ชุมชนยั่งยืน

heading-ชุมชนยั่งยืน

ฝีมือคนไทย! พัฒนาฉลากอัจฉริยะ เเค่เเปะก็รู้ระดับความสุก

24 เม.ย. 2567 | 16:09 น.
ฝีมือคนไทย! พัฒนาฉลากอัจฉริยะ เเค่เเปะก็รู้ระดับความสุก

นักวิจัย นาโนเทค สวทช. พัฒนาฉลากอัจฉริยะระบุระดับความสุกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดขยะอาหาร

    ฝีมือคนไทย! พัฒนาฉลากอัจฉริยะ เเค่เเปะก็รู้ระดับความสุก

      "ชุมชนยั่งยืน" พามาติดตามเรื่องราวของผลไม้ที่น่าจะเป็นที่โปรดปรานของหลายๆคน เเละก็เป็นหนึ่งในผลไม้จากประเทศไทยที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติสูงจนขึ้นแท่นเป็นพืชเศรษฐกิจ คือ ‘มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง’ ที่มีจุดเด่น คือ ผลใหญ่ เปลือกสีเหลืองทอง เนื้อละเอียด รสชาติหวาน แต่ด้วยมะม่วงสายพันธุ์นี้มีเปลือกสีเหลืองครีมตั้งแต่เริ่มสุกบนต้นหรือระยะที่ยังไม่พร้อมรับประทาน ทำให้แยกระดับความสุกจากการสังเกตสีเปลือกมะม่วงได้ยาก ทำให้ผู้บริโภคอาจพลาดโอกาสในการลิ้มรสมะม่วงในช่วงอร่อยที่สุดไป

     ซึ่งปัญหาดังกล่าวนำมาซึ่งการพัฒนานวัตกรรมจากนักวิจัยไทยของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 
 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฝีมือคนไทย! พัฒนาฉลากอัจฉริยะ เเค่เเปะก็รู้ระดับความสุก

     ดร.กมลวรรณ ธรรมเจริญ นักวิจัยทีมวิจัยวัสดุตอบสนองระดับนาโน (RNM) นาโนเทค สวทช. อธิบายว่า การพัฒนาฉลากอัจฉริยะระบุความสุก ทีมวิจัยได้นำลักษณะตามธรรมชาติของผลไม้ที่จะปล่อยก๊าซเอทิลีนและคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นตามระยะความสุกมาใช้ในการออกแบบเซนเซอร์ตรวจจับปริมาณก๊าซ โดยทีมวิจัยเลือกตรวจจับก๊าซเอทิลีนเพราะให้ผลตรวจที่แม่นยำกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซที่มีอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อม จึงอาจทำให้เกิดการแปลผลคลาดเคลื่อนได้

ฝีมือคนไทย! พัฒนาฉลากอัจฉริยะ เเค่เเปะก็รู้ระดับความสุก

เซนเซอร์  2 ชั้น ระบุระดับความสุกของผลไม้

     เซนเซอร์ที่ทีมพัฒนาขึ้นมีรูปแบบเป็นสติกเกอร์สำหรับแปะผลไม้ มีลวดลายเป็นวงกลม 2 ชั้น

  • วงในเป็นตำแหน่งของเซนเซอร์ตรวจจับปริมาณก๊าซเอทิลีนซึ่งจะมีสีเปลี่ยนแปลงไปตามระดับความเข้มข้นของก๊าซหรือระดับความสุกของผลไม้
  • ส่วนวงนอกเป็นแถบสีสำหรับดูเปรียบเทียบระดับความสุก

ฝีมือคนไทย! พัฒนาฉลากอัจฉริยะ เเค่เเปะก็รู้ระดับความสุก

ทำไมต้องระบุระดับความสุกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง
     ทีมวิจัยได้เลือกพัฒนาฉลากอัจฉริยะระบุความสุกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเป็นลำดับแรก เพราะเป็นผลไม้ที่สังเกตระดับความสุกได้ยาก เป็นผลไม้พรีเมียมที่เน้นคุณภาพ และมีตลาดระดับไฮเอนด์รองรับทั้งในไทยและต่างประเทศ

