเจน เช่น
- ห้ามใช้อาวุธทำลายล้างเกินจำเป็น เช่น อาวุธเคมี อาวุธชีวภาพ
- ห้ามทรมาน ประหารชีวิตโดยพลการ หรือกระทำการไร้มนุษยธรรมต่อเชลยศึก
- ห้ามจับตัวประกัน หรือเนรเทศพลเรือนโดยไม่ชอบ
- ห้ามโจมตีเป้าหมายพลเรือน โรงพยาบาล โรงเรียน
การละเมิดถือเป็น "อาชญากรรมสงคราม"
หากฝ่าฝืนข้อกำหนดใน กฎหมายสงคราม ถือเป็น อาชญากรรมสงคราม (War Crimes) โดยผู้กระทำอาจถูกดำเนินคดีผ่าน ศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court - ICC) หรือศาลเฉพาะกิจตามที่จัดตั้งขึ้น
กฎหมายสงคราม จึงไม่ใช่แค่ข้อกำหนดทางกฎหมายทั่วไป แต่เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยลดความโหดร้ายและควบคุมพฤติกรรมในยามที่เกิดสงคราม มีเป้าหมายเพื่อปกป้องมนุษยชาติ ลดผลกระทบต่อพลเรือน และรักษามาตรฐานมนุษยธรรมเอาไว้
ใครที่อยากศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ International Humanitarian Law, หลักการกฎหมายสงคราม, หรือบทลงโทษสำหรับ อาชญากรรมสงคราม สามารถติดตามข้อมูลได้จากองค์กรนานาชาติอย่าง ICRC หรือ UNHCR

รู้แล้ว ทำไมรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้เมารถได้ง่ายกว่ารถน้ำมันปกติ

เนชั่นกรุ๊ป แถลง "IO กัมพูชา" โจมตีทางไซเบอร์สื่อเครือกว่า 200 ล้านครั้ง

สรุปราคาทองวันนี้ 27 กรกฎาคม 2568 ราคาทองตอนนี้บาทละเท่าไหร่

เปิดภาพ "เชน ธนา" ชาวเน็ตเห็นแล้วถึงกับเป็นห่วงอยากให้พัก
