ส่องรายชื่อ ว่าที่ ส.ส. "ปาร์ตี้ลิสต์" ล่าสุด เป็นประวัติศาสตร์ประเทศไทย
ส่องรายชื่อ ว่าที่ ส.ส. "ปาร์ตี้ลิสต์" ล่าสุด เป็นประวัติศาสตร์ประเทศไทย คนรุ่นใหม่พาเหรดเข้าสภา บิ๊กเนม กระเด็นเพียบ
ส่องรายชื่อ ว่าที่ ส.ส. "ปาร์ตี้ลิสต์" ล่าสุด เป็นประวัติศาสตร์ประเทศไทย : เป็นเอกฉันท์เรียบร้อย สำหรับชัยชนะของ พรรคก้าวไกล หลังจากที่ นักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้แถลงข่าวสรุปภาพรวมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เป็นการทั่วประเทศ พ.ศ.2566
จากการเลือกตั้งวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยมีผู้มาใช้สิทธิทั้งหมด 39,293,867 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ 52,238,594 คน คิดเป็นจำนวนผู้มาใช้สิทธิโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ 75.22% ถือว่าเป็นจำนวนสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์
ขณะที่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกรัฐมนตรี นำส.ส.ขึ้นรถแห่รอบกรุง ขอบคุณประชาชนที่ไว้วางใจ หลังได้รับการโหวตอย่างท้วมท้น ก่อนที่เจ้าตัวจะโพสต์ลงเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า พร้อมเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยทุกคน พร้อมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง ความคิดเห็นที่แตกต่างจะทำให้ตนเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีขึ้น
"ผมพร้อมเคารพ ให้เกียรติ และต่อยอดจากการต่อสู้ของทุกฝ่ายที่ผ่านมาเพื่อประชาธิปไตย พร้อมคืนศรัทธาให้ระบอบประชาธิปไตยและระบบรัฐสภา คืนความโปร่งใสและความมีประสิทธิภาพให้กับการเมืองไทย และผู้แทนราษฎรทุกคน"
เกี่ยวกับเรื่องนี้ สำหรับ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ กกต.ประกาศผลอย่างไม่เป็นทางการ มีพรรคการเมืองที่ได้เก้าอี้ไปทั้งหมด 17 พรรคการเมือง แต่ละพรรคมีรายชื่อดังนี้
พรรคก้าวไกล ได้ 39 ที่นั่ง ประกอบด้วย
1. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
2. นายชัยธวัช ตุลาธน
3. น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล
4. นายเซีย จำปาทอง
5. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
6. นายอภิชาติ ศิริสุนทร
7. นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร
8. นายรังสิมันต์ โรม
9. นายสิทธิพล วิบูลย์ธนากุล
10.นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ
11. นายพริษฐ์ วัชรสินธุ
12. นายณัฐวุฒิ บัวประทุม
13. นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ
14. น.ส.เบญจา แสงจันทร์
15. นายชัยวัฒน์ สถาวรวิจิตร
16. นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์
17. นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง
18. นายประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร
19. นายมานพ คีรีภูวดล
20. นายรอมฎอน ปันจอร์
21. นายกรุณพล เทียนสุวรรณ
22. นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
23. นายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี
24. นายศุภโชติ ไชยสัจ
25. น.ส.ศนิวาร บัวบาน
26. นายนิติพล ผิวเหมาะ
27.น.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์
28. น.ส.ปารมี ไวจงเจริญ
29. นายวรภพ วิริยะโรจน์
30. นายสุรวาท ทองบุ
31. นายคำพอง เทพาคำ
32. น.ส.วรรณวิภา ไม้สน
33. นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล
34. นายองค์การ ชัยบุตร
35. น.ส.ชุติมา คชพันธ์
36.นายจุลพงศ์ อยู่เกษ
37.น.ส.กัลยพัชร รจิตโรจน์
38. นายณรงเดช อุฬารกุล
39. น.ส.ภคมน หนุนอนันต์
พรรคเพื่อไทย 29 ที่นั่ง ประกอบด้วย
1. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
2. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
3. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
4. รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ศิรินิล
5. ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง
6. นายเกรียง กัลป์ตินันท์
7. ดร.สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
8. นายสุชาติ ตันเจริญ
9. ดร.สุทิน คลังแสง
10. ศาสตราจารย์พิเศษชัยเกษม นิติสิริ
11. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
12. นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ
13. นายจาตุรนต์ ฉายแสง
14. นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร
15. นายนพดล ปัทมะ
16. นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์
17. นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์
18. รองศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เพียงเกษ
19. นายนิคม บุญวิเศษ
20. นางสาวขัตติยา สวัสดิผล
21. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล
22. นางประวีณ์นุช อินทปัญญา
23. นายสุรเกียรติ เทียนทอง
24. นายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์
25. นายดนุพร ปุณณกันต์
26. ดร.อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด
27. พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี
28. นายสุธรรม แสงประทุม
29. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
พรรครวมไทยสร้างชาติ 13 ที่นั่ง ประกอบด้วย
1. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
2. นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
3. นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์
4. หม่อมหลวง ชโยทิต กฤดากร
5. นายสุชาติ ชมกลิ่น
6. นางพิชชารัตน์ เลาหพงศ์ชนะ
7. นายวิทยา แก้วภราดัย
8. นายชัชวาลล์ คงอุดม
9. นายจุติ ไกรฤกษ์
10.นายธนกร วังบุญคงชนะ
11. นายเกรียงยศ สุดลาภา
12. นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรื่อง
13. นายชัยวัฒน์ เป้าเปี่ยมทรัพย์
พรรคภูมิใจไทย 3 ที่นั่ง ประกอบด้วย
1. นายอนุทิน ชาญวีรกูล
2. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
3. นายทรงศักดิ์ ทองศรี
พรรคประชาธิปัตย์ 3 ที่นั่ง ประกอบด้วย
1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
2. นายชวน หลีกภัย
3. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
พรรคประชาชาติ 2 ที่นั่ง ประกอบด้วย
1.นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา และ 2.พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
พรรคพลังประชารัฐ 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
พรรคเสรีรวมไทย 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1. พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
พรรคไทยสร้างไทย 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.นายสุรทิน พิจารณ์
พรรคใหม่ 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.นายกฤดิทัช แสงธนโยธิน
พรรคชาติพัฒนากล้า 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
พรรคท้องที่ไทย 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.นายบัญชา เดชเจริญศิริกุล
พรรคเป็นธรรม 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.นายกัณวีร์ สืบแสง
พรรคชาติไทยพัฒนา 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.นายวราวุธ ศิลปอาชา
พรรคพลังสังคมใหม่ 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.นายเชาวฤทธิ์ ขจรพงศ์กีรติ
และ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน 1 ที่นั่ง ประกอบด้วย 1.นายปรีดา บุญเพลิง
อย่างไรก็ตามจากรายชื่อดังกล่าวเผยให้เห็นว่า เป็นคนใหม่ๆ ที่ไม่ค่อยคุ้นชื่อ ส่วน "บิ๊กเนม" ทั้งหลายกระเด็นเพียบ ไม่ได้เข้าสภาในครั้งนี้ นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่าประชาชนจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงแล้วในประเทศไทย