การเมือง

heading

เผยนโยบายรัฐบาล 'เพื่อไทย' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

เผยนโยบายรัฐบาล 'เพื่อไทย' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

ในขณะที่กระเเสการเมืองในปัจจุบันร้อนระอุเป็นอย่างมาก ซึ่งนโยบายฐบาล 'เพื่อไทย' ที่ได้รับความสนใจต่อชาวเมืองกรุงเป็นอย่างมาก นั้นก็คือ ประกาศลั่นเดินหน้าลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาท จะเกิดขึ้นจริงหรือขายฝัน

เผยนโยบายรัฐบาล 'เพื่อไทย' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

เผยนโยบายรัฐบาล \'เพื่อไทย\' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

เพื่อไทย” จะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และ “เศรษฐา ทวีสิน” แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย เป็นหนึ่งในรายชื่อที่จะถูกนำเสนอโหวต “นายกรัฐมนตรี”

เศรษฐา ทวีสิน

สำหรับหนึ่งในนโยบายที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้กับประชาชน และเรียกเสียงฮือฮาว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ เห็นจะเป็นนโยบายลดค่าครองชีพประชาชน ในภาคขนส่งสาธารณะ “รถไฟฟ้า” โดยก่อนหน้านี้ “เศรษฐา ทวีสิน” เคยออกมาโพสต์ข้อความผ่านโซเชียลมีเดีย ระบุถึงแนวคิดที่จะลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ให้เหลือ 20 บาทตลอดสายว่า หากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจะเร่งเจรจากับทุกภาคส่วนเพื่อลดค่าโดยสาร เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading

ทั้งนี้ปัจจุบันค่าบริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต่อเที่ยวคิดเป็น 11% ของค่าแรง หากคำนวณราคาไป-กลับ อยู่ที่ 22% ถือว่าแพงมากเทียบกับอัตราส่วน 1.5% ของค่าแรงที่เกาหลีใต้ , 2.9% ที่ญี่ปุ่น หรือ 3.5% ที่สิงคโปร์ โดยประเทศเหล่านั้นการขึ้นรถไฟฟ้าเป็นเรื่องปกติ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน นอกจากนั้นอัตราค่าโดยสารที่แพงกว่าคนอื่นนี้ถูกซ้ำเติมโดยสภาวะเงินเฟ้อและวิกฤตโควิดในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาอีก

เผยนโยบายรัฐบาล \'เพื่อไทย\' รถไฟฟ้า 20 บาท ทำได้จริงหรือขายฝัน ?

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ออกมาวิเคราะห์ถึงนโยบายของพรรคเพื่อไทยกับการกำหนดราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย โดยกรมฯ เชื่อว่าทุกอย่างสามารถทำได้จริง หากแต่รัฐบาลจำเป็นต้องมีเงื่อนไขกำหนดการจัดทำราคาค่าโดยสารดังกล่าวเฉพาะกลุ่มผู้เดินทาง เนื่องจากรัฐบาลจะต้องทำเงินงบประมาณไปสนับสนุนส่วนต่างให้กับภาคเอกชนคู่สัญญา ตามสัมปทานกำหนดไว้

ดังนั้นหากไม่ได้มีการจำกัดกลุ่มจะส่งผลให้รัฐต้องจัดเตรียมงบประมาณจำนวนมากเพื่อชดเชยให้กับเอกชนเพื่อไม่ผิดต่อเงื่อนไขสัญญาสัมปทาน ทั้งนี้กรมการขนส่งทางรางยังคงสนับสนุนให้รัฐบาลผลักดัน พ.ร.บ.ขนส่งทางราง เพื่อเป็นการกำหนดโครงสร้างราคาค่าโดยสารรถไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งคาดว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีการหยิบยกมาพิจารณาอีกครั้งในรัฐบาลใหม่นี้

สำหรับปัจจุบันการพัฒนาระบบรางเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้เป็นขนส่งหลักโดยเฉพาะการเดินทางของประชาชน จึงจะเห็นได้ว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้น มีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ผู้เป็นหัวหอกในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้า ยังอยู่ระหว่างศึกษาขยายโครงการลงทุนไปยังหัวเมืองในทุกภูมิภาคอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ดี ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่ารถไฟฟ้ายังเป็นทางเลือกการเดินทางของประชาชนเพียงบางกลุ่ม เนื่องจากราคาค่าโดยสารที่สูง จนกลายเป็นภาระค่าครองชีพ ทำให้ขณะนี้ยังคงเห็นภาพผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มพนักงานประจำที่มีออฟฟิศอยู่ตามแนวรถไฟฟ้า ขณะที่ประชาชนบางกลุ่มยังคงเลือกใช้บริการรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) และรถยนต์ส่วนตัว

