ต่างประเทศ

heading-ต่างประเทศ

สาวโดนไล่ออก ไม่ถึงเดือนเจ้านายต้องซมซานกลับมาง้อ - ขึ้นเงินเดือนให้ด้วย

15 พ.ค. 2567 | 16:43 น.
สาวโดนไล่ออก ไม่ถึงเดือนเจ้านายต้องซมซานกลับมาง้อ - ขึ้นเงินเดือนให้ด้วย

รอยยิ้มผู้ชนะ สาวโดนไล่ออกจากบริษัท ไม่ถึงเดือนเจ้านายต้องซมซานกลับมาง้อให้ไปทำงาน แถมยอมขึ้นเงินเดือนให้ด้วย

การเติบโตเป็นผู้ใหญ่นั้นมักมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ซึ่งหลายคนมักจะจัดการตัวเองในเรื่องนี้ได้ดี จนทำให้ในโลกของการทำงานนั้นเจ้านายต้องกลับมาง้อให้ไปทำงานดั่งเนื่องของ หญิงมาเลเซียรายนี้ ที่จู่ๆ ก็โดนนายจ้างไล่ออก แต่ไม่นาน ฝ่ายนายจ้างก็ซมซานมาง้อให้เธอกลับไปทำงาน
 

 

สาวโดนไล่ออก ไม่ถึงเดือนเจ้านายต้องซมซานกลับมาง้อ - ขึ้นเงินเดือนให้ด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เรื่องราวนี้ถูกรายงานอย่างมากในสื่อต่างประเทศ เหตุการณ์เกิดขึ้นประมาณเดือนเมษายน 2567 ของ จัสมิน ผู้จัดการโปรเจกต์ของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งหนึ่ง ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้ออกมาเล่าเรื่องที่เธอถูกไล่ออกจากงานอย่างไม่เป็นธรรม แต่เพียงแค่ 6 สัปดาห์ต่อมา ก็ได้รับการว่าจ้างให้กลับไปทำงานเดิมอีกครั้ง พร้อมเงินเดือนที่เพิ่มขึ้น 50%


โดย จัสมิน เล่าว่า เธอได้มีโอกาสร่วมเป็นหนึ่งในกรรมการ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลโปรเจกต์พัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมดของบริษัท และในอีก 2 ปีต่อมา บริษัทก็มีความมั่นคงมากขึ้น มีทั้งลูกค้าและงานประจำ

  


ซึ่งจริงๆ ในจุดนี้บริษัทควรจะเปลี่ยนไปใช้เครื่องมือและระบบที่มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้นในการทำงานได้แล้ว แต่พนักงานทุกคนยังต้องใช้แล็ปท็อปส่วนตัว และไม่มีอุปกรณ์ในการสื่อสารหรือซอฟต์แวร์จัดการโปรเจกต์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ภายใน ดังนั้น จัสมินจึงสร้างระบบจัดการโปรเจก์ทั้งหมดขึ้น บนสเปรดชีตออนไลน์ของกูเกิล
 

 

นอกจากนี้เธอยังสร้างชุดสมุดงานขึ้นมา ซึ่งแต่ละสมุดงานจะเชื่อมโยงไปยังสเปรดชีตต่างๆ รวมถึงโยงไปถึงสมุดงานอื่นๆ หรือกล่าวคือเธอเป็นคนสร้างระบบจัดการโปรเจกต์ของบริษัทด้วยตัวเองตั้งแต่ต้น ทำให้เธอเป็นเพียงคนเดียวที่เข้าใจความซับซ้อนในระบบ ตราบเท่าที่เธอคอยอัปเดตข้อมูล ก็จะสามารถปรับสมดุลของข้อกำหนดโครงการ กับทรัพยากรที่บริษัทมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้ส่งมอบชิ้นงานได้

 