ระบุระดับความสุก 3 ระดับ

     ฉลากอัจฉริยะที่ทีมพัฒนาขึ้นระบุความสุกของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้ 3 ระดับ คือ

  • ‘สีเขียวอ่อนอมเทา’ หมายถึงสุกน้อย มีรสชาติเปรี้ยว
  • ‘สีเขียวอ่อน’ หมายถึงระดับสุกปานกลาง มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน
  • ‘สีเขียวเข้ม’ หมายถึงผลไม้สุกพร้อมรับประทาน มีรสชาติหวาน (มีข้อความระบุบนฉลาก)

     ปัจจุบันฉลากอัจฉริยะที่พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้วจะมีลักษณะการใช้งานแบบ 1 แผ่น ต่อ 1 ผล คาดว่าเมื่อผลิตในระดับอุตสาหกรรมแล้วจะมีราคา 1-2 บาทต่อแผ่น หรือหากผู้ประกอบการสนใจพัฒนาฉลากรูปแบบอื่น ๆ เช่น การติดภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ก็สามารถวิจัยต่อยอดร่วมกันได้เช่นกัน

ฉลากอัจฉริยะระบุความสุกไม่เพียงเหมาะกับมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเท่านั้น แต่ยังพัฒนาเชิงประยุกต์เพื่อต่อยอดให้ใช้งานกับผลไม้อีกหลายชนิดที่อยู่ในกลุ่มบ่มให้สุกภายหลังการเก็บเกี่ยว และมีลักษณะผลที่สังเกตการสุกด้วยตาเปล่ายากได้ อาทิ ทุเรียน ขนุน อะโวคาโด กีวี่

ฝีมือคนไทย! พัฒนาฉลากอัจฉริยะ เเค่เเปะก็รู้ระดับความสุก

     ดร.กมลวรรณ อธิบายว่า ปัจจุบันต่างประเทศมีความต้องการฉลากอัจฉริยะสูงขึ้น ทั้งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลไม้และลดการเกิดขยะอาหารจากการบริหารจัดการสินค้าที่ไม่เหมาะสม ทั้งนี้ IMARC Group บริษัทด้านการวิจัยตลาดต่างประเทศประมาณการไว้ว่า ‘ความต้องการฉลากอัจฉริยะจะสูงขึ้นในปี 2567-2575’ ด้วยค่า CAGR (compound annual growth rate) ที่ร้อยละ 11.4 หรือมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 1.09 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (3.96 แสนล้านบาท) ในปี 2567 เป็น 2.97 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (1 ล้านล้านบาท) ในปี 2575 จึงเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะเริ่มลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ เพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลไม้ไทย ซึ่งทีมวิจัยพร้อมเปิดรับโจทย์การวิจัยฉลากอัจฉริยะระบุความสุกของผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการต้องการ

ฉลากอัจฉริยะระบุความสุกเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่นักวิจัย สวทช. พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตผลทางการเกษตรของประเทศไทย และสนับสนุนการลดขยะอาหาร หนึ่งในตัวการสำคัญในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่มุ่งยกระดับเศรฐกิจฐานชีวภาพและเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทย

     สำหรับผู้ที่สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวรรณภรณ์ จันทร์หอม งานพัฒนาธุรกิจ นาโนเทค สวทช. เบอร์โทรศัพท์ 0 2564 7100 ต่อ 6770 หรืออีเมล [email protected]

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 4 กลุ่มอายุ 21-59 ปี โอนเงินช่วงไหน

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"เมืองไทยประกันภัย" จ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีอุบัติเหตุรถไฟชนกระบะ จ.ตรัง

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

"กชเบล" MGT 2025 เล่าชีวิตวัยเด็ก โตมากับความรุนแรงในครอบครัว

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

เปิดสาเหตุ "บังมัด" ตบหน้า "สันธนะ" กลางร้านดังทองหล่อ

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร

สาวคันรอบดวงตา เจอก้อนเนื้อขยับได้ หาหมอถึงกับตกใจรู้เป็นอะไร