ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

อาการ "Long Covid" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

21 พ.ย. 2565 | 19:05 น.
อาการ "Long Covid" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

นอนไม่หลับ สมองล้า อ่อนล้า เพลีย ป่วยซึมเศร้า อาการ “Long Covid” ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ


  สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย แม้อยู่ในช่วงขาลง แต่จำนวนผู้ติดเชื้อยังไม่เป็นศูนย์ มีผู้เสียชีวิตทุกวัน  และยังคงผู้ป่วยอาการปอดอักเสบ ทั้งนี้ในจำนวนผู้ที่หายป่วยมีโอกาสเกิด “อาการลองโควิด” Long Covid ได้ทุกคน

Long Covid หรือ “อาการลองโควิด” เป็นอาการที่ผู้ติดเชื้อโควิดส่วนใหญ่มักจะเป็นต่อหลังสิ้นสุดการติดเชื้อ ซึ่งเกิดจากอะไร อาการมีอะไรบ้าง เรามัดรวมไว้ที่นี่ เช็คเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อาการ \"Long Covid\" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ
Long COVID คือ อาการเจ็บป่วยที่ตามมาแม้จะมีการรักษาการติดเชื้อ จนร่างกายไม่พบเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการเจ็บป่วยอยู่ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มักพบหลังการติดเชื้อตั้งแต่ 4 สัปดาห์ จนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในเเต่ละรายก็จะมีลักษณะอาการเเตกต่างกันออกไป

“อาการลองโควิด” คือ อาการผิดปกติทางสุขภาพที่เรื้อรังต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งของคนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งหายป่วยแล้ว โดยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียเรื้อรัง หายใจถี่ แน่นเจ็บหน้าอก ปวดข้อ ใจสั่น ผมร่วง ผื่นขึ้น การทำงานของปอดแย่ลง นอนไม่หลับ ปวดกล้ามเนื้อ วิงเวียนศีรษะ จมูกไม่ได้กลิ่น สูญเสียการรับรส อาการใดอาการหนึ่งซึ่งล้วนเป็นผลพวงมาจากการติดเชื้อทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาทางด้านความจำ ขาดสมาธิ รวมถึงอารมณ์แปรปรวน และบางคนมีภาวะซึมเศร้า ในหลายประเทศได้มีการเก็บสถิติที่น่าสนใจพบว่า มากกว่า 50% ของคนที่เคยติดเชื้อ COVID-19 และหายป่วยจนตรวจไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว เมื่อกลับมาพักฟื้นที่บ้านยังต้องเจอกับอาการข้างเคียงต่อเนื่องเรื้อรัง หลังจากหายป่วยยาวนาน 2 ถึง 6 เดือน 

ใครบ้างที่มีโอกาสพบปัญหา Long Covid

กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ประกอบด้วย โรคหลอดเลือดสมอง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน หลังจากติดเชื้อโควิด-19 และได้รับการรักษาจนหายไม่พบเชื้อในร่างกายแล้ว แต่ผู้ป่วยเหล่านี้ก็ยังต้องเผชิญกับ “ภาวะลองโควิด” ทำให้ร่างกายยังไม่สามารถกลับสู่สภาวะที่ปกติ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายได้รับการรักษาเป็นเวลานาน ร่างกายจะสร้างกลไกในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค จึงส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบของอวัยวะหลายระบบตามมา ดังนั้น“ผู้สูงอายุ” หรือ “ผู้ที่มีโรคประจำตัว” หากได้รับการกระตุ้น อาการเจ็บป่วยหรือโรคประจำตัวที่เป็นอยู่นั้น จะกำเริบและรุนแรงขึ้นมาได้อีก
อาการ \"Long Covid\" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

การฟื้นฟูร่างกาย"กลุ่มผู้สูงอายุ"และ “ผู้ที่มีโรคประจำตัว” หลังหายป่วยจากโควิด-19
เมื่อหายจากอาการโควิด-19 สิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด คือ การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเอง หลังกลับจากโรงพยาบาล หากมีอาการผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที นอกจากการสังเกตอาการของตนเองแล้ว อีกสิ่งสำคัญที่ “ผู้สูงอายุ”และ“ผู้ที่มีโรคประจำตัว” ควรปฏิบัติตาม เพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูและกลับมาแข็งแรงเป็นปกติ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังต่อไปนี้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ที่มีรสหวานน้อย งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7-9 ชั่วโมง เเละออกกำลังแบบเบาๆ ไม่หักโหมจนเกินไป เช่น เดินเบาๆ เป็นต้น

ชนิดของ Long Covid ที่พบบ่อย
เช่น นอนไม่หลับ สมองล้า อ่อนล้า เพลีย ป่วยซึมเศร้า และ Covid Heart

นอนไม่หลับ 
เป็นผลกระทบที่ตามมาของคนเป็น COVID-19 อ้างอิงข้อมูลจากกรมการแพทย์ พบว่าอาการนอนไม่หลับเป็น 1 ใน10 อันดับแรกของอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด โดยพบสูงถึง 36 %ปัญหาการนอนไม่หลับส่งผลเสียทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ เช่น ร่างกายฟื้นฟูได้ช้า ภูมิคุ้มกันลดลง อ่อนเพลียระหว่างวัน ความจำไม่ดี สมองเบลอประสิทธิภาพการทำงานลดลง หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญไม่น้อย

วิธีที่ช่วยให้นอนหลับเช่น หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ หลีกเลี่ยงการนอนกลางวัน  เข้านอนให้เป็นเวลาทุกคืน การฝึกสมาธิ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้าออก จะช่วยให้ผ่อนคลายและพักผ่อนได้ยาวนานขึ้น 

การใช้กลิ่นเข้ามาช่วยเป็นอีกวิธีในการช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น เช่น กลิ่นวานิลลา กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นยูคาลิปตัส กลิ่นคาโมมายล์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่าการเลือกใช้สมุนไพรจากธรรมชาติเป็นตัวช่วยที่ดีในการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับของคุณให้ดีขึ้น

สารสกัดจากรากวาเลอเรียน (Valerian) สมุนไพรจากธรรมชาติเป็นที่นิยมในประเทศแถบยุโรปได้การยอมรับว่าช่วยเรื่องเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ มีฤทธิ์เพิ่มสารสื่อประสาทส่วนกลางที่ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น หลับสนิท ไม่ตื่นกลางดึก ไม่ง่วงซึมหลังจากตื่นนอน และยังมีฤทธิ์คลายวิตกกังวล ที่สำคัญมีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดการเสพติดเหมือนยานอนหลับชนิดอื่นๆที่มีฤทธิ์กดระบบประสาท

ดังนั้นสารสกัดจากรากวาเลอเรียนจึงเหมาะสำหรับใช้ในผู้ที่มีภาวะนอนไม่หลับและมีภาวะวิตกกังวล โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  อาการ \"Long Covid\" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

สมองล้า
อาการสมองล้า คือภาวะของสมองที่ทำงานได้ลดลง ส่งผลให้การคิด การตัดสินใจช้าลง ขาดสมาธิ บางคนมีอาการหลงลืมในช่วงสั้นๆ 

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford University งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการศึกษากลุ่มคนจำนวน 1.25 ล้านคน ในช่วงเวลา 2 ปีหลังติด COVID-19 และนำเอาข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับกลุ่มคนอีก 1.25 ล้านคน ที่ติดเชื้อด้านระบบทางหายใจชนิดอื่น ที่ไม่ใช่ COVID-19 ปรากฎว่ากลุ่มที่ติดเชื้อ COVID-19 พบว่ามีอาการเกี่ยวกับสมองอย่างชัดเจน โดยพบอาการสมองล้าในคนอายุระหว่าง 18-64 ปี  โดยสังเกตได้ว่าจะเป็นช่วงวัยทำงานและพบอาการสมองล้ารวมทั้งสมองเสื่อมในคนที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป

โดยการดูแลเพื่อลดความเสี่ยงกับอาการสมองล้า หรือ Brain Fog ที่ดีที่สุดก็คือ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมง และควรนอนไม่เกินเที่ยงคืน ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ไม่ควรหักโหมเกินไป และกระตุ้นสมองด้วยการเล่นเกมส์ ฝึกคิด ฝึกความจำให้มากขึ้น เพื่อช่วยปรับสมองและระบบประสาทให้กลับมาฟื้นตัวได้เป็นปกติเร็วยิ่งขึ้น

รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยให้เลือกรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี (Vitamin B) ปริมาณสูง เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ถั่วลิสง ข้าวกล้อง นม ไข่แดง ปลา เนื้อหมูไม่ติดมัน ผักใบเขียว และธัญพืช  หรือจะเลือกเสริมด้วยวิตามินบีรวม ที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ช่วยคลายเครียด ช่วยให้สมองปลอดโปร่ง และมีสมาธิดีขึ้น

**(คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติม)**

อ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยง่าย หลังติดโควิดดูแลตัวเองอย่างไร?

“อ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยง่าย” หนึ่งในอาการผิดปกติภายในร่างกายที่พบเจอบ่อยจากผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด มากถึง 43.3% สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดมาหลายคนต้องเผชิญกับอาการ Long COVID โดยเฉพาะอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า เหนื่อยง่าย อ่อนแรง ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงาน การเรียน ทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ลง อีกทั้งยังส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียด

การฟื้นฟูร่างกายอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
สิ่งสำคัญของผู้ที่เคยติดโควิดมาแล้ว คือการสังเกตความผิดปกติของร่างกายตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันที นอกเหนือจากการสังเกตความผิดปกติของตนเองเเล้ว การฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม คือการพักผ่อนให้เพียงพอ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นโปรตีน ผัก ผลไม้ มากขึ้น ผ่อนคลายความเครียด งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงออกกำลังแบบเบา ๆ ไม่หักโหมจนเกินไป เช่น โยคะ เดินเบา ๆ เป็นต้น

สารอาหารแนะนำโสมเกาหลีสกัด ตัวช่วย สลัดความ“อ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยล้า”
นอกจากการฟื้นฟูร่างกายที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อีกหนึ่งเคล็ดลับที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมา สดชื่น กระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง คือการรับประทานโสมเกาหลีสกัด ซึ่งปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์โสมอยู่หลายรูปแบบที่สะดวกในการรับประทานมากขึ้น ซึ่งโสมสกัดมีคุณสมบัติหลากหลายโดยเฉพาะเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้ร่างกาย เพิ่มพลังการทำงานให้ร่างกาย และยังช่วยลดความเหนื่อยล้า ส่งผลให้เหนื่อยช้าลงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดความเครียด วิตกกังวล และช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงโดยจะไปกระตุ้นกระบวนการสร้างสมดุลให้ภูมิคุ้มกัน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว ในการต่อต้านเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วยซึ่งโสมมีหลากหลายรูปแบบ แต่ให้ดีควรเลือกรูปแบบแคปซูลนิ่มจะมีการดูดซึมที่ดีและโสมที่ดีควรอยู่ในรูปแบบสารสกัดมาตรฐาน ซึ่งเป็นสารสกัดที่ผ่านการปรับสัดส่วนของสารสำคัญให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ และเมื่อมีส่วนประกอบของวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ยิ่งจะช่วยเสริมประสิทธิภาพกันเป็นอย่างดีในการบำรุงร่างกายให้แข็งแรง
อาการ \"Long Covid\" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

COVID Heart ความผิดปกติของหัวใจหลังติด COVID-19
ข้อมูลทางการแพทย์ของประเทศอิตาลีพบว่ากว่า 87.4% ของคนที่หายป่วย ก็ยังคงมีอาการต่อเนื่องประมาณ 2 เดือน หลังกลับไปพักฟื้น และหนึ่งในอาการ Long COVID ที่พบบ่อยมากที่สุดก็คือ อาการที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด หรือที่เรียกว่า COVID Heart 