สาวโดนไล่ออก ไม่ถึงเดือนเจ้านายต้องซมซานกลับมาง้อ - ขึ้นเงินเดือนให้ด้วย

แต่ข้อมูลที่เธอมี ทำให้เธอมักขัดแย้งกับทีมพัฒนาธุรกิจและเจ้าของบริษัทอยู่เสมอ เพราะเธอมักยืนกรานเรื่องกำหนดเดดไลน์ที่สามารถทำได้จริง เธอยังถูกคนอื่นๆ ไม่ชอบหน้าและตวาดใส่ โดยอ้างว่าเธอทำให้พวกเขาต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการล้มโปรเจกต์ต่างๆ ที่เธอยืนกรานว่าทำไม่ได้


 

จัสมินชี้ว่า หากมองความเป็นจริง ความฝันอันสูงส่งของเจ้าของบริษัทนั้นไม่สามารถบรรลุได้ด้วยทรัพยากรและกำลังคนที่มี แต่เขายังอดทนกับเธอมาตลอด เพราะเธอเป็นคนช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ มากมาย และยังมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ ซึ่งบางครั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย

 


เมื่อเวลาผ่านไป เธอมีส่วนช่วยสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์แก่บริษัท ด้านการส่งมอบงานที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ตรงต่อเวลา และอยู่ภายใต้งบประมาณ แต่ปัญหาก็เริ่มขึ้นเมื่อทางบริษัทได้เซ็นสัญญากับลูกค้ารายใหม่ 2 เจ้า ทำให้มีโปรเจกต์งอกมาอีก 3 โครงการ ระหว่างการประชุมเธอชี้แจงว่า เธอจำเป็นต้องรับพนักงานใหม่เพิ่มอีก 3 คน เพื่อช่วยจัดการ 9 โปรเจกต์ที่ดำเนินไปพร้อมๆ กัน 

 


แต่เจ้าของบริษัทไม่แฮปปี้ เขาอ้างว่าไม่มีเงินเหลือในงบประมาณแล้ว เพราะเขารู้ว่าการรับพนักงานเพิ่มหมายถึง ตัวเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมายในการสรรหาคน รวมถึงเทรนพนักงานใหม่
 

 


ทว่า เจ้านายอาจจะลืมไปว่าเธอเป็นคนดูแลระบบจัดการโปรเจกต์ ซึ่งมีการคำนวณข้อมูลงบประมาณทั้งหมดสำหรับโปรเจกต์อยู่แล้ว รวมถึงกำลังคน เอกสารต่าง ๆ ล้วนสร้างขึ้นจากฐานข้อมูลที่เธอมี การมาบอกว่าไม่มีงบประมาณในส่วนนี้จึงเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล เพราะเธอเห็นอยู่ชัด ๆ แล้วว่ามีเกินพอ แต่เธอก็เลือกจะปิดปากเงียบ ไม่ได้เถียงอะไร ทำอะไรไม่ได้นอกจากต้องเอาตัวรอดจากงานอันหนักหน่วงให้ได้อีก 6 เดือน

 

จัสมินเผยว่า สถานการณ์ของเธอเริ่มเลวร้ายลงก่อนช่วงตรุษจีนปี 2562 ตอนที่บริษัทไม่จ่ายโบนัสประจำปีแก่เธอ แถมไม่ขึ้นเงินเดือนให้ด้วย ทำให้เธอพอรู้ว่าจะถูกคนมาแทนที่ จากนั้นอยู่ๆ ทางบริษัทก็รับพนักงานใหม่มาเข้าทีมของเธออีก 2 คน โดยที่มีเงินเดือนรวมกันอยู่ที่ 85% ของเธอ ทำให้จัสมินเริ่มรู้แล้วว่ามีบางอย่างไม่ชอบมาพากล แต่เธอก็ไม่คิดจะฝืนสู้กับใคร แค่ตั้งใจเทรนพนักงานใหม่และทำงานของตัวเองต่อไป  

