ชุมชนยั่งยืน

heading

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ
“แม่บุญล้ำ” ล้ำหน้า นำนวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

KEY

POINTS

 

 

     ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมน้ำปลาร้าไทยได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ก้าวข้ามจากวัตถุดิบในครัวเรือน สู่การเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมในตลาดโลก มีผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ไม่ต่ำกว่า 200 แบรนด์   ส่งผลให้ตลาดน้ำปลาร้ามีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท และมีมูลค่าการส่งออกกว่า 200 ล้านบาท/ปี ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในสมรภูมิความนัวนี้

    นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     ซึ่งสิ่งที่หลายคนมองข้ามไป คือ ของเสียจากกระบวนการผลิต ซึ่งอาจกลายเป็นทั้งวิกฤตต่อสิ่งแวดล้อม หรือโอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์และการจัดการของผู้ประกอบการ

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณกากปลาร้าซึ่งเป็นเศษเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตน้ำปลาร้าอย่างน้อย 680 ตัน/ปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยการฝังกลบ หากปล่อยไว้เช่นนี้ กากปลาร้าที่มีความเค็มและกลิ่นรุนแรงอาจรั่วไหลลงสู่ดินและแหล่งน้ำ ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม "ชุมชนยั่งยืน" จึงจะพาทุกคนไปติดตามเรื่องราวการจัดการกากปลาร้าอย่างถูกวิธี ซึ่งไม่เพียงช่วยลดมลพิษ แต่ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่สำหรับผู้ประกอบการอีกด้วย
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     บริษัท เพชรดำฟู๊ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ธุรกิจน้ำปลาร้ารายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือที่หลายคนอาจคุ้นเคยภายใต้แบรนด์ “แม่บุญล้ำ” ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกับทีมวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     นำโดย ผศ.ดร. สมสมร แก้วบริสุทธิ์ อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการวิจัยและพัฒนา

  • เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกากปลาร้าเหลือทิ้งของโรงงาน โดยสร้างเป็นไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการเพิ่มแคลเซียมจากผงกระดูกปลาที่ได้จากการนำกากปลาร้ามาปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคโนโลยี พร้อมทั้งได้มีการต่อยอดไปสู่การจัดทำข้อกำหนดด้านมาตรฐาน
  • เพื่อให้น้ำปลาร้ามีแคลเซียมเพิ่มขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าน้ำปลาร้าทั่วไปในท้องตลาด ทำให้ผู้ประกอบการสามารถกล่าวอ้างคุณสมบัติน้ำปลาร้าเสริมผงกระดูกปลาเป็นผลิตภัณฑ์แคลเซียมสูงได้
  • รวมถึงมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อป้องกันไม่ให้ผงกระดูกปลาตกตะกอนที่ก้นขวด ทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้

ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดโลกได้

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     โดยบริษัทฯ และทีมวิจัย ได้ยื่นขอทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาจากแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภายใต้ชื่อชุดโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)” และทางบริษัทฯ ได้ร่วมลงทุนด้วยส่วนหนึ่ง 

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     คุณพิไรรัตน์ บริหาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เพชรดำฟู้ดส์ จำกัด ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นในการมาร่วมทุนในครั้งนี้ว่า “บริษัทมีกากปลาร้าที่เป็นของเหลือจากกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก และได้มีการกำจัดโดยการนำมาทำปุ๋ยใส่ต้นไม้ในบริเวณโรงงานและฝังกลบ แต่เมื่อเรามีการผลิตที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เราเริ่มเห็นว่าของเหลือ (Waste) มีเยอะขึ้นมาก ดังนั้นเราจึงได้มีการปรึกษากับ ผศ.ดร.สมสมร ว่ากากก้างของเราสามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง อาจารย์ได้แนะนำให้ส่งไปวิเคราะห์กับทางสถาบันอาหารเพื่อตรวจหาโปรตีนและแคลเซียม ซึ่งหลังจากได้ผลมา อาจารย์ได้แนะนำให้เราได้รู้จักกับทุน บพข. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ให้ทุนทำ R&D แก่สถาบันวิจัยและผู้ประกอบการ

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     โดยเราได้ยื่นขอทุนในแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งมุ่งสนับสนุนโครงการที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสีย โดยเพชรดำมีทีม R&D ร่วมกับทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการวิจัยและพัฒนา และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีนำมาต่อยอดในธุรกิจ โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มาช่วยคิดค้นเทคโนโลยีในการปรับปรุงกากก้างปลาร้าเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตในโรงงาน ให้สามารถนำมาผลิตเป็นผงแคลเซียมและผสมในน้ำปลาร้าได้อย่างเหมาะสมและไม่มีการตกตะกอน ซึ่งเป็นโครงการย่อยที่ 1 ภายใต้ชุดโครงการนี้ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับกากก้างเหลือทิ้ง และสามารถสร้าง Product line ใหม่เป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคในยุคสังคมผู้สูงอายุ นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนในการพัฒนาน้ำปลาร้าสูตรโซเดียมต่ำเพื่อตอบรับเทรนด์การรักษาสุขภาพของผู้บริโภคในปัจจุบัน”

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ
     ด้าน ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. กล่าวเสริมว่า “โครงการนี้สามารถตอบโจทย์แผนงานเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. ในเรื่องการเพิ่มมูลค่าให้กับของเหลือในอุตสาหกรรม เพื่อลดขยะและลดคาร์บอนจากกระบวนการผลิตได้เป็นอย่างดี อุตสาหกรรมน้ำปลาร้าของไทยเติบโตขึ้นอย่างมาก และในขณะเดียวกัน ของเหลือจากอุตสาหกรรมน้ำปลาร้าก็มีมากขึ้นเช่นกัน หากไม่มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ จะนำมาซึ่งมลพิษทางสิ่งแวดล้อมได้