COVID Heart คืออะไร 
COVID Heart หรือชื่อเต็ม Cardiovascular COVID เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติต่อเนื่องหลังจากร่างกายไม่มีเชื้อ COVID-19 แล้ว ซึ่งเกิดขึ้นกับระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะส่งผลให้เกิดอาการโดยตรงกับหัวใจ เช่น หายใจถี่ แน่นเจ็บหน้าอก เสี่ยงกับภาวะลิ่มเลือดอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอ่อนแรง The Journal of the American Medical Association ซึ่งเป็นวารสารเกี่ยวกับการแพทย์และสุขภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาหัวใจและหลอดเลือดที่เกิดจาก COVID-19 โดยนำเอาผลศึกษาจากประชากรชาวอเมริกันที่ติดเชื้อมาแล้ว โดยผลที่ได้ก็คือ "คนที่ติดเชื้อมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนไม่ติดเชื้อหลายเท่าตัว"

อาการ \"Long Covid\" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

5 อาการสำคัญสัญญาณของ COVID Heart 
1. ใจสั่น 
2. เจ็บหน้าอก 
3. หายใจติดขัด 
4. หัวใจเต้นผิดจังหวะ 
5. ความเสี่ยงอื่นๆ เช่น ลิ่มเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอ่อนแรง บีบตัวได้น้อยลง

ใครบ้างที่เสี่ยงกับอาการ COVID Heart 
จากการเก็บข้อมูลทางการแพทย์ของ WHO และประเทศต่างๆ ทั่วโลก เผยให้เห็นข้อมูลที่น่าวิตกก็คือ อาการ COVID Heart สามารถเกิดขึ้นได้ในคนที่เคยติดเชื้อทุกเพศ ทุกวัย ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบได้ ทั้งคนที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่ คนที่มีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่าอาการนี้เกิดขึ้นได้กับทุกคนถึงแม้ในร่างกายจะไม่มีเชื้อ COVID-19 อยู่แล้วก็ตาม แต่การดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเคร่งครัดก็ยังเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะ การสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง รวมทั้งการฟื้นฟูร่างกายด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเน้นหนักที่ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวานจัด เค็มจัด และมันจัด รวมทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ 

ส่วนเรื่องการออกกำลังกาย ไม่ควรกลับมาออกกำลังกายแบบหักโหมจนทำให้เหนื่อยเกินไป เพราะหัวใจหลอดเลือด และระบบหายใจยังต้องพักฟื้นหลังการติดเชื้อ ควรเลือกการออกกำลังแบบเบา ๆ เช่น การเดิน แทนการวิ่ง เพื่อไม่ให้หัวใจทำงานหนักมากเกินไป 

นอกจากนี้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังแนะนำวิธีการฟื้นตัวจากอาการ COVID Heart ด้วยการได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อ“การดูแลหัวใจ”และ “หลอดเลือด” อย่างเพียงพอ เช่น

1.โคเอนไซม์ คิวเทน ( Coenzyme Q10 ) ประโยชน์ของ Coenzyme Q10 ถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย และให้พลังงานกับเซลล์ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ สมอง ตับ และไต ผู้เชี่ยวชาญจึงมีการนำมาใช้บำรุงหัวใจกับคนที่เคยติดเชื้อ เพื่อลดโอกาสการเป็น COVID Heart โดยสามารถช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทำงานได้เป็นปกติและดีขึ้น ซึ่งสารอาหารชนิดนี้จำเป็นและมีความสำคัญในผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก โดยแหล่งอาหารที่พบโคเอนไซม์ คิวเทน  ตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต หัวใจ ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันถั่วเหลือง ผัก รำข้าว ซีเรียล น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

