ประชาสัมพันธ์

heading-ประชาสัมพันธ์

ม.มหิดลพิสูจน์ ออร์โธปิดิกส์สร้างชาติ ใช้หัวใจสร้างอนาคต หมอกระดูกคุณภาพ

02 พ.ค. 2566 | 14:17 น.
ม.มหิดลพิสูจน์ ออร์โธปิดิกส์สร้างชาติ ใช้หัวใจสร้างอนาคต หมอกระดูกคุณภาพ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พิสูจน์ "ออร์โธปิดิกส์สร้างชาติ" ใช้หัวใจสร้างอนาคต "หมอกระดูกคุณภาพ"

การใช้ข้อมูลอย่างสมเหตุสมผลจำเป็นต่อแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งโลกในยุคศตวรรษที่ 21 เมื่อเชื่อมโยงกับศาสตร์ "ออร์โธปิดิกส์" (Orthopedics) ที่ได้ศึกษามาอย่างถ่องแท้จาก "ข้อมูลเวชศาสตร์เชิงประจักษ์" (Evidence-based Medicine - EBM) เพื่อการรักษา "กระดูก" ซึ่งเปรียบเสมือน "เสาหลัก" ภายในร่างกายมนุษย์ กับการฝึกฝนจนปฏิบัติได้จริง และการทำงานที่เป็นทีม ออร์โธปิดิกส์จะช่วย "สร้างชาติ - พลิกอนาคต" ผู้ป่วยให้มี "คุณภาพชีวิตที่ดี" เป็นกำลังสำคัญให้กับประเทศชาติได้ต่อไปในอนาคต

ม.มหิดลพิสูจน์ ออร์โธปิดิกส์สร้างชาติ ใช้หัวใจสร้างอนาคต หมอกระดูกคุณภาพ

ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ หัวหน้าสาขาวิชาออร์โธปิดิกส์เด็ก ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นับเป็นอาจารย์แพทย์ด้านออร์โธปิดิกส์ หรือ "หมอกระดูก" บุคคลแรกของประเทศไทย ที่ได้รับรางวัลต้นแบบด้านการสอน พ.ศ. 2566 ของสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว) เมื่อเร็วๆ นี้ 

ด้วยเชื่อมั่นในวิธีการสอนนักศึกษาแพทย์โดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered Learning) และการใช้ "ข้อมูลเวชศาสตร์เชิงประจักษ์" (Evidence-based Medicine - EBM)

สิ่งแรกที่ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความสำคัญ คือเรื่องของ "การศึกษา" ที่ได้จัดให้ "นักศึกษาแพทย์" ได้มี "อาจารย์ที่ปรึกษา" 1 ต่อ 1 ทำให้เชื่อมั่นได้ถึงการวางระบบการศึกษาแบบไร้รอยต่อ หรือปราศจากช่องว่างที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว เมื่อผนวกกับการจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสม ทำให้ที่ผ่านมา สาขาวิชาฯ สามารถชนะใจนักศึกษาแพทย์ทั้งหมดของคณะฯ จากการได้รับคะแนนประเมินความพึงพอใจมาเป็นอันดับ 1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาฯ ได้เป็นผู้วางแนวทางการฝึกอบรมพัฒนาคณาจารย์ของภาควิชาฯ ประเมินผล และปรับปรุงข้อสอบให้ตอบโจทย์ใช้ได้จริงอยู่เสมอ ได้ส่งผลให้คณาจารย์แพทย์ของภาควิชาฯ ถึง 19 ราย สามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการไปได้อย่างภาคภูมิ

นอกจากนี้ ในการฝึกเป็น "หมอกระดูก" โดยพื้นฐานที่สำคัญจะต้องรู้ "วิธีใส่เฝือก" ให้กับผู้ป่วย โดย ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ เป็นผู้วางแนวทางให้นักศึกษาแพทย์ได้มีส่วนร่วมเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในการวางแผนทำหัตถการใส่เฝือกให้ได้ตามมาตรฐานทางการแพทย์ จากการตรวจร่างกายผู้ป่วยตามจริง ตลอดจนให้คำแนะนำผู้ป่วยเพื่อดูแลรักษาเฝือกด้วยตัวเอง

ซึ่งอุบัติเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บทางกระดูกจนต้องเข้ารับการใส่เฝือกอาจเกิดได้กับทุกคน โดยปกติแล้วอวัยวะบริเวณที่ใส่เฝือกจะเป็นบริเวณที่มักมีอาการคันจากการเปียกชื้นภายในเฝือก หากดูแลรักษาไม่ดีอาจเกิดอาการติดเชื้อได้ ซึ่งหากแก้ไขปัญหาการคันโดยแทนที่จะใช้สเปรย์ทางการแพทย์ลดอาการคัน แต่กลับใช้วิธีสอดไม้ หรือของแข็งปลายยาวเข้าไปเกาในเฝือก แทนที่จะหายคัน อาจเกิดแผลซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อภายในเฝือกได้ 

นอกจากนี้ ยังพบว่าการใส่เฝือกอาจเป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของโลหิตภายในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ใส่เฝือก จึงจำเป็นต้องมีการปรับท่าให้เหมาะสม ซึ่งหากใส่เฝือกที่แขน ควรแนะนำให้ผู้ป่วยหมั่นยกแขนที่ใส่เฝือกขึ้นระดับหัวใจ และหากใส่เฝือกไว้ที่ขา ควรให้ผู้ป่วยหมั่นยกขาขึ้นพาดบนเก้าอี้

ม.มหิดลพิสูจน์ ออร์โธปิดิกส์สร้างชาติ ใช้หัวใจสร้างอนาคต หมอกระดูกคุณภาพ

ซึ่งการปฐมพยาบาลผู้มีอาการกระดูกแขนได้รับบาดเจ็บในเบื้องต้นโดยประชาชนทั่วไป ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ แนะนำให้หาผ้าที่มีขนาดพอเหมาะมาทำเป็นที่คล้องแขนไว้กับคอ ก่อนนำส่งแพทย์เพื่อใส่เฝือก แต่ไม่ควรทำเฝือกด้วยตัวเองเพราะจะยิ่งทำให้มีอาการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้ผลักดันให้ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ริเริ่มการสอนทักษะการจัดสิ่งแวดล้อมให้กับนักศึกษาแพทย์ โดยที่ผ่านมาได้เชิญวิทยากรที่เป็นสถาปนิกมืออาชีพมาร่วมบรรยายอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการพลัดตกหกล้มซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องเข้ารับการใส่เฝือก 

และยังได้วางแนวทางปลูกฝังเรื่อง "การทำงานเป็นทีม" ซึ่งสำคัญยิ่งต่อการรักษาทางออร์โธปิดิกส์ เนื่องจากส่วนใหญ่จะต้องทำโดยความร่วมมือของแพทย์จากสหสาขาวิชา จึงจะทำให้การรักษาประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ แพทย์ออร์โธปิดิกส์จะต้องมีความพร้อมทั้งสุขภาพใจ และสุขภาพกายที่แข็งแรงอยู่เสมอ แม้ปัจจุบันจะมีเครื่องทุ่นแรง แต่แพทย์ผู้รักษายังจำเป็นต้องให้การรักษาผู้ป่วยด้วยการออกแรง "จัด-ดัด-ดึง" กระดูกด้วยตัวเองเช่นกัน

สำหรับทิศทางการวิจัยทางออร์โธปิดิกส์ที่เหมาะสมของประเทศไทย นอกจากเรื่องชีวกลศาสตร์ และการพัฒนาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเพื่อสนับสนุนการรักษาทางคลินิกแล้ว ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ ได้แนะนำว่าควรเป็นไปในลักษณะที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่า และใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด

ซึ่งวิธีการรักษาทางออร์โธปิดิกส์ยากที่จะตัดสินว่าวิธีการใดดีกว่า เนื่องจากกระดูกของผู้ป่วยแต่ละรายมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีจึงควรพัฒนาให้มีทางเลือกที่หลากหลาย จากการหมั่นเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์เครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน หรือมีราคาแพง แต่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่าย และทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากขึ้น

ซึ่งการใช้ "ข้อมูลเวชศาสตร์เชิงประจักษ์" เป็นวิธีที่มุ่งเน้นในการเรียนการสอน และการวิจัยของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นการใช้ข้อมูลในเชิงลึกที่เห็นประสิทธิผลทางคลินิก ซึ่งผ่านการศึกษา วิพากษ์ และทบทวนมาจนมั่นใจได้ว่าจะสามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยสูงวัยมาพบแพทย์ด้วยอาการกระดูกสะโพกหัก แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกให้มากกว่าการรักษาโดยการใส่แผ่นโลหะยึดตรึงด้วยสกรูที่บริเวณกระดูกสะโพกที่หัก เพราะจะทำให้ข้อสะโพกมีความแข็งแรงมากกว่า และผู้ป่วยจะสามารถลงน้ำหนักได้มากกว่า เป็นต้น

"ด้วยการ "ใช้หัวใจในการรักษา" หากทำด้วยความสุข สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาจะเป็นมากกว่าความสุขที่ได้เห็นผู้ป่วยคลายทุกข์ใจหายเจ็บปวด และความสุขนั้นจะสามารถส่งต่อไปยังครอบครัว และบุคคลรอบข้างผู้ป่วย ร่วมสร้างสังคมแห่งความสุขให้เกิดขึ้นต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง" ศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวเด่น

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

"ทนายอนันต์ชัย"พาสมาชิกสมาคมฮินดูฯ บุก ปค.ร้อง ปธ.-คกก.เก่าขวางเลือกตั้ง

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

ทำไมคนไทยถึงชอบกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มากขนาดนี้

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

"ทนายเดชา" ฝากข้อความถึงคนที่ไม่ชอบตน งานนี้ชาวเน็ตแห่ถูกใจ

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อใหม่ เจ้าคุณพระสินีนาถ พิลาสกัลยาณี

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

"ปู มัณฑนา" เผยแจ้งความเอาผิดเกรียนคีย์บอร์ด ล็อตแรก 100 เคส

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง