"พิธา" ลุกโต้กลับ "ชาดา" หลังให้เลิกนโยบายหาเสียง ลั่น ผู้นำพูดแล้วทำ
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ โต้กลับ ชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี เขต 2 พรรคภูมิใจไทย ลุกขึ้นอภิปรายไม่สนับสนุน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ลั่น ผู้นำพูดแล้วทำ เหมือนกับสโลแกนของพรรคภูมิใจไทย
วันที่ 13 ก.ค. 2566 จากกรณีประเด็นเดือดประชุมรัฐสภาวันนี้ จาการที่นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี เขต 2 พรรคภูมิใจไทย ได้ลุกขึ้นพูดในสภาขนาดกำลังเข้าสู่การโหวตเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า...จุดยืนพรรคไม่สนับสนุนนายกฯ ที่มาจากพรรคการเมืองที่แก้ไข ม.112 และเรียกร้องให้พรรคการเมืองที่แสดงเจตจำนงตั้งรัฐบาลแสดงจุดยืนเช่นกัน
ทั้งนี้หากพรรคการเมืองที่ตั้งรัฐบาล โดยพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลสำเร็จ พรรคภูมิใจไทยขอเป็นฝ่ายค้าน ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และค้านการแก้ไข ม.112 ยืนยันพรรคภูมิใจไทยไม่มีเจตนาจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย เพราะเคารพมติประชาชน
อีกทั้ง นายชาดา ยังกล่าวอีกว่า กรณีที่นายพิธา อ้างมี 14 ล้านเสียง ที่จะแก้ไข ม.112 แต่เชื่อผู้ที่จะลงให้ 14 ล้านเสียงไม่คิดว่าจะแก้กฎหมายไม่ให้เป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ไมใช่สถาบันหลักของชาติ และหลายคนพูดถึง 25 ล้าน
อยากฝากว่าคนที่จะเป็นนายกฯ และรัฐบาลคนไทยไม่มีแค่ 14 หรือ 25 ล้านคน ต้องเป็นนายกของคน 60 ล้านคน เป็นนายกฯ ของประเทศไทย ไม่ใช่เป็นนายกฯ หรือรัฐบาลของพรรคใดพรรคหนึ่ง อย่าหลงระเริงคำว่า 14 ล้านเสียง ไม่ใช่ถึง 20% ไม่ใช่เรื่องชี้ขาดของประเทศนี้
ล่าสุดทางด้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ลุกขึ้นใช้สิทธิพาดพิงว่า กรณีที่ นายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ได้มีการติติงบุคคลิคของตน ได้ติติงภาวะผู้นำของตน ซึ่งตนก็กำลังพัฒนาอยู่เหมือนกัน พยายามที่จะพัฒนาให้เป็นคนที่ฟังมากกว่าพูด ตนก็พัฒนาภาวะผู้นำของตนให้เป็นคนที่รักษาคำพูด เหมือนกับสโลแกนของพรรคภูมิใจไทย "พูดแล้วทำ"
เพราะเฉพาะสัญญาที่เคยให้ไว้กับพี่น้องประชาชนอย่างไร ก็คงที่จะต้องทำตามอย่างนั้น และตนยังพยายามที่จะพัฒนา และคุณลักษณะความเป็นผู้นำของตนว่า ถึงตนจะไม่เห็นด้วยกับทุกเรื่องกับที่นายชาดา พูดมา แต่ตนเห็นว่า ท่านมีเสรีภาพในการที่จะพูด และนี่คือหน้าที่ของรัฐสภา ที่นายชาดาก็มีประสบการณ์แบบหนึ่ง มีความคิดแบบหนึ่ง
ตนก็มีชุดความคิดและประสบการณ์แบบหนึ่ง นี่คือสาเหตุที่เราต้องใช้รัฐสภาในการแก้กฎหมายนิติบัญญัติ และข้อขัดแย้งตลอดมาของประเทศไทย นี่คือสิ่งที่ตนอยากเห็นตั้งแต่สมัยที่แล้ว สิ่งที่นายชาดาพูดถึงเรื่องของการลดโทษ มีการคุ้มครอง ซึ่งเวทีนี้เป็นเวทีเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่ใช่เวทีในการแก้ไขกฎหมายใดๆ ฉะนั้นตรงนี้ตนคิดว่าเป็นบรรยากาศที่ดี
"ผู้นำที่ดีของประเทศนี้ต้องมีความอดทน อดกลั้น รับฟังข้อกล่าวหาที่จะจริงหรือไม่จริงก็แล้วแต่ นี่คือสี่ข้อที่ผมสัญญาผ่านประธานฯไปยังนายชาดา และพรรคที่อยู่ในรัฐสภา รวมถึงสภาสูง ว่านี่เป็นสี่คุณลักษณะสำคัญที่ผู้ของประเทศไทยควรที่จะมี"
ผู้แทนราษฎรก็คือผู้แทนราษฎร ที่มีความคิดแตกต่าง แล้วถ้าเราพูดกันอย่างมีวุฒิภาวะ พูดกันอย่างไม่มีคำหยาบคาย แล้วใช้เหตุให้ผลกัน นี่คือทางออกของประเทศในทุกความขัดแย้งที่เกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่ตนเห็นด้วยกับนายชาดา มาดเป็นอย่างยิ่ง แต่สิ่งที่ตนไม่เห็นด้วยอาจจะเป็นข้อที่ยังคลางแคลงใจอยู่ คือเรื่องเกี่ยวกับศาลอาญาระะหว่างประเทศ หมายคามว่า อาชญากรรมทางสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ ข้อที่ นายชาดา อาจจะกังวลคือข้อที่ 27 แต่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่เป็นระบบเดียวกับเรา ระะบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข มีอยู่ 123 ประเทศ
"ฉะนั้นตรงนี้ถ้าเราเข้าใจว่าจริงแล้วพระองค์ท่านอยู่เหนือการเมือง และท่านทรงใช้อำนาจผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่แล้ว ตรงนี้ไม่ได้เป็นประเด็นอย่างที่กล่าวหา ผมไม่เห็นด้วยอย่างแรง และการที่จะบอกว่า สิ่งที่น่ากลัวในการเข้าศาลอาญาระหว่างประเทศ คือการที่มีคนพูดบอกว่า ใครหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์เอาปืนไปยิงมันเลย ผมไม่แน่ใจว่า คนที่สูญเสียไปตั้งแต่ยังไม่รู้ว่าใครเป็นคนยิงเมื่อหลายปีก่อน 99 ศพ ที่ราชประสงค์ และย้อนหลังไปถึง 6 ตุลาฯ 14 ตุลาฯ เป็นต้น ที่ยังไม่รู้ว่า วัฒนธรรมรับผิดรับชอบสิ่งที่เกิดขึ้น เขาจะรู้สึกอย่างไรเมื่อมีคนอภิปรายเรื่องนี้ในสภาฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมไม่เห็นด้วย"