2.กรดไขมัน Omega-3 เป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ทำให้ร่างกายสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดภาวะการอักเสบในร่างกายเมื่อเกิดการติดเชื้อ เช่น ลดภาวะปอดอักเสบ จากข้อมูลการวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการได้รับกรดไขมัน Omega-3 สามารถช่วยลดความเสี่ยงและช่วยบรรเทาโรคปอดอักเสบติดเชื้อได้จริง ซึ่งข้อมูลการวิจัยนี้มาจาก Harvard Medical School ได้ระบุว่ากรดไขมัน Omega-3 ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมัน EPA และ DHA เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นสารต้านอักเสบ ที่ชื่อว่า Resolvins ซึ่งจะเป็นสารสำคัญที่ป้องกันปอดอักเสบ ป้องกันการเกิด Long Covid รวมถึงอาการ COVID Heart ได้อีกด้วย นอกจากนั้นกรดไขมัน Omega-3 ยังมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับอาการ COVID Heart กรดไขมัน Omega-3 พบได้ใน ปลา น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ หรือผักใบเขียว เป็นต้น
อาการ \"Long Covid\" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

3.น้ำมันกระเทียม (Garlic Oil) คุณสมบัติอย่างหนึ่งของน้ำมันกระเทียมที่ให้ประโยชน์โดยตรงกับคนที่เป็น COVID Heart ก็คือ ช่วยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน ป้องกันไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง รวมถึงยังช่วยเสริมภูมิให้ร่างกายแข็งแรง

นอกจากนั้น ยังควรเสริมด้วยวิตามินซี วิตามินดี แร่ธาตุสังกะสี โปรตีนเสริม และโปรไบโอติก เพิ่มเสริมภูมิและความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพื่อฟื้นฟูให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันอาการ Long Covid ที่จะตามมาได้อีกด้วย 
**(ขอบคุณข้อมูลจาก : 1. โรงพยาบาลพญาไท 2. โรงพยาบาลกรุงเทพ 3. Abbasi J. The COVID Heart—One Year After SARS-CoV-2 Infection, Patients Have an Array of Increased Cardiovascular Risks. JAMA. 2 March 2022)**

โปรตีน”เป็นอีกหนึ่งสารอาหารเพื่อใช้ฟื้นฟูร่างกายสำหรับผู้ป่วย Long Covid
Long COVID คือ อาการเจ็บป่วยที่ตามมา หลังร่างกายไม่พบเชื้อโควิด-19 แล้ว แต่ยังพบอาการเจ็บป่วยหลงเหลืออยู่ ทำให้ยังไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ดังนั้นจึงต้องเร่งฟื้นฟูร่างกายและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กลับมาแข็งแรงดังเดิม ด้วยการเลือกรับประทานอาหารให้ หลากหลายและได้รับสารอาหารมากเพียงพอ

โดยเฉพาะ ‘โปรตีน’ สารอาหารที่สำคัญกับทุกระบบของร่างกายโดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน เพราะโปรตีนเป็นสารตั้งต้นในการผลิตสารภูมิต้านทานในร่างกายสำหรับทุกวัย และเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่เสียหายไปจากการถูกทำลายจากไวรัส

ในปัจจุบันการรับประทาน ‘เวย์โปรตีน’ เป็นอีกหนึ่งวิธีของการเสริมโปรตีนที่ได้รับความนิยม เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่เต็มไปด้วยสารสำคัญและคุณประโยชน์ที่ครบถ้วน ย่อยง่าย ดูดซึมได้อย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมงหลังรับประทาน จึงทำให้หมดปัญหาการย่อยและปัญหาท้องอืดท้องเฟ้อ และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้นมวัวหรือน้ำตาลแลคโตสทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากโปรตีนอย่างเต็มที่ นอกจากนั้นการเพิ่มแร่ธาตุซิงค์และซีลีเนียม ช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น และช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังเจ็บป่วยทำให้แข็งแรงได้เร็วขึ้น จึงเหมาะสำหรับ คนที่เพิ่งหายป่วย คนที่เจ็บป่วยบ่อย คนที่เป็นโรคเรื้อรัง คนสูงอายุ 

อาการ \"Long Covid\" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

Probiotic ช่วยลดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่จะทำให้เกิด Long Covid ได้
โพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือจุลินทรีย์สุขภาพได้แก่ โยเกิร์ต นมเปรี้ยว โดยควรเลือกชนิดที่มีนํ้าตาลน้อย กินร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม เป็นต้น เพื่อเป็นอาหารให้จุลินทรีย์สุขภาพ และยังช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารประเภท Junk Food อาทิ อาหารสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง อาหารหมักดอง อาหารปิ้งย่าง ของทอด ของมัน หรืออาหารรสจัด ย่อยยาก รวมทั้งควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาหารเหล่านี้มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดต่ำลง
ทั้งนี้ วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ก็มีส่วนช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู แข็งแรง และสร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่ 
1) วิตามินซี พบมากในผักและผลไม้สด เช่น ส้ม มะละกอ ฝรั่ง มะนาว มะเขือเทศ พริกหวาน เป็นต้น ควรกินแบบสด หากนึ่งหรือผัด ควรใช้ระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรักษาคุณค่าจากวิตามินซีไว้ได้ดียิ่งขึ้น 
2) วิตามินเอ เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและสีส้ม เช่น ตําลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง มะละกอสุก เป็นต้น 
3) วิตามินดี ได้แก่ ปลานิล ปลาทับทิม เห็ด ไข่แดง เป็นต้น 
4) วิตามินอี ได้แก่ ไข่ ผักและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ถั่วต่าง ๆ นํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันมะกอก นํ้ามันดอกทานตะวัน อะโวคาโด เป็นต้น 
5) แร่ธาตุสังกะสี ได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องใน ตับ หอยนางรม ข้าวกล้อง

ดังนั้นคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการลองโควิด มีดังนี้

1.ควรปรับการนอนหลับพักผ่อนให้เหมาะสม
ควรตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน และรับแสงแดดให้เพียงพอในตอนเช้า เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที และควรหลีกเลี่ยงคาเฟอีน อาหารมื้อดึก งดการดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ เป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน

2.ควรมีการพัฒนากล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ
ต้องมีการฝึกกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อกะบังลม และกล้ามเนื้อยึดซี่โครง ด้วยการฝึกหายใจเข้าและออก โดยแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5 วินาที ทำ 10 ครั้งต่อรอบ ประมาณ 3-5 รอบ และระหว่างรอบให้พัก 30-60 วินาที จะช่วยเพิ่มความสามารถในการหายใจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการเหนื่อย หายใจลำบาก ช่วยขับเสมหะ ป้องกันการเกิดภาวะปอดแฟบ ซึ่งสามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา พร้อมกันนี้ ยังควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก หรือคาร์ดิโอ วันละ 30-60 นาที หรือ 3-5 วันต่อสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว รอบบ้าน ย่ำเท้าอยู่กับที่ หรือเต้นแอโรบิก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบหายใจ การไหลเวียนของเลือด การทำงานของหัวใจและปอด

3.ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
ควรฝึกยืดกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบนสะบัก และลำตัวด้านข้าง ซึ่งเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่ช่วยขยายกระบังลมและซี่โครง ทำให้หายใจได้ดีขึ้น หากกล้ามเนื้อเหล่านี้มีการตึงตัว ยึดเกร็ง จะทำให้ทรวงอกไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ พื้นที่ในทรวงอกลดน้อยลง ทำให้สมรรถภาพการทำงานของปอดลดลงได้ จึงควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยการเหยียดแขน โก่งหลัง ชูแขนเอียงลำตัว และผสานมือที่ศีรษะ กางศอก แอ่นอก ยืดเหยียดในแต่ละท่าจนรู้สึกตึง ค้างไว้ 15 วินาที ให้ทำท่าละ 2 รอบ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อให้ปอดแข็งแรง

  อาการ \"Long Covid\" ปล่อยไว้อาจถึงขั้น Covid Heart  ถึงไม่พบเชื้อแต่เหลืออาการ

สำหรับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคโควิด-19 แม้จะไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ก็อย่าชะล่าใจ ควรหันมาดูแลสุขภาพตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสุขภาพแข็งแรง และลดความเสี่ยงที่จะเกิดลองโควิด อยากให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง

(ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), นพ.สันต์ หัตถีรัตน์, กรมควบคุมโรค, กรมการแพทย์ และหมอชาวบ้าน)

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง