ชุมชนยั่งยืน

heading-ชุมชนยั่งยืน

นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี

14 มิ.ย. 2567 | 16:24 น.
นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี

นักวิจัย จุฬาฯ พบหอยทากบกเรืองแสงตัวแรกของไทย และของโลกในรอบ 80 ปี เตรียมถอดรหัสพันธุกรรม ปูทางสู่การวิจัยทางการแพทย์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์ด้านการเรืองแสงของหอย

     "ชุมชนยั่งยืน" พามาติดตามเรื่องราวการค้นพบสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญทางระบบนิเวศของประเทศไทย โดยนักวิจัยไทย ครั้งเเรกของไทย สำหรับ "หอยทากบกเรืองแสง" สิ่งมีชีวิตที่ถูกถูกค้นพบเป็นครั้งแรกในโลกเมื่อปี พ.ศ. 2485 ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ดร.ยาตะ ฮาเนดะ (Dr. Yata Haneda) ซึ่งในเวลานั้น หอยทากสกุล Quantula ชนิดStriata ที่ค้นพบ จัดได้ว่าเป็นหอยทากบกเพียงชนิดเดียวในโลกที่เรืองแสงได้

นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี

80 ปีต่อมาเจอครั้งเเรกในประเทศไทยที่จังหวัดสระบุรี 

     อีกเกือบ 80 ปีต่อมา หอยบกที่มีความสามารถในการเรืองแสงถูกค้นพบอีกครั้งในประเทศไทย! โดยทีมนักวิจัยจุฬาฯ นำโดย ดร.อาทิตย์ พลโยธา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบหอยเรืองแสงตัวแรกของไทย เป็นหอยทากบกสกุล Phuphania ที่อาศัยอยู่บริเวณเขาหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี

“การค้นพบหอยเรืองแสงในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบนิเวศของไทยมีความหลากหลาย และน่าจะยังมีสัตว์หรือพืชพันธุ์อีกหลายอย่าง ที่มีเฉพาะในประเทศไทยหรือเฉพาะในภูมิภาคนี้เท่านั้น ที่รอให้เราค้นพบและศึกษา” 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี

เปิดประตูให้นักวิทยาศาสตร์ไทย ศึกษาข้อมูลเชิงลึกด้านการปรับตัว

     การค้นพบหอยทากบกเรืองแสงครั้งแรกในประเทศไทยนับเป็นการเปิดประตูให้นักวิทยาศาสตร์ไทยได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกด้านการปรับตัวและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย

นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี

ชนะผลโหวตอันดับ 1 “หอยนานาชาติ ประจำปี 2024”

     ทีมวิจัยได้ส่งข้อมูลเรื่องราวการค้นพบ “หอยทากบกเรืองแสงของไทย” เข้าร่วมแข่งขันในเวที “International Mollusc of the Year 2024” การแข่งขันที่เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกส่งผลงานที่ตนศึกษาหรือค้นพบเข้าประกวด และหอยทากบกเรืองแสงของไทยก็ชนะผลโหวตเป็นอันดับ 1 ถูกคัดเลือกให้เป็น “หอยนานาชาติ ประจำปี 2024”

ความสำคัญของการชนะผลโหวตนี้จะทำให้ไทยได้รับการสนับสนุนการถอดรหัสและศึกษาพันธุกรรมหอยทากชนิดดังกล่าวในลำดับต่อไป
 

นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี

จุดเริ่มต้นการค้นพบหอยเรืองแสง
     ดร.อาทิตย์เล่าว่า การค้นพบการเรืองแสงทางชีวภาพในหอยทาก เริ่มต้นจากทีมวิจัยของ ศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และอาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.จิรศักดิ์ สุจริต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิโยรส ทองเกิด และดร.อาทิตย์ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการของหอยทากบก พบว่าหอยทากบกสกุล Quantula ที่ค้นพบครั้งแรกจากนักวิจัยชาวญี่ปุ่นนั้นมีความใกล้ชิดกับหอยทากบกสกุล Phuphania ในประเทศไทย

     จึงน่าจะมีความเป็นไปได้เช่นกันที่ประเทศไทยจะมีหอยทากบกที่มีความสามารถในการเรืองแสง ทีมวิจัยนำโดย ดร.อาทิตย์จึงเริ่มวางแผนการศึกษาและสำรวจความหลากหลายของหอยทากบกในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย 

นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี
     ดร.อาทิตย์กล่าวว่าหอยทากบกเรืองแสงอยู่ในระบบนิเวศป่าเขตร้อนในประเทศไทย สามารถพบได้ทั้งในป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง ในบริเวณเขาหินปูนและที่ไม่ใช่เขาหินปูน อย่างไรก็ตาม การพบหอยทากบกก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

     “หอยทากบกเป็นสัตว์หายากประมาณหนึ่ง เพราะจะพบแพร่กระจายบางพื้นที่และพบเจอได้เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น นอกจากนี้ หอยทากเหล่านี้ขนาดไม่ใหญ่ หลบซ่อนตัวเก่ง และไม่เคลื่อนที่ แม้เราจะเดินเข้าไปใกล้ ๆ ทำให้ต้องใช้ความพยายามและความละเอียดอย่างมากในการมองหา” 

ราวหนึ่งปี ความพยายามในการค้นหาหอยทากบกที่มีความสามารถในการเรืองแสงก็สิ้นสุดลง ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2563 ดร.อาทิตย์และทีมวิจัย ค้นพบหอยทากบกเรืองแสงตัวแรกของไทย ที่อาศัยอยู่บริเวณเขาหินปูน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นักวิจัยไทยพบ “หอยทากบกเรืองแสง” ครั้งแรกในไทย และของโลกในรอบ 80 ปี

     จากนั้น ทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ก็เริ่มศึกษาวิจัยหอยทากบกเรืองแสงของไทยโดยร่วมมือกับทีมนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร. Yuichi Oba, Dr. Daichi Yano และ Gaku Mizuno จาก Chubu University ญี่ปุ่น ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษาสิ่งมีชีวิตเรืองแสง อาทิ ปลา ไส้เดือน และหิ่งห้อย

     การศึกษาวิจัยหอยทากบกเรืองแสงดำเนินไป 3 ปี ในที่สุด ผลงานวิจัยหอยทากบกเรืองแสงของไทยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Scientific Reports ฉบับที่ 13 ในปี 2566

 

การวิจัยเกี่ยวกับหอยในอนาคต
     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิโยรส ทองเกิด อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวถึงการวิจัยเกี่ยวกับหอยในอนาคตว่า หอยทากบกเรืองแสงของไทยที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น International Mollusc of the Year ในครั้งนี้จะได้นำไปวิเคราะห์และผลิตข้อมูลจีโนมฉบับเต็มต่อไป ซึ่งทางหน่วยงานผู้จัดจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

     “ข้อมูลจีโนม เป็นพิมพ์เขียวของสิ่งมีชีวิต หรือข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ๆ โดยนับรวมทั้งส่วนที่เป็นยีนและส่วนที่ไม่มีการถอดรหัสด้วย ซึ่งเราต้องการทราบว่ายีนใดที่ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออก แล้วทำให้หอยสามารถเรืองแสงได้ ข้อมูลที่ได้ก็จะต้องนำไปวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหอยเรืองแสงที่อยู่ในระบบนิเวศอื่น ๆ เช่น น้ำจืดและทะเล เพื่อให้เข้าใจวิวัฒนาการของการเรืองแสงในสัตว์กลุ่มนี้”

นอกจากการศึกษาเรื่องการเรืองแสงของหอยแล้ว ทีมวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ กำลังศึกษาเกี่ยวกับ “เมือกจากหอย” เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะในการผลิตเป็นผ้าก็อตพันแผล

     “ปัจจุบันทีมนักวิจัยได้ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศึกษาจีโนมของหอยเพื่อหาโปรตีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการผลิตเมือกเหนียว การค้นพบโปรตีนเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจกระบวนการทางชีวภาพที่ทำให้หอยสามารถผลิตเมือกที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวได้ และอาจนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้ในอนาคต” ดร.ปิโยรส กล่าวปิดท้าย


ขอบคุณภาพเเละข้อมูล : https://www.facebook.com/ChulalongkornUniversity

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง