ข่าว

heading-ข่าว

รพ.ชายแดนสุรินทร์ พร้อมยกระดับรับมือสถานการณ์ไทย-กัมพูชา

14 มิ.ย. 2568 | 23:11 น.
รพ.ชายแดนสุรินทร์ พร้อมยกระดับรับมือสถานการณ์ไทย-กัมพูชา

โรงพยาบาลตามแนวชายแดนจังหวัดสุรินทร์ เตรียมความพร้อมเต็มที่รับมือสถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

สสจ.สุรินทร์  เผยสถานการณ์ชายแดนยังอยู่ระดับ Alert  ซักซ้อมแผนร่วมทหาร หากฉุกเฉินระดับ 2 พร้อมอพยพผู้ป่วยในรพ.พนมดงรัก-รพ.กาบเชิง ส่วนกรณีฝั่งกัมพูชา เตรียมมาตรการห้ามคนในประเทศรักษาในไทย หากเป็นจริง ไม่กระทบหน่วยบริการ แต่ละปีเข้ารับบริการไม่มากเฉลี่ย 1 หมื่นคน ค่ารักษาเก็บได้ราว 49 ล้าน ค้างชำระ 1 ล้านบาท ที่ผ่านมารักษาตามมนุษยธรรม รายได้หลักรพ.ในจังหวัดยังเป็นบัตรทอง เพราะภารกิจหลักดูแลคนไทย

"คนกัมพูชาที่มารับรักษาส่วนใหญ่ถูกกฎหมาย เข้ามาโดยมีหนังสือเดินทาง หรือ Border pass เข้ามาอยู่ได้ภายในจังหวัดตามเวลาที่กำหนด แต่ไม่ว่าจะมาแบบใด ก็ให้การดูแลโดยยึดหลักมนุษยธรรม"นพ.ยุทธนากล่าว 

เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. นพ.ยุทธนา วรรณโพธิ์กลาง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ให้สัมภาษณ์การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ว่าโรงพยาบาลพนมดงรักและรพ.กาบเชิง เป็นโรงพยาบาลชุมชนติดชายแดน   ซึ่งมีการยกระดับตามสถานการณ์ โดยหากเกิดเหตุรุนแรงหรือเหตุปะทะ ได้เตรียมพร้อมส่งมอบโรงพยาบาลให้เป็น “โรงพยาบาลสนาม”  ที่ผ่านมาได้ร่วมกับทางทหารซักซ้อมแผนดังกล่าว โดยหากเกิดเหตุและมีการส่งมอบรพ.เป็น รพ.สนามของทางทหารแล้ว บุคลากรในรพ. ทั้งสองแห่งรวมทั้งบุคลากรในรพ.สต.ทุกแห่ง จะถอนกำลังจากพื้นที่ และเข้ารายงานตัวยังโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและจุดรายงานตัวในศูนย์พักพิงชั่วคราวตามที่กำหนดไว้ เพื่อสนธิกำลังกับพื้นที่ให้บริการประชาชนต่อไป

รพ.ชายแดนสุรินทร์ พร้อมยกระดับรับมือสถานการณ์ไทย-กัมพูชา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ หากต้องอพยพประชาชนชายแดน จ.สุรินทร์ คาดว่ามีประมาณ 144,300 คน  ทางจังหวัดสุรินทร์ ได้เตรียมพร้อมจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวรองรับ พร้อมทั้งจัดหน่วยบริการดูแลรักษาพยาบาลในศูนย์พักพิง และหากมีเหตุจำเป็นที่โรงพยาบาลที่กำหนดไว้ไม่สามารถรองรับบริการได้เพียงพอ ก็พร้อมจัดตั้ง“โรงพยาบาลสนามสำหรับประชาชน”ซึ่งจะมีทีม MERT ทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข  จ.สุรินทร์ และเขตสุขภาพที่ 9 ร่วมดำเนินการ

“หากจำเป็นต้องอพยพจริงๆ มีการซักซ้อมแผนร่วมกับทางทหาร อย่างผู้ป่วยในของรพ.ทั้งสองแห่งก็จะมีการรีเฟอร์ หรือส่งต่อไปยังรพ.ชั้นในต่อไป เช่น รพ.ปราสาท  รวมถึงรพ.อื่นๆตามลำดับ เช่น รพ.สุรินทร์ รพ.สังขะ  รพ.ท่าตูม รพ.รัตนบุรี เป็นต้น ส่วนผู้ป่วยในที่ไม่หนักก็จะกระจายไปรพ.ชุมชนอื่นๆต่อไป” นพ.ยุทธนากล่าว และว่า สำหรับขณะนี้ประชาชนมีค่อนข้างวิตกกังวล ซึ่งมีหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ทั้ง รพ.ชุมชน และรพ.สต.ดูแล แต่หากสถานการณ์ยืดเยื้อ ทางสสจ.เตรียมส่งทีมเฉพาะ (MCATT)ไปร่วมดูแล

นพ.ยุทธนา กล่าวว่า จะมีแผนการดำเนินการตามระดับต่างๆ อย่างเช่นขณะนี้เป็นระดับ Alert อยู่ในช่วงการเฝ้าระวัง และหากมีการปะทะด้วยอาวุธเบา เราก็จะอพยพผู้ป่วยในทันทีเพื่อความปลอดภัย ซึ่งจะมีแผนที่วางไว้ในแต่ระดับ

-ภาวะปกติ เป็นการติดตาม (Watch mode) สถานการณ์ชายแดนในภาวะปกติ

-ภาวะฉุกเฉินระดับ 1 ตื่นตัว (Alert mode) มีประเด็นความขัดแย้งระหว่างชายแดน

-ภาวะฉุกเฉินระดับ 2 ตอบโต้ระดับ 1 (Response) มีประเด็นความขัดแย้งระหว่างชายแดนอย่างรุนแรง เกิดการสู้รบโดยใช้อาวุธเบาในพื้นที่ชายแดน

-ภาวะฉุกเฉินระดับ 3 ตอบโต้ระดับ 2 (Response) เกิดการสู้รบโดยใช้อาวุธหนักในพื้นที่ชายแดน, มีการอพยพของประชาชนใน 1 อำเภอชายแดน

 

-ภาวะฉุกเฉินระดับ 4 ตอบโต้ระดับ 3 (Response) เกิดการสู้รบโดยใช้อาวุธหนักในพื้นที่ชายแดน, มีการอพยพของประชาชนใน 4 อำเภอชายแดน หรือ มีการประกาศกฎอัยการศึก

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

"น้ำยืน" เงียบร้าง หลังถูกประกาศเป็นโซนสีแดง  สั่งอพยพประชาชน

"น้ำยืน" เงียบร้าง หลังถูกประกาศเป็นโซนสีแดง สั่งอพยพประชาชน

บิ๊กป้อม ห่วงใยทหารไทยทุกนาย เหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

บิ๊กป้อม ห่วงใยทหารไทยทุกนาย เหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา

อาลัย ทหารกล้าดับเพิ่มอีกนาย มทบ.25 ส่งร่าง 3 วีรบุรุษกลับบ้าน

อาลัย ทหารกล้าดับเพิ่มอีกนาย มทบ.25 ส่งร่าง 3 วีรบุรุษกลับบ้าน

สำรวจสภาพความเสียหาย อ.น้ำยืน หลังเหตุปะทะไทย–กัมพูชา

สำรวจสภาพความเสียหาย อ.น้ำยืน หลังเหตุปะทะไทย–กัมพูชา

"แพทองธาร" โต้ลั่น  "ชินวัตร" ไม่ใช่ต้นตอสู้รบไทย-กัมพูชา

"แพทองธาร" โต้ลั่น "ชินวัตร" ไม่ใช่ต้นตอสู้รบไทย-กัมพูชา