สาวโดนไล่ออก ไม่ถึงเดือนเจ้านายต้องซมซานกลับมาง้อ - ขึ้นเงินเดือนให้ด้วย

กระทั่งวันที่เด็กใหม่ผ่านการทดลองงาน HR ได้เรียกเธอไปพบ ซึ่งเนื้อหาการพูดคุยไม่มีอะไรผิดคาด พวกเขาให้เธอออกจากงานพร้อมเสนอเงินชดเชยให้ รวมถึงให้เธอมี Garden leave หรือให้หยุดทำงานแต่ยังได้รับค่าตอบแทน ซึ่งเธอก็เลือกที่จะตอบรับและลงนามในเอกสารที่จำเป็น ไม่ได้ประท้วงเรื่องที่ได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

 


ในวันที่เธอลงนามเพื่อรับเงินชดเชยนั้นเอง จัสมินก็หยุดอัพเดตข้อมูลฟิลด์หนึ่งลงในสมุดงาน มันเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ท่ามกลางข้อมูลมากมายที่มีความจำเป็น แต่การที่ข้อมูลไม่ได้รับการอัปเดต ทำให้ผลที่ได้จากระบบคำนวณอัตโนมัติเริ่มไม่ถูกต้อง


 

ข้อมูลที่ผิดพลาด เริ่มต้นจากการคลาดเคลื่อนเล็กๆ ในระดับจุดทศนิยม แต่จากนั้นก็จะยิ่งเลวร้ายขึ้น และส่งผลกระทบต่อการคำนวณอื่น ๆ ในสมุดงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกำหนดเดดไลน์ รายงานกิจกรรม การติดตามความคืบหน้า รวมถึงการประเมินค่าใช้จ่าย ล้วนมีความคลาดเคลื่อนในระดับที่ไม่สามารถสังเกตได้ และเมื่อปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ สิ่งเลวร้ายก็จะตามมา  
 

 

จากจุดที่สร้างปัญหาเป็นเพียงหนึ่งในหลายร้อยตัวแปรของสูตรคำนวณ ที่ไม่มีทางรู้ได้ว่าจะต้องมองหาจากจุดไหน การจะแก้ไขต้องอาศัยคนมาตรวจสอบข้อมูลทุก ๆ อย่าง ซึ่งต้องใช้เวลานานหลายสิบชั่วโมง และต่อให้หาจุดที่เป็นปัญหาเจอ ก็คงไม่มีใครเข้าใจการทำงานของมัน นอกจากจัสมินที่เป็นคนสร้างระบบ

 

เป็นไปตามคาดว่าบริษัทยังเดินหน้าต่อไป แบบร่วงลงเหว ในช่วงที่จัสมินต้องหยุดทำงาน จำนวนเงินในงบประมาณก็เริ่มคลาดเคลื่อนในระดับหลายร้อยริงกิต กำหนดการต่าง ๆ ในโปรเจกต์เริ่มเลื่อนไป 1-2 วัน แต่ก็ยังไม่ได้มีปัญหาใหญ่อะไร แต่จากนั้น ทางบริษัทก็ได้เจอลูกค้าใหม่หลายราย ทำให้มีอีกหลายโปรเจกต์งอกมา 

 

ซึ่งทั้งหมดนี้ทางเจ้าของบริษัทรอให้จัสมินออกไปก่อนจึงเริ่มทำ เพราะเขารู้ว่าเธอจะต้องคัดค้านและพยายามขัดขวาง เนื่องจากทางบริษัทมีกำลังคนไม่เพียงพอ หลังพ้นช่วง Garden leave จัสมินก็เตรียมที่จะเดินหน้าไปหาอะไรทำต่อ แต่เพียงแค่ 1 สัปดาห์หลังพ้นสถานะพนักงานอย่างเป็นทางการ รุ่นน้องคนหนึ่งก็โทร. มาขอความช่วยเหลือจากเธอ ซึ่งจัสมินได้ปฏิเสธไป


จากนั้น จัสมินก็ได้รีบอีเมลฉบับหนึ่งจากเจ้าของบริษัท ที่ส่งมาขอร้องเธออย่างสุภาพว่า "ได้โปรดกลับมา" ในจุดนี้เธอตกลงที่จะเข้าไปประเมินสถานการณ์ก่อน และตอนที่เธอได้ดูสเปรดชีต ก็พบว่าทุกอย่างดูเละเทะมาก เรียกว่าหากระบบจัดการโปรเจกต์ไม่สามารถใช้งานได้จริง พนักงานจะต้องถูกความกดดันและความเหนื่อยล้ากดทับจนเบิร์นเอาต์ อีกทั้งเธอคาดการณ์ว่าอีกแค่ 6 สัปดาห์ บริษัทก็จะต้องได้รับความกดดันจากการไม่สามารถส่งงานได้ทันเดดไลน์

 

จากนั้นเธอก็นั่งคุยกับเจ้าของบริษัท ชี้ว่าสถานการณ์ตอนนี้ยังพอสามารถกู้คืนได้ แต่เขามีราคาที่ต้องจ่ายเช่นกัน ซึ่งเจ้าของบริษัทก็พร้อมรับทุกความต้องการที่เธอเรียกร้อง ทั้งการให้ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริการโปรเจกต์ ขึ้นเงินเดือน 50% ให้โบนัส 6 เดือน และขึ้นเงินเดือนทุกปีให้สอดรับกับค่าครองชีพ


สุดท้ายเธอก็ได้กลับมาทำงานกับบริษัทเดิม ซึ่งเธอใช้เวลา 2-3 สัปดาห์จากนั้นในการควบคุมความเสียหาย และกู้ระบบการทำงานให้กลับมาเป็นปกติ และเรื่องก็จบลงอย่างแฮปปี้ โดยที่ตอนนี้ฝ่ายบริหารต้องรับฟังสิ่งที่เธอพูด หากเธอไม่ยอมให้โปรเจกต์ผ่าน  


อย่างไรก็ตาม  จัสมินชี้ว่า หลายคนคงสงสัยว่าเธอไม่กลัวบริษัทหาคนมาแทนอีกหรือ แต่เธอคิดว่าพวกเขาได้รับบทเรียนแล้วว่าการปล่อยให้เธอทำงานต่อ จะเป็นประโยชน์กับพวกเขาที่สุด จริงอยู่ว่าตลาดงานตอนนี้มีคนที่พร้อมเข้ามาแทนที่คนเดิมได้เสมอ แต่หากเรารู้ชัดว่าตัวเองมีคุณค่าอะไรกับบริษัท ก็สามารถมั่นใจได้ว่าบริษัทจะตระหนักถึงคุณค่าของเราในที่สุด

สาวโดนไล่ออก ไม่ถึงเดือนเจ้านายต้องซมซานกลับมาง้อ - ขึ้นเงินเดือนให้ด้วย

ข้อมูลจาก World of Buzz

 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ลูกค้าใจหาย ร้านอาหารดัง "บ้านชิดกรุง กุ้งเผา" ประกาศปิดกิจการ

ลูกค้าใจหาย ร้านอาหารดัง "บ้านชิดกรุง กุ้งเผา" ประกาศปิดกิจการ

อ.เป็นหนึ่ง เผย 3 แนวโน้มแผ่นดินไหวในไทย จับตาลอยเลื่อนกาญจน์

อ.เป็นหนึ่ง เผย 3 แนวโน้มแผ่นดินไหวในไทย จับตาลอยเลื่อนกาญจน์

เปิดจำนวนเงินเยียวยา เหยื่อตึกถล่ม ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่

เปิดจำนวนเงินเยียวยา เหยื่อตึกถล่ม ประกันสังคมจ่ายเท่าไหร่

"บ.ค้าทองดัง" ปิดหนีลูกค้า นายกสมาคมค้าทอง คาดสาเหตุที่แท้จริง

"บ.ค้าทองดัง" ปิดหนีลูกค้า นายกสมาคมค้าทอง คาดสาเหตุที่แท้จริง

CP ALL Education Forum 2025 แจกทุน 1,648 ล้าน ปั้นเยาวชน รับมือยุค AI

CP ALL Education Forum 2025 แจกทุน 1,648 ล้าน ปั้นเยาวชน รับมือยุค AI