โดยปัจจุบันค่าโดยสารรถไฟฟ้ามีราคากำหนดแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสัมปทานที่มีข้อตกลงไว้ระหว่างรัฐและเอกชนคู่สัญญา ประกอบด้วย

รถไฟฟ้าสายสีเขียว (BTS) แบ่งอัตราค่าโดยสารออกเป็น 3 ส่วน คือ

  • สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสายสีลม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ค่าโดยสารอยู่ที่ 17-47 บาท
  • ส่วนต่อขยายที่1 ช่วงสะพานตากสิน – วงเวียนใหญ่ - บางหว้า และช่วงอ่อนนุช - แบริ่ง ค่าโดยสารอยู่ที่ 14-44 บาท
  • ส่วนต่อขยายที่ 2 ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เดิมจะเก็บค่าโดยสาร 14-44 บาท แต่ปัจจุบันยังไม่เริ่มจัดเก็บค่าโดยสาร
  • รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
  • ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ค่าโดยสารอยู่ที่ 17-43 บาท
  • รถไฟฟ้าสายสีม่วง
  • ช่วงเตาปูน-บางใหญ่ ค่าโดยสารอยู่ที่ 14-42 บาท
  • รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
  • ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท
  • รถไฟชานเมืองสายสีแดง
  • ช่วงบางซื่อ-รังสิต และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ค่าโดยสารอยู่ที่ 12 – 42 บาท
  • รถไฟฟ้าสายสีทอง
  • ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน ค่าโดยสารอยู่ที่ 16 บาทตลอดสาย
  • รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
  • ช่วงลาดพร้าว - สำโรง ค่าโดยสารอยู่ที่ 15 – 45 บาท

ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้างและเตรียมเปิดให้บริการในอนาคต ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมเคยออกมาประมาณการณ์เพดานราคาคาดจะจัดเก็บ ซึ่งคำนวณจากดัชนีผู้บริโภค (CPI) แบ่งเป็น

  • รถไฟฟ้าสายสีชมพู
  • ช่วงแคราย – มีนบุรี ค่าโดยสารอยู่ที่ 15 – 45 บาท
  • รถไฟฟ้าสายสีส้ม
  • ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท
  • รถไฟฟ้าสายสีม่วง
  • ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ ค่าโดยสารอยู่ที่ 15-45 บาท

ทั้งนี้ จากอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น ยังเคยมีการเปรียบเทียบกับค่าโดยสารรถไฟฟ้าในประเทศอาเซียน โดยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ชี้ว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าของไทยแพงกว่าที่สิงคโปร์ถึง 20% อีกทั้งยังสวนทางกับรายได้ประชากร เป็นเพราะโครงการต่างๆ มีเงื่อนไขการลงทุนที่แตกต่าง บางโครงการรัฐสนับสนุนงานโยธา และบางโครงการรัฐไม่ได้สนับสนุน ทำให้สัมปทานมีความแตกต่างกันออกไป และปัญหาที่ทำให้ค่าโดยสารแพงเกินเอื้อม คือการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน  

 

ข่าวเด่น

สลด นักเรียนหญิง ม.3 โรงเรียนดังโคราช พลัดตกอาคารเรียน ล่าสุด เสียชีวิตแล้ว

สลด นักเรียนหญิง ม.3 โรงเรียนดังโคราช พลัดตกอาคารเรียน ล่าสุด เสียชีวิตแล้ว

ผู้โดยสารระทึกทั้งลำ จู่ๆ เครื่องบินโดนยิง ขณะลงจอด

ผู้โดยสารระทึกทั้งลำ จู่ๆ เครื่องบินโดนยิง ขณะลงจอด

พ่อ "น้องเฟรม" ร่ำไห้ แจ้งข่าวลูกชายจากไปอย่างสงบ หลังต่อสู้กับมะเร็ง 4 ปี

พ่อ "น้องเฟรม" ร่ำไห้ แจ้งข่าวลูกชายจากไปอย่างสงบ หลังต่อสู้กับมะเร็ง 4 ปี

ชายขับรถไล่ชนคนมาออกกำลังกายในศูนย์กีฬาดัง ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตน่าตกใจ

ชายขับรถไล่ชนคนมาออกกำลังกายในศูนย์กีฬาดัง ล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตน่าตกใจ

สถิติหวยลาว หวยลาวออกวันพุธ ผลหวยลาว หวยลาวพัฒนา หวยลาว 13/11/67

สถิติหวยลาว หวยลาวออกวันพุธ ผลหวยลาว หวยลาวพัฒนา หวยลาว 13/11/67

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading