พลิกโฉมท่องเที่ยว-กีฬาไทย สุดาวรรณ วาง7นโยบาย เพิ่มส่วนแบ่งมูลค่ากีฬาไทย
"รมว.สุดาวรรณ" ประกาศพลิกโฉมท่องเที่ยวและกีฬาไทย ปี 2024 เป้าหมายการทำงาน สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้าน บาท วาง 7 นโยบายขับเคลื่อนท่องเที่ยวและกีฬา ใช้ซอฟต์พาวเวอร์เป็นขุมพลังใหม่
นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประกาศเป้าหมายการทำงานปี 2567 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาท เพิ่มส่วนแบ่งมูลค่ากีฬาไทยให้ได้ 1% ของอุตสาหกรรมกีฬาโลก คิดเป็น มูลค่า 455,800 ล้านบาท วาง 7 นโยบายขับเคลื่อนท่องเที่ยวและกีฬา ใช้ซอฟต์พาวเวอร์เป็นขุมพลังใหม่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในปี 2567 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขอประกาศนโยบายที่สำคัญที่จะ “พลิกโฉมการท่องเที่ยว และกีฬาของไทย” ด้วยการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 3.5 ล้านล้านบาท และเพิ่มส่วนแบ่งมูลค่ากีฬาไทยที่มีเพียง 0.58% ในขณะนี้ให้เป็น 19% จากอุตสาหกรรมกีฬาโลกที่มีขนาด 45.58 ล้านล้านบาท คิดเป็นมูลค่า 455,800 ล้าน บาทให้ได้
"เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มอบนโยบายให้หัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงานในสังกัด กระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬาแล้ว มีความมุ่งมั่นและตั้งใจว่าในปี 2567 เราจะเติบโต ไปพร้อมๆ กัน จับมือไปด้วยกันกับ ทุกภาคส่วน ดิฉันจะเน้นการบูรณาการกับทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ส่วน ราชการ รัฐวิสาหกิจ จะพูดจากันมากขึ้น บูรณาการกันมากขึ้น เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายได้อย่างว่องไว” สำหรับ นโยบายที่กระทรวงฯ จะขับเคลื่อนในปี 2567 มี 7 นโยบายหลักๆ
นโยบายแรก คือ การขับเคลื่อน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปี 2567 จากเชิงปริมาณเข้าสู่โหมดของคุณภาพ ทั้งมิติของในประเทศและ ต่างประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องการให้บรรยากาศการท่องเที่ยวของประเทศไทยคึกคักตลอดทั้งปี ทั้งจาก นักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวไทย"
"ประเทศไทยต้องมี High season on year round tourism destination คือ เที่ยวได้ทั้งปี หรือ เที่ยวได้ ทั้ง 365 วัน จึงได้เตรียม Event ต่างๆ ไว้มากมาย อาทิ เทศกาลตรุษจีน เทศกาลสงกรานต์ ที่จะจัดให้ ยิ่งใหญ่กว่าทุกปี เพราะยูเนสโก้เพิ่งประกาศขึ้นทะเบียนให้สงกรานต์ในประเทศไทย เป็นรายการในบัญชี ตัวแทนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมวลมนุษยชาติ
จึงต้องยกระดับกิจกรรม Event ต่างๆ ในระดับชุมชนให้เป็น Event ในระดับนานาชาติ เป็นการกระตุ้นการไปท่องเที่ยวเมืองรอง จะทำให้ประเทศ ไทยสามารถรักษาตลาดเดิม และเจาะตลาดนักท่องเที่ยวใหม่ๆ ได้ต่อเนื่อง"
นโยบาย 2 กระทรวงฯจะใช้ Soft Power เป็นพลังในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ อุตสาหกรรมการกีฬาของประเทศไทยให้เป็น "Engine the New Power” และจุดเด่นของ Soft Power ก็ จะมีในเรื่องของกีฬาเข้ามาเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนด้วยและเป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทย ในสายตาชาวโลกที่สำคัญ และเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน demand ของการท่องเที่ยวและการกีฬาได้เป็น อย่างดี
นโยบายที่ 3 ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยทั้ง Hospitality และ Safety โดย ต้องทำให้นักท่องเที่ยวเชื่อมั่นว่า “เมืองไทยปลอดภัย” มาแล้วได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ต้องเข้มงวดการบังคับ ใช้กฎหมายและปราบปรามการเอาเปรียบ หลอกลวงนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย
นโยบายที่ 4 เรื่อง Responsibility เราต้องทำให้การท่องเที่ยวนั้นยั่งยืน ซึ่งเรื่องนี้ เป็นนโยบายที่พูด กันมานานแล้ว แต่ในปี 2567 จะนำเรื่องนี้มาขับเคลื่อนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นจริงๆ การท่องเที่ยวจะ ยั่งยืนได้ต่อเมื่อ "ท้องถิ่น” ต้องมาร่วมขับเคลื่อนด้วยกัน
นโยบายที่ 5 จะใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการกระชับความสัมพันธ์ของประเทศในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสานต่อนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ให้ความสำคัญกับการเดินทางเชื่อมโยง ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ กรุงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ปลายเดือนนี้ จะมีประเด็นพูดคุยที่สำคัญคือ ASEAN Connect ที่จะทำให้เกิดการเดินทางเชื่อมโยงทางอากาศ ทางน้ำ และทางบก
นโยบายที่ 6 มีนโยบายที่จะขับเคลื่อนด้านกีฬาพื้นฐาน โดยวางระบบการพัฒนาทั่วประเทศเพื่อให้ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม พัฒนาการการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ทุกคนสามารถ ออกกำลังกายเป็นวิถีชีวิต สามารถเข้าถึงกีฬาได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย ทั้งคนทั่วไป ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งจะมีการส่งเสริมกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กีฬาเพื่อการอาชีพที่จะต้องพัฒนากีฬาทุกระดับและบุคลากร รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา และนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาเพิ่มสมรรถนะให้กับ นักกีฬาไทยให้แข็งแกร่งขึ้นเพื่อแข่งขันในระดับนานาชาติ หรือกีฬาอาชีพ
และต้องผลักดันให้ไทยเป็น ศูนย์กลางการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติและระดับโลก สร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ สุดท้ายคือ E-Sport ถือเป็นกิจกรรมกีฬาใหม่ที่ต้องส่งเสริมเพราะสามารถสร้างทักษะให้กับเยาวชนและ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างมาก
นโยบายที่ 7 การเตรียมพร้อมสำหรับมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติ ซึ่งปี 2567 จะมีรายการแข่งขัน ระดับนานาชาติหลายรายการทั้งการส่งนักกีฬาไปร่วมแข่งขันกีฬา โอลิมปิกปารีส 2024 และการเตรียมตัวเป็น เจ้าภาพจัดแข่งขัน ได้แก่ เอเชียนอินดอร์ และมาร์เชียลอาร์ตเกมส์, จักรยานยนต์โมโตจีพี, เจ็ตสกีชิงแชมป์ โลก , ฮอนด้า แอลพีจี เอ ไทยแลนด์ 2024/ รวมถึงการเตรียมตัวเป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ในปี 2568 ซึ่ง มี 3 จังหวัดร่วมเป็นเจ้าภาพ คือ กรุงเทพ ชลบุรี และสงขลา
รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า สำหรับความสำเร็จของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งสิ้น 28 ล้านคน เศษ เกินกว่าเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ส่วนรายได้ รวมจากนักท่องเที่ยวปี 2566 ตั้งเป้าไว้ที่ 2.38 ล้านล้านบาท แต่สรุปตัวเลขเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา พบว่า ประเทศ ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 100 จากปี 2565
ส่วนผลงานด้านกีฬาในปี 2566 นักกีฬาของเรามีผลงานในชนิดกีฬาสากลที่ดีขึ้น และนอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการจัดกีฬาในระดับนานาชาติ ได้แก่ ฮอนด้า แอลพีจีเอ ไทยแลนด์ 2023 ครั้งที่ 16 การ แข่งขันรายการโมโตจีพี 2023 การจัดการแข่งขันรายการวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2023 ซึ่งทุก รายการมีแฟนกีฬาทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเข้าชมเป็นจำนวนมาก สามารถสร้างรายได้ให้กับคนใน ท้องถิ่น และผู้ประกอบการได้เป็นจำนวนมาก