     และโครงการนี้เราได้ผู้ประกอบการที่มี Potential และมีความพร้อมที่จะนำผลงานวิจัยไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์มาร่วมลงทุน จึงถือเป็นการสร้างแรงกระเพื่อมที่สำคัญของวงการน้ำปลาร้า เพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ หันมาให้ความสำคัญกับการทำ R&D และซึ่งนอกจากจะเป็นการลดของเหลือจากโรงงาน และการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมน้ำปลาร้าของไทยอีกด้วย

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     โดยโครงการนี้เราได้มุ่งเป้าให้เกิดมูลค่าเศรษฐกิจหมุนเวียนเพิ่มขึ้นเป็น 41,200,000 บาท/ปี และการใช้กากปลาร้า 222 ตัน/ปี” บพข. มุ่งเน้นให้มีการใช้ประโยชน์จากกากปลาร้าซึ่งเป็นเศษเหลือในกระบวนการผลิตในหลากหลายรูปแบบ เพื่อลดการฝังกลบให้ได้มากที่สุด

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ

     นอกจากการแปรรูปเป็นผงกระดูกปลาเพื่อเสริมแคลเซียมในน้ำปลาร้าแล้ว ยังมีการนำกากปลาร้ามาผลิตเป็นซอสน้ำปลาร้าอเนกประสงค์จากกากข้าวคั่วที่เป็นเศษเหลือในกระบวนการผลิต ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการทดสอบรสชาติและการยอมรับจากผู้บริโภค มีการศึกษาวิธียืดอายุน้ำปลาร้าอเนกประสงค์ให้สามารเก็บได้ยาวนานขึ้นเพื่อรองรับการส่งออกต่างประเทศ รวมถึงการฆ่าเชื้อ และการปรับสภาวะความเป็นกรด-ด่างของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้

      ซึ่งเป็นโครงการย่อยที่ 2 นำโดย ผศ.ดร. อัมพร แซ่เอียว ภายใต้โครงการวิจัยนี้ และยังมีโครงการย่อยที่ 3 นำโดย รศ.ดร. สุภาภรณ์ พวงชมพู ในการนำกากปลาร้ามาผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยได้เริ่มทดลองศึกษากับพืชไร่จำพวก ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชระยะสั้น และที่มีการปลูกมากที่สุดในจังหวัดกาฬสิน โดยทีมวิจัยได้มีการพัฒนาสูตรน้ำหมักชีวภาพจากกากปลาร้า ทำให้ได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีค่าธาตุอาหารหลักเทียบเคียงหรือสูงกว่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์เหลว และให้ผลผลิตที่ดีกว่าเมื่อกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว

นวัตกรรมเปลี่ยนกากปลาร้าเหลือทิ้ง สู่โอกาสใหม่ทางธุรกิจ
     สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการเปลี่ยนของเหลือทิ้งในโรงงานซึ่งมีต้นทุนในการกำจัด กลายเป็นวัตถุดิบใหม่ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท โดยผ่านการวิจัยและพัฒนาภายใต้มาตรฐานสากล ด้วยทุนวิจัยจาก บพข. และการทำงานรวมกันของนักวิจัยและเอกชนผู้ใช้ประโยชน์

     ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้กับบริษัทเอกชนผู้ร่วมลงทุนแล้ว ยังสามารถขยายผลไปสู่อุตสาหกรรมอื่นได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ซึ่งขณะนี้ บริษัท เอเซียโมดิไฟด์สตาร์ช จำกัด ซึ่งเป็นโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังรายใหญ่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมทดลองปลูกมันสำปะหลังโดยใช้น้ำหมักชีวภาพจากกากปลาร้าที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกมันสำปะหลังและข้าวโพด ทั้งในด้านต้นทุนปุ๋ยที่ลดลง ผลผลิตที่ดีขึ้น รวมถึงคุณภาพของดินและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น จากการลดการใช้ปุ๋ยเคมี

ข่าวเด่น

สลด นักเรียนหญิง ม.3 โรงเรียนดังโคราช พลัดตกอาคารเรียน ล่าสุด เสียชีวิตแล้ว

สลด นักเรียนหญิง ม.3 โรงเรียนดังโคราช พลัดตกอาคารเรียน ล่าสุด เสียชีวิตแล้ว

ผู้โดยสารระทึกทั้งลำ จู่ๆ เครื่องบินโดนยิง ขณะลงจอด

ผู้โดยสารระทึกทั้งลำ จู่ๆ เครื่องบินโดนยิง ขณะลงจอด

พ่อ "น้องเฟรม" ร่ำไห้ แจ้งข่าวลูกชายจากไปอย่างสงบ หลังต่อสู้กับมะเร็ง 4 ปี

พ่อ "น้องเฟรม" ร่ำไห้ แจ้งข่าวลูกชายจากไปอย่างสงบ หลังต่อสู้กับมะเร็ง 4 ปี

ชายขับรถไล่ชนคนมาออกกำลังกายในศูนย์กีฬาดัง ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตน่าตกใจ

ชายขับรถไล่ชนคนมาออกกำลังกายในศูนย์กีฬาดัง ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตน่าตกใจ

สถิติหวยลาว หวยลาวออกวันพุธ ผลหวยลาว หวยลาวพัฒนา หวยลาว 13/11/67

สถิติหวยลาว หวยลาวออกวันพุธ ผลหวยลาว หวยลาวพัฒนา หวยลาว 13/11/67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading