การเมือง

heading-การเมือง

คณะกรรมการไต่สวน ชงยกคำร้อง "พิธา" ไม่ผิดอาญา เหตุไม่พบไอทีวีประกอบกิจการ

14 ส.ค. 2566 | 18:19 น.
คณะกรรมการไต่สวน ชงยกคำร้อง "พิธา" ไม่ผิดอาญา เหตุไม่พบไอทีวีประกอบกิจการ

คณะกรรมการไต่สวน ชงยกคำร้อง "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่ผิดอาญา ม.151 เหตุไม่พบไอทีวีประกอบกิจการ-มีรายได้สื่อ

วันที่ 14 สิงหาคม 2566 มีรายงานว่า จากกรณี นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการ​การเลือกตั้ง​ (กกต.)​ ระบุเมื่อเร็วๆนี้ว่าสำนวนการสอบสวน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล กรณีรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติ​ประกอบ​รัฐธรรมนูญ​ (พ.ร.ป.)​ ว่าด้วยการเลือกตั้งสส.มาตรา 151 เนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้งสส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (6)เพราะเหตุมีชื่อถือครองหุ้นบริษัทไอทีวี จำกัด มหาชน จำนวน 42,000 หุ้น ได้ถูกส่งมายังชั้นสำนักงาน กกต.นั้น

คณะกรรมการไต่สวน ชงยกคำร้อง พิธา ไม่ผิดอาญา เหตุไม่พบไอทีวีประกอบกิจการ

มีรายงานว่า ผลสอบจากคณะกรรมการไต่สวน ได้เสนอความเห็นว่าเห็นควรให้ “ยกคำร้อง” ด้วยเหตุผลว่า การดำเนินการตามมาตรา 151 เป็นคดีอาญาที่ต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน แต่ขณะเปิดสมัครรับเลือกตั้ง สส. วันที่ 4-7 เม.ย. ไม่พบว่า บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) มีการประกอบกิจการอยู่และมีรายได้จากการเป็นสื่อแต่อย่างใด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้คณะกรรมการไต่สวน ได้สรุปสำนวนและเสนอไปยังเลขาธิการกกต. ซึ่งได้มอบรองเลขาธิการกกต. ให้ดำเนินการจ่ายสำนวนดังกล่าวให้คณะอนุกรรมการวินิจฉัยคำร้องพิจารณา ตามที่ระเบียบกกต. ว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวนและการวินิจฉัยชี้ขาด 2563 กำหนด ก่อนจะเสนอให้ กกต.วินิจฉัย

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเรื่องร้องเรียน ร้องคัดค้านของคณะอนุวินิจฉัยหลายกรณี เมื่อสอบสวนแล้วไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการไต่สวน โดยเมื่อคณะอนุวินิจฉัยได้รับสำนวนหากเห็นว่ามีประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน มีข้อสงสัยก็จะดำเนินสอบสวนเพิ่มเติม รวมทั้งการเรียกผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจง ซึ่งในกรณีคาดว่า คณะอนุวินิจฉัยฯจะมีการสอบสวนเพิ่มเติม และแจ้งให้ นายพิธา ได้มาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่จะรอคำวินิฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณี กกต. ยื่นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 82 ขอให้วินิจฉัยสถานะ สส. นายพิธา จากเหตุเดียวกัน ก่อนที่จะสรุปสำนวนพร้อมความเห็นเสนอ กกต. พิจารณา เช่นที่เคยดำเนินการกับนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เมื่อครั้งถือหุ้นสื่อ บริษัทวีลัค มีเดีย จำกัด

สำหรับการดำเนินการตามมาตรา 151 นั้นหากที่สุด กกต.มีมติเห็นว่า ผู้สมัครรายนั้นรู้อยู่แล้วว่าไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งแต่ยังคงลงสมัคร ก็จะให้ทางเจ้าหน้าที่สำนักงาน ไปแจ้งความดำเนินคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนเมื่อดำเนินการสอบสวนแล้วเสร็จก็จะส่งเรื่องให้กับอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ซึ่งที่ผ่านมาในกรณีของนายธนาธร แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่านายธนาธรมีลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นเหตุให้สมาชิกภาพส.ส.สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 แต่เมื่อกกต.ดำเนินคดีอาญาอัยการกลับมีคำสั่งไม่ฟ้อง

คณะกรรมการไต่สวน ชงยกคำร้อง พิธา ไม่ผิดอาญา เหตุไม่พบไอทีวีประกอบกิจการ

โดยมาตรา 151 นั้น กำหนดไว้ว่า ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทำหนังสือยินยอม ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อ เพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่20,000-200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

ราชกิจจาฯ ประกาศ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำนวน 14 ราย

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"หมอดัง" เตือน ยาคู่ยอดฮิตหายปวดแต่ไตพัง กินผิดชีวิตเปลี่ยน

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

"ทนายดัง" เคลียร์ชัด ใครถูกผิด ปมเดือดกระบะ vs บีเอ็มป้ายแดง

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15  เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

แม่ดีใจ เจอแล้ว "น้องแบม" สาวน้อย 15 เปิดใจถึงสาเหตุ หนีออกจากบ้าน

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ

หนุ่ม กรรชัย ตอบกลับเพจดัง หลังเผยจุดอ่อน เรื่องที่ไม่กล้านำเสนอ