ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ติดตามสถานการณ์น้ำเมืองหัวหินและเพชรบุรี

31 มี.ค. 2566 | 17:22 น.
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ  ติดตามสถานการณ์น้ำเมืองหัวหินและเพชรบุรี

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) ลงพื้นที่ไปติดตามการดำเนินโครงการด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี


   วันนี้(31 มี.ค. 66) ณ สำนักงานพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางที่ 14  โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมงคลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.)ลงพื้นที่ไปติดตามการดำเนินโครงการด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และเพชรบุรี  โดยมี ดร.ทวีศักดิ์  ธนเดโชพล  รองอธิบดีกรมชลประทาน นายนรเศรษฐ สองทอง ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 14   นายธรรมนูญ อินทร์นุช ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 14   นายสัญญา สุริวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางที่ 14  ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่และบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล  รองอธิบดีกรมชลประทาน  เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรีว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 224 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุอ่างฯรวมกัน  มีการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 65/66 ไปแล้วประมาณ 181 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 70 ของแผนฯ     ส่วนในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี อ่างเก็บน้ำมีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 438 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 54  ของความจุอ่างฯรวมกัน  มีการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 65/66 ไปแล้วประมาณ 187 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 39 ของแผนฯ  

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ  ติดตามสถานการณ์น้ำเมืองหัวหินและเพชรบุรี

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด  พร้อมวางแผนบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 65/66 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์  ควบคู่ไปกับการเก็บกัก จึงทำให้การบริหารจัดการน้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้  และเพียงพอใช้ในทุกกิจกรรมไปตลอดช่วงหน้าแล้งนี้  พร้อมกันนี้ยังได้ปฏิบัติตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้งปี 65/66 ที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)  กำหนดอย่างเคร่งครัด  มีการจัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ ไว้คอยช่วยประชาชนได้อย่างทันท่วงที  นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการประชาสัมพันธ์รณรงค์ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนให้ช่วยกันประหยัดน้ำ เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอไปตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ 

 

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ  ติดตามสถานการณ์น้ำเมืองหัวหินและเพชรบุรี


สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ กรมชลประทาน มีแผนดำเนินโครงการฯ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ  ได้แก่  

1.โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี(2567-2571)  ประกอบด้วยปรับปรุงคลองระบายน้ำหลาก D1 ความยาวรวม 38.542 กิโลเมตร ให้สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 350 ลบ.ม./วินาที  และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายเขื่อนแก่งกระจาน ในอัตรา 103 ลบ.ม./วินาที   หากดำเนินการแล้วเสร็จจะช่วยระบายน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากลงสู่ทะเลได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ 5 ตำบล 2 อำเภอ ได้แก่ ต.ท่าไม้รวก ต.ท่าคอย อ.ท่ายาง และ ต.ดอนขุนห้วย ต.นายาง ต.บางเก่า อ.ชะอำ  รวมทั้งเพิ่มพื้นที่การเกษตรในช่วงหน้าแล้งได้มากขึ้นอีกด้วย

2.โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำเขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชบุรี (2565-2568)  ประกอบด้วย ติดตั้งบานระบายแบบพับได้บนสันฝาย (OGEE)ของอาคารระบายน้ำล้นเดิม สูง 1 เมตร ความยาว 100 เมตร   พร้อมก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามอาคารระบายน้ำล้น  สามารถเก็บกักน้ำเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 53.06 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี  ช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก

พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ  ติดตามสถานการณ์น้ำเมืองหัวหินและเพชรบุรี

3.โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสาลิกา จังหวัดเพชรบุรี (2567)  ความจุ 8.82 ล้าน ลบ.ม. เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภคให้ประชาชนกว่า 1,131 คน   รวมทั้งแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูฝนพื้นที่ 1,800 ไร่  และฤดูแล้งอีก 1,200 ไร่ 

4.โครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำเขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2566-2568)  ด้วยการปรับปรุงทางผันน้ำพร้อมอาคารประกอบ  อัตราการระบาย 31.5 ลบ.ม./วินาที    พร้อมก่อสร้างอาคารป้องกันตลิ่งแม่น้ำปราณบุรี จำนวน 2 แห่ง   และก่อสร้างอาคารท่อระบายน้ำลงลำน้ำเดิมและอาคารประกอบ อัตราการระบาย 24.843 ลบ.ม. /วินาที  ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด  จะสามารถระบายน้ำจากเดิมในอัตรา 3 ลบ.ม./วินาที  เป็น 59.343 ลบ.ม./วินาที 

5.โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอบางสะพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2560-2572)  ประกอบด้วย ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง   ปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ฝายทดน้ำ 1 แห่ง ขุดขยายคลองระบายน้ำ 4 สาย  ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำ 10 แห่ง  ขุดคลองผันน้ำ 3 สาย  ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมดจะสามารถบรรเทาและป้องกันปัญหาน้ำท่วมในเขตพื้นที่อำเภอบางสะพาน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมไปถึงถนนเพชรเกษม  ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญเพียงเส้นทางเดียวที่จะเดินทางไปสู่ภาคใต้ได้อีกด้วย

ในการนี้ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตาม 10 มาตรการรองรับฤดูแล้งที่กำหนดอย่างเคร่งครัด   พร้อมให้กรมชลประทานบริหารจัดการแหล่งเก็บน้ำให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อการใช้น้ำในทุกพื้นที่  รวมทั้งเร่งดำเนินโครงการด้านทรัพยากรน้ำ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด  เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากโครงการได้เร็วที่สุด

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง