เศรษฐกิจ

heading-เศรษฐกิจ

กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนใหม่ 3 แนวทาง ต่ำสุด 4.18 บาทต่อหน่วย

08 มี.ค. 2567 | 14:41 น.
กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนใหม่ 3 แนวทาง ต่ำสุด 4.18 บาทต่อหน่วย

กกพ.เปิด 3 แนวทางราคาค่าไฟงวดใหม่เดือนพ.ค.-ส.ค. 67 ต่ำสุดอาจเท่าเดิมที่ 4.18 บาท และ สูงสุด 5.43 บาทต่อหน่วย พร้อมคืนหนี้ กฟผ. 14,000 ล้านบาท

กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนใหม่ 3 แนวทาง ต่ำสุด 4.18 บาทต่อหน่วย 

กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนใหม่ 3 แนวทาง ต่ำสุด 4.18 บาทต่อหน่วย

ล่าสุด วันที่ 8 มีนาคม นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 11/2567 (ครั้งที่ 896) เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจริงประจำรอบเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2567 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 8 – 22 มีนาคม 2567 ดังนี้

กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนใหม่ 3 แนวทาง ต่ำสุด 4.18 บาทต่อหน่วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรณีที่ 1 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างทั้งหมดในงวดเดียว) แบ่งเป็น ค่าเอฟทีขายปลีกประมาณการ
ที่สะท้อนต้นทุนเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2567 จำนวน 19.21 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชำระภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. จำนวน 99,689 ล้านบาท ในงวดเดียวหรือ 146.03 สตางค์ต่อหน่วย รวมเป็นค่าเอฟทีเรียกเก็บ 165.24 สตางค์ต่อหน่วยสำหรับเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2567 เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นเป็น 5.4357 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 2 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 4 งวด) แบ่งเป็นค่าเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2567 จำนวน 19.21 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชำระภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. จำนวน 99,689 ล้านบาท ภายใน 4 งวดๆ ละ จำนวน 24,922 ล้านบาท หรือ 36.51 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าเอฟทีเรียกเก็บที่ 55.72 สตางค์ต่อหน่วยสำหรับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2567 เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วยแล้วทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็น 4.3405 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 3 (ตรึงค่าเอฟทีเท่ากับงวดปัจจุบันตามที่ กฟผ. เสนอ หรือจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างประมาณ 7 งวด) แบ่งเป็นค่าเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2567 จำนวน 19.21 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชำระภาระต้นทุนคงค้าง กฟผ. จำนวน 99,689 ล้านบาท ประมาณ
7 งวดๆ ละ จำนวน 14,000 ล้านบาท หรือ 20.51 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าเอฟทีเรียกเก็บคงเดิมที่ 39.72 สตางค์ต่อหน่วยสำหรับเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2567 เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย แล้วทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็น 4.1805 บาทต่อหน่วย เท่ากับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในงวดปัจจุบัน

 

ทั้งนี้ ทั้ง 3 กรณีดังกล่าวข้างต้น ยังไม่รวมเงินภาระคงค้างค่าก๊าซที่เกิดจากนโยบายที่ให้รัฐวิสาหกิจที่นำเข้าก๊าซเรียกเก็บราคาค่าก๊าซเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 คงที่ตามมติ กพช. จึงมีส่วนต่างราคาก๊าซที่เกิดขึ้นจริงและราคาก๊าซที่เรียกเก็บ (AF Gas) โดยภาระดังกล่าวยังคงค้างที่ ปตท. (เฉพาะในส่วนของการผลิตไฟฟ้าเพื่อขายเข้าระบบ) เป็นจำนวนเงิน 12,076 ล้านบาท และยังคงค้างที่ กฟผ. เป็นจำนวนเงิน 3,800 ล้านบาท

นายคมกฤช กล่าวว่า ผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุน ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ทั้ง 3 กรณีที่กล่าวข้างต้นนั้น เป็นไปตามการประมาณการต้นทุนเชื้อเพลิงโดย ปตท. และ กฟผ. นำค่าประมาณการดังกล่าวมาคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้า ซึ่งสำนักงาน กกพ. ได้จัดทำสรุปสมมุติฐานที่ใช้ในการประมาณการค่าเอฟทีรอบคำนวณเดือนมกราคม – เมษายน 2567 เทียบกับการคำนวณในปีฐาน พฤษภาคม – สิงหาคม 2558 และรอบประมาณการค่าเอฟทีเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2567

นายคมกฤช ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้ารอบ พฤษภาคม – สิงหาคม  2567 ลดลงมีสาเหตุหลักมาจากต้นทุนราคา LNG ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและส่งผลทำให้ราคาประมาณการ Pool Gas ลดลงจาก 333 ล้านบาทต่อล้านบีทียู เป็น 300 ล้านบาทต่อล้านบีทียู

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าแหล่งเอราวัณจะมีแผนทยอยปรับเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติจาก 400 เป็น 800 ล้านลูกบากฟุตต่อวันในเดือนเมษายน 2567 แต่ประมาณการปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ได้จากอ่าวไทยเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้ายังคงอยู่ในระดับเดิมหรือลดลงเล็กน้อย อีกทั้งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเมียนมาร์ยังมีแนวโน้มที่ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องนำเข้า LNG เพื่อเสริมปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ขาดหายและเสริมความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นในปัจจุบันและในช่วงฤดูร้อนที่กำลังจะมาถึง

กกพ. เคาะค่าไฟงวดเดือนใหม่ 3 แนวทาง ต่ำสุด 4.18 บาทต่อหน่วย
สำนักงาน กกพ. จึงขอเชิญชวนผู้ใช้ไฟฟ้าร่วมกันตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ ให้มีสภาพการใช้งานที่ดี เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศร้อน ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้า LNG ลดการเกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดรอบใหม่ (New Peak Demand) ในระบบไฟฟ้า และยังช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเองด้วย


นอกจากนี้ กกพ. ยังฝากถึงผู้ใช้ไฟฟ้าช่วงหน้าร้อนขอให้ประหยัดไฟฟ้า แม้ต้นทุนไฟฟ้าจะลดลง แต่หากใช้ไฟฟ้าปริมาณมากจะยิ่งดันให้ค่าไฟฟ้าต่อเดือนสูงขึ้น เดินในช่วงที่อากาศร้อน อาจ การใช้ไฟฟ้าอาจพีคสูงขึ้นอีก หากเทียบจากวันที่ 6 พ.ค. 2566 มีการใช้ไฟฟ้าสูง 34,130 เมกะวัตต์ จากอุณหภูมิอยู่ที่ 33 องศาฯ ขณะที่วันที่ 7 มีนาคม 2567 ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 32,508 เมกะวัตต์   หากไม่มีการประหยัดไฟฟ้าอาจทำให้ กกพ. ต้องมีการประชุมด่วนเพื่อพิจารณานำเข้าก๊าซฯLNG เพิ่มขึ้นด้วย

 

ข่าวเด่น

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

"น้ำท่วมยะลาล่าสุด" อ่วมหนักในรอบ 20ปี ประกาศเตือนภัยยกของขึ้นที่สูง

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์ มอบของขวัญปีใหม่ สิทธิ์ใช้ประกันรถเปิดปิด ฟรี 1เดือน

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

โครงการ รวมใจภักดิ์รักษ์ทะเลไทยใสสะอาด เฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"แอนนา" ไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลสั่งจำคุก 100 ปี ยินดีรับสภาพ

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

"หวยลาววันนี้" 27/11/67 หวยลาววันนี้ ออกอะไร หวยลาว ผลหวยลาววันนี้ 27พ.ย.67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง