ลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์ เช็กขั้นตอน-เงื่อนไข ได้ที่นี่!
กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมจัดงาน "มหกรรมแก้หนี้ออนไลน์" เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจนไม่สามารถชำระหนี้ได้
ลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์ เช็กขั้นตอน-เงื่อนไข ได้ที่นี่! วันที่ 27 กันยายน 2565 ด้านกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมจัดงาน "มหกรรมแก้หนี้ออนไลน์" เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยมีเจ้าหนี้เข้าร่วมกว่า 60 ราย ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่กำหนดให้ปี 2565 นี้
ระยะที่ 1 : "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์" ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เวลา 14.00 น. - 30 พ.ย. 65
ระยะที่ 2 : "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร" โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และธนาคารกรุงไทย ช่วงเดือน พ.ย. 65 - ม.ค. 66 โดยลูกหนี้สามารถลงทะเบียนล่วงหน้า ได้ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เพื่อรอรับบริการในงานแก้หนี้สัญจร เดือน พ.ย. 65 เป็นต้นไป
ประเภทหนี้ที่เข้าร่วม "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้"
หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล
เช่าซื้อรถ จำนำทะเบียนรถ
นาโนไฟแนนซ์
หนี้ที่โอนไป บบส.
สินเชื่อของ SFls
ขั้นตอนก่อนลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้
เช็กว่ามีหนี้ประเภทไหน
เช็กว่ามีหนี้กับผู้ให้บริการทางการเงินรายไหนบ้าง
ตรวจสอบรายได้ รายจ่ายว่าสามารถชำระหนี้ได้เท่าไร
ลูกหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ออนไลน์
ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้ รายได้ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบ ของโควิด 19 และยังไม่ได้รับความช่วยเหลือมาก่อน
ลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้ จากผลกระทบที่รายได้ยังไม่กลับมา เพราะสถานการณ์โควิด หรือค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น
มีเจ้าหนี้ที่เข้าร่วมได้แก่ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และ ธนาคารกรุงไทย ซึ่งมีการสัญจรใน 5 แห่ง ดังนี้
- กรุงเทพฯ
- ขอนแก่น
- เชียงใหม่
- หาดใหญ่
- ชลบุรี
ลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์
ลงทะเบียนแก้หนี้ ผ่านเว็บไซต์ www.bot.or.th/debtfair ตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. 65 เวลา 14.00 น.- 30 พ.ย. 65
ขั้นตอนและเงื่อนไขการแก้หนี้
หลังจากลูกหนี้ลงทะเบียนในช่วงวันที่ 26 ก.ย. – 30 พ.ย. 65 แล้ว เจ้าหนี้จะติดต่อกลับภายใน 18 วัน โดยเจ้าหนี้จะพิจารณาตามสถานะหนี้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้
เจ้าหนี้ที่เข้าร่วมมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ ออนไลน์
สถาบันการเงิน/ผู้ให้บริการทางการเงิน ภาคเอกชนและภาครัฐ (SFIs) กว่า 60 แห่ง ครอบคลุม หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ จำนำทะเบียนรถ ที่อยู่อาศัย นาโนไฟแนนซ์ สินเชื่อการเกษตร สินเชื่อธุรกิจ หนี้ค่าประกันชดเชย บสย. หนี้ที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) และสินเชื่อของผู้ให้บริการทางการเงินภาครัฐ