ต่างประเทศ

heading-ต่างประเทศ

พบวาฬดึกดำบรรพ์ อาจเป็นสัตว์ที่หนักที่สุดในโลก ต้องใช้เวลาในการขนย้าย 3 ปี

03 ส.ค. 2566 | 21:22 น.
พบวาฬดึกดำบรรพ์ อาจเป็นสัตว์ที่หนักที่สุดในโลก ต้องใช้เวลาในการขนย้าย 3 ปี

ฮือฮา ผลการศึกษาล่าสุดพบวาฬดึกดำบรรพ์ อาจเป็นสัตว์ที่หนักที่สุดในโลกเท่าที่เคยบันทึกไว้ ต้องใช้เวลาในการขนย้ายถึง 3 ปี

พบวาฬดึกดำบรรพ์ อาจเป็นสัตว์ที่หนักที่สุดในโลก ต้องใช้เวลาในการขนย้าย 3 ปี : กำลังเป็นที่ฮือฮาอย่างมาก หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ เปิดเผยเมื่อวันพุธ (2 สิงหาคม 2566) ว่า พบฟอสซิลกระดูก 18 ชิ้นของวาฬดึกดำบรรพ์ ในทะเลทรายทางภาคใต้ของเปรูเมื่อ 13 ปีที่แล้ว แต่ด้วยขนาดและรูปร่างของชิ้นส่วนที่พบต้องใช้เวลา 3 ปี ในการขนย้ายไปยังกรุงลิมา เมืองหลวงของเปรู หลังจากนั้นก็มีการศึกษาวิจัยเรื่อยมา และเชื่อว่า วาฬตัวนี้อาจมีชีวิตอยู่เมื่อ 39 ล้านปีที่แล้ว พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า เปรูซิตัส โคลอสซัส (Perucetus colossus)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยปัจจุบันฟอสซิลถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงลิมา ชิ้นส่วนที่พบเป็นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล ที่เรียกว่า บาซิโลซอริดส์ (Basilosaurids) ที่เป็นบรรพบุรุษของวาฬยุคโบราณ ประกอบด้วย กระดูกสันหลังขนาดใหญ่ 13 ชิ้น , กระดูกซี่โครง 4 ชิ้น และส่วนหนึ่งของกระดูกสะโพก แม้ชิ้นส่วนที่พบเป็นเพียงบางส่วน แต่นักวิทยาศาสตร์ก็สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับสัตว์ชนิดนี้ได้อย่างมาก 

 


นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ คาดว่า วาฬตัวนี้มีความยาวเกือบ 17-20 เมตร ซึ่งไม่ได้ยาวมาก แต่มวลกระดูกอย่างเดียวอาจมีน้ำหนักระหว่าง 5.3 - 7.6 ตัน  และเมื่อรวมอวัยวะ กล้ามเนื้อ และไขมัน อาจมีน้ำหนักตัวรวมระหว่าง 85 - 340 ตันตามแต่ข้อสันนิษฐาน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เลือกใช้ค่าเฉลี่ยที่ 180 ตัน

 


ขณะที่วาฬสีน้ำเงินในยุคปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่ตัวใหญ่ที่สุดและหนักมากที่สุดในโลก และเท่าที่กินเนส เวิลด์ เรคคอร์ด เคยบันทึกไว้ วาฬสีน้ำเงินตัวใหญ่ที่สุดมีน้ำหนักตัว 190 ตัน  

 


แต่นักวิจัยระมัดระวังที่จะไม่ประกาศว่า วาฬดึกดำบรรพ์ที่พบสามารถทำสถิติเป็นสัตว์ที่น้ำหนักมากที่สุดในโลก โดยบอกว่า ยังไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่า มันเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

ด้าน ดร. เอลี แอมสัน ผู้ร่วมจัดทำรายงานการวิจัยการค้นพบฟอสซิลวาฬครั้งนี้ เปิดเผยว่า เปรูซิตัส โคลอสซัส อาจมีลักษณะหัวเล็กมากเมื่อเทียบกับลำตัว เหมือนกับ บาซิโลซอริด ตัวอื่นๆ แต่ยังไม่มีหลักฐานจากกระดูกเพื่อยืนยันสิ่งนี้  และเมื่อไม่พบหลักฐานส่วนฟัน ทำให้ไม่อาจบอกได้ว่า มันกินอาหารประเภทใด ขณะที่นักวิจัยมั่นใจว่า วาฬตัวนี้อาศัยอยู่ในน้ำตื้นในสภาพแวดล้อมริมชายฝั่ง เพราะกระดูกมีน้ำหนักมากเป็นพิเศษ โดยโครงกระดูกทั้งหมดอาจมีน้ำหนัก 5 - 7 ตัน มากกว่าสองเท่าของโครงกระดูกของวาฬสีน้ำเงิน

 

ทั้งนี้ เปรูซิตัส โคลอสซัส จำเป็นต้องมีกระดูกที่หนักเพื่อให้สมดุลกับปริมาณไขมันระหว่างผิวหนังและกล้ามเนื้อของวาฬ และลมในปอด ซึ่งอาจทำให้มันสามารถลอยขึ้นสู่ผิวน้ำได้ และดร. แอมซัน อธิบายว่า เมื่อความหนาแน่นของกระดูกและปริมาณไขมันสมดุลกัน จะทำให้สัตว์ขนาดใหญ่ตัวนี้สามารถลอยอยู่ในน้ำลึกราว 10 เมตรโดยไม่ต้องขยับกล้ามเนื้อ

 

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

ราชกิจจาฯ ประกาศ พ.ร.ก.ไซเบอร์ 2 ฉบับ ธนาคาร-ค่ายมือถือ รับผิดด้วย

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

เพื่อนสนิท "ณิชา" ฟาดเดือด หลัง "มายด์" เปิดปากสัมพันธ์ "โตโน่"

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

กัน จอมพลัง ซัดคนขับ BMW ลุงป้ายกมือไหว้ขอโทษ ยังเดือดไม่หยุด

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

"พาณิชย์" เผยผลไม้ไทยนิยมในยูเออี คนรุ่นใหม่-กลุ่มกำลังซื้อสูง

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่

เคลื่อนไหวทันที เฟิร์สพี่ชายณิชา โพสต์ฟาดหลังเห็นแชทโตโน่