ซีพีผนึกธุรกิจในเครือฯ คิกออฟลดการปล่อยคาร์บอน พร้อมสร้าง Carbon Business
ซีพีผนึกกำลังธุรกิจในเครือฯคิกออฟลดการปล่อยคาร์บอนตามเป้าหมายzero carbon ของซีอีโอ “ศุภชัย เจียรวนนท์”พร้อมสร้างCarbon Business
14 มีนาคม2567 - ตามที่ นาย ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและนโยบายที่จะเป็นองค์กรที่เป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี2030และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2050นำมาสู่การผนึกกำลังครั้งใหญ่เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการลดโลกร้อน
โดยเครือซีพีและบริษัทในเครือฯได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “ผนึกกำลังเครือฯลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างโอกาสคาร์บอนเครดิต”เพื่อให้กลุ่มธุรกิจของเครือฯได้มาแลกเปลี่ยนแนวทางการเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานสะอาดและลดการปล่อยคาร์บอนรวมไปถึงการสร้างCarbon Business อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกันซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยลดโลกเดือดที่เป็นวิกฤตอยู่ในตอนนี้
ภายในงานมี ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์เครือเจริญโภคภัณฑ์กล่าวเปิดงานพร้อมผู้บริหารและพนักงานในกลุ่มธุรกิจของเครือฯเข้าร่วมแชร์ความเห็นกันอย่างคับคั่งณทรูดิจิทัลพาร์ค (เวสท์) กรุงเทพฯ
ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรและการพัฒนากลยุทธ์เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่าในตอนนี้โลกกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกและการเกิด มาตรการ CBAM ภาษีคาร์บอนข้ามแดนทำให้ทุกประเทศในโลกต้องให้ความสำคัญภาคธุรกิจจึงต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง เครือซีพี โดยการนำของ ซีอีโอ ศุภชัย เจียรวนนท์ จึงได้มีการกำหนดเป้าหมายความยั่งยืนและแนวทางร่วมกันในการพาเครือซีพีและบริษัทในเครือฯมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี2030
และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี2050ให้ได้การผนึกกำลังของกลุ่มธุรกิจของเครือฯในครั้งนี้จึงเป็น "การนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติ" ในการลดการปล่อยคาร์บอนและสร้างโอกาสคาร์บอนเครดิตอย่างเป็นรูปธรรมโดยการลดการปล่อยคาร์บอนในscope 1-3ไม่ใช่แค่ภายในองค์กรเพียงอย่างเดียวแต่ต้องร่วมมือกับคู่ค้าและซัพพลายเออร์ตลอดห่วงโซ่คุณค่าด้วยดังนั้นการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องนี้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มจึงสำคัญ
ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กรกล่าวย้ำความมุ่งมั่นของเครือฯในการทรานส์ฟอร์มไปสู่ความยั่งยืนต้องขับเคลื่อนผ่านกรอบ5ด้านสำคัญคือ
1.Transparency ความโปร่งใสมีเป้าหมายและต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนโดยเครือฯได้มีการวางยุทธศาสตร์ความยั่งยืนสู่ปี2030รวม15ข้อที่ชัดเจน
2.Market Mechanism สร้างกลไกตลาดด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์บริการและแบรนด์ที่ส่งเสริมการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืนรวมไปถึงสร้างความร่วมมือกับstakeholder โดยแต่ละกลุ่มธุรกิจจะต้องแชร์ความร่วมมือร่วมกัน
3.Leadership &Talents แต่ละกลุ่มธุรกิจต้องสร้างTone at the top ให้ผู้นำสูงสุดของทุกองค์กรนำการขับเคลื่อนให้ความยั่งยืนเป็นเนื้อเดียวกับธุรกิจและจะต้องมีการพัฒนา "ผู้นำความยั่งยืนรุ่นใหม่" ในระดับขององค์กร
4.Empowerment แต่ละกลุ่มธุรกิจต้องมีการผนึกกำลังและใช้ecosystems เครือฯในการสร้างimpact และเป็นchange leader ร่วมกันผ่านความร่วมมือในโครงการต่างๆ
5.Technology พัฒนาเทคโนโลยีในการสนับสนุนความยั่งยืนผ่านแพลตฟอร์มหลักที่เครือฯได้สร้างขึ้นมาส่งเสริมให้กลุ่มธุรกิจนำไปใช้
การผนึกกำลังในครั้งนี้เรามีความเชื่อที่สำคัญร่วมกันว่าจะเป็นการหาแนวทางอุณหภูมิของโลกให้ลดลงหรืออย่างน้อยก็ไม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่เป็นอยู่ในปัจจุบันโดยเครือซีพีและกลุ่มธุรกิจในเครือฯในฐานะภาคเอกชนพร้อมที่จะนำความรู้ไปขยายผลให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการที่ลดการปล่อยคาร์บอนมากขึ้นในขณะเดียวกันเครือฯจะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆมาช่วยในการลดคาร์บอนและเพิ่มพลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น
เช่นการใช้ไฮโดรเจนโซลาร์เซลล์แบตเตอรี่อีวีดังนั้นแต่ละกลุ่มธุรกิจต้องมีการผนึกกำลังโดยในตอนนี้เครือซีพีกำลังดำเนินโครงการSLP: Carbon credit business ถือว่าโครงการนำร่องที่ได้นำเป้าหมายและนโยบายลดคาร์บอนมาสู่การปฏิบัติติให้เกิดขึ้นจริงและโครงการ5ประสาน: ผนึกกำลังลดต้นทุนพลังงานการใช้พลังงานสะอาดให้เกิดทั้งภายในและขยายผลไปสู่ภายนอกองค์กร
"การลดการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นเรื่องของทุกคนของทุกภาคส่วนการที่เครือซีพีผนึกกำลังกับกลุ่มธุรกิจขับเคลื่อนลดการปล่อยคาร์บอนสู่เป้าหมายNet Zero จะเป็นแรงกระเพื่อมขยายวงกว้างออกไปในการร่วมมือกับทุกคนสร้างโลกที่ยั่งยืนร่วมกัน"
นายวรสิทธิ์ สิทธิวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจพืชครบวงจรเขตประเทศเมียนมาร์ ในฐานะหนึ่งในผู้ทำโครงการSLP : Carbon Credit Business เปิดเผยว่าผู้บริหารของทุกกลุ่มเครือฯได้ให้ความสำคัญในการนำเป้าหมายและนโยบายลดคาร์บอนมาสู่การปฏิบัติติให้เกิดขึ้นจริงให้เร็วที่สุดเพื่อนำพาองค์กรมุ่งสู่Net Zero 2050ในการขับเคลื่อนโครงการครั้งนี้จึงเป็นผนึกกำลังของผู้บริหารร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างBusiness Modelเพื่อลดคาร์บอนให้ได้มากที่สุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจภาคเกษตรซึ่งเป็นธุรกิจสำคัญของเครือซีพีเราได้ดำเนินการร่วมมือกับพาร์เนอร์ระดับโลกในการนำความเชี่ยวชาญทั้งองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาสนับสนุนเกษตรกรทั้งในประเทศและภูมิภาคอาเซียนให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามหลักค่านิยมองค์กร3ประโยชน์ที่เครือซีพีและกลุ่มธุรกิจยึดมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อให้ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติสังคมและท้ายที่สุดจึงเป็นองค์กร
ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์ คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่าในตอนนี้ประเทศไทยหลายภาคส่วนตื่นตัวกับเรื่องการลดคาร์บอนเพิ่มมากขึ้นซึ่งภาคเกษตรถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งให้องค์ความรู้และนำนวัตกรรมมาเสริมซึ่งในส่วนนี้เห็นได้ชัดจากการวางแนวทางของเครือซีพีที่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปในการกำหนดเป้าหมายและแนวทางที่ชัดเจนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาอย่างต่อเนื่องผ่านการมีแผนการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวครอบคลุมตลอดทั้งองค์กรคู่ค้าและผู้บริโภคถือว่ามีความรับผิดชอบต่อสังคม
ทั้งนี้เครือซีพีและบริษัทในเครือได้ดำเนินการปรับโมเดลธุรกิจมุ่งส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรมด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้รวมถึงการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อลดการใช้พลังงานให้ได้มากที่สุดเช่นการติดตั้งSolar Rooftop ที่ห้างค้าปลีกค้าส่งซึ่งในตอนนี้มีการติดตั้งไปแล้ว4,950แห่ง
นอกจากนี้ยังได้มีการติดตั้งในหลังคาโรงงานเช่นที่ซีพีแรมได้ปรับเป็นโรงงานสีเขียวรวม7แห่งทั่วประเทศสามารถลดต้นทุนการใช้ไฟฟ้าได้ประมาณ9ล้านต่อปีในขณะเดียวกันมีการใช้ไบโอแก๊สทดแทนการใช้ไฟฟ้าของฟาร์มสุกรและฟาร์มไก่ไข่ไปแล้ว55%
ทำให้ลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึงกว่า1.7แสนตันคาร์บอน เช่นกรณีซีพีเอฟได้มีการจัดทำGreenFarmในฟาร์มสุกร98แห่งเป็นต้นแบบฟาร์มรักษ์โลกมีการจัดการของเสียในฟาร์มด้วยไบโอแก๊สและการปลูกไม้ยืนต้นในฟาร์มทำให้ลดต้นทุนด้านไฟฟ้าได้มากถึง80%ของไฟฟ้าทั้งหมดนอกจากนี้ยังได้มีการผลิตภัณฑ์สีเขียวกว่า818รายการที่ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และกว่า56รายการได้รับรองฉลาดลดโลกร้อน
ทั้งนี้เครือได้มีการวางแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกภายในปี2030แบ่งเป็นScope 1และ2เน้นไปที่การใช้พลังงานหมุนเวียน50%ด้วยการใช้เชื้อเพลิงชีวมวลโซลาร์พีวีก๊าซชีวภาพรวมไปถึงมีการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน20%และลดขยะของเสียสู่หลุมฝังกลบให้เป็นศูนย์ทั้งในเรื่องของการผลิตปุ๋ยการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก
และในส่วนของScope 3เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างมากแต่เครือต้องทำให้สำเร็จด้วยการร่วมมือกับคู่ค้าในการลดคาร์บอน25%ลดคาร์บอนจากเกษตรกรรม30%และการลดคาร์บอนจากการขนส่ง25%ตลอดห่วงโซ่อุปทานเช่นการใช้รถยนต์EV ในการขนส่งสินค้าและการบริหารจัดการLogistics เป็